Difference between revisions of "การคิดสร้างสรรค์(Creativity)"

From Knowledge sharing space
Jump to: navigation, search
(การเสริมสร้างความสามารถทางความคิดสร้างสรรค์)
(ความหมาย)
Line 8: Line 8:
 
*การมีคุณลักษณะของความใหม่ ประสิทธิผลและมีจริยธรรม(Cropley,2001)
 
*การมีคุณลักษณะของความใหม่ ประสิทธิผลและมีจริยธรรม(Cropley,2001)
 
นอกจากนี้กิลฟอร์ดและทอแรนซ์ (Guilford and Torance, 1960) ได้แบ่งความคิดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ประเภท คือ 1) ความคิดคล่องตัว 2)ความคิดยืดหยุ่น 3)ความละเอียดลออ และ 4)ความริเริ่ม  
 
นอกจากนี้กิลฟอร์ดและทอแรนซ์ (Guilford and Torance, 1960) ได้แบ่งความคิดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ประเภท คือ 1) ความคิดคล่องตัว 2)ความคิดยืดหยุ่น 3)ความละเอียดลออ และ 4)ความริเริ่ม  
อาจกล่าวโดยรวมได้ว่าความคิดสร้างสรรค์ก่อให้เกิดสิ่งใหม่  ความคิดใหม่ภายใต้กระบวนการทำงานของระบบการคิดที่ประสานกันอย่างมีจินตนาการเป็นแรงขับ
+
::อาจกล่าวโดยรวมได้ว่าความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมองซึ่งสามารถคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่ สามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎีหรือปฏิบัติได้อย่างรอบคอบและถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและนวัตกรรม
   
+
 
 +
  CREATIVITY มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน “CREO” = TO CREATE, TO MAKE =สร้างหรือทำให้เกิด
 +
 
 +
ความคิดสร้างสรรค์คือ ปรากฏการณ์ที่บุคคลสร้างสรรค์”สิ่งใหม่” อาทิ ผลผลิต การแก้ปัญหา นวัตกรรม หรืองานศิลปะ ฯลฯ ซึ่งมีคุณค่า การจะตีความเกี่ยวกับ”ความใหม่” ขึ้นอยู่กับผู้สร้างสรรค์หรือสังคม หรือแวดวงที่สิ่งใหม่นั้นเกิดขึ้น การประเมินคุณค่าก็ในทำนองเดียวกัน คุณสมบัติที่มักใช้ในการตีความ “ความใหม่” ประกอบด้วย
 +
 
 +
*สิ่งประดิษฐ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
 +
 
 +
*สิ่งประดิษฐ์ที่อาจปรากฏอยู่ที่อื่น แต่มีผู้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยอิสระ
 +
 
 +
*การคิดวิธีดำเนินการใหม่
 +
 
 +
*ปรับกระบวนการผลผลิตเข้าสู่ตลาดที่แตกต่างออกไป
 +
 
 +
*คิดวิธีการใหม่ในการแก้ไขปัญหา
 +
 
 +
*เปลี่ยนแนวคิดที่แตกต่างจากผู้อื่น
 +
 
 +
ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดใหม่ ๆ แนวทางใหม่ ๆ ทัศนคติใหม่ ๆ ความเข้าใจและการมองปัญหาในรูปแบบใหม่ ผลลัพท์ของความคิดสร้างสรรค์ที่ชัดเจน คือ ดนตรี การแสดง วรรณกรรม ละคร สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมทางเทคนิค แต่บางครั้งความคิดสร้างสรรค์ก็มองไม่เห็นชัดเจน เช่น การตั้งคำถามบางอย่างที่ช่วยขยายกรอบของแนวคิดซึ่งให้คำตอบบางอย่าง หรือการมองโลกหรือปัญหาในแนวนอกกรอบ
 +
 
 +
ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดเชื่อมโยงที่พยายามหาทางออกหลาย ๆทาง ใช้ความคิดที่หลากหลาย แสวงหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ และนอกกรอบ คัดสรรค์หาทางเลือกใหม่ ๆและพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีวิธีการอยู่ ๖ ขั้นตอน คือ
 +
 
 +
*แสวงหาข้อบกพร่อง(MESS FINDING)
 +
 
 +
*รวบรวมข้อมูล(DATA FINDING)
 +
 
 +
*มองปัญหาทุกด้าน(PROBLEM FINDING)
 +
 
 +
*แสวงหาความคิดที่หลากหลาย(IDEA FINDING)
 +
 
 +
*หาคำตอบที่รอบด้าน(SOLUTION FINDING)
 +
 
 +
*หาข้อสรุปที่เหมาะสม(ACCEPTANCE FINDING)
 +
 
 +
กระบวนการของความคิดสร้างสรรค์ อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญหรือโดยความตั้งใจ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการศึกษา การอบรมฝึกฝน การระดมสมอง (BRAIN-STORMING) มากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของโลก เกิดจากการค้นพบโดยบังเอิญ(SERENDITY) หรือการค้นพบสิ่งหนึ่งซึ่งใหม่ ในขณะที่กำลังต้องการค้นพบสิ่งอื่นมากกว่า
 +
 
 +
[[category: การคิดสร้างสรรค์, Creativity, ความคิดสร้างสรรค์, ความคิดเชิงสร้างสรรค์ Creative Thinking]]
  
 
== การเสริมสร้างความสามารถทางความคิดสร้างสรรค์ ==
 
== การเสริมสร้างความสามารถทางความคิดสร้างสรรค์ ==

Revision as of 21:03, 28 April 2018

ความคิดสร้างสรรค์นับเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาการคิด และมีความสำคัญต่อทั้งในระบบการศึกษาและสังคม เพราะหากว่าสังคมขาดสสร้างสรรค์สิ่งใหม่ สังคมก็คงขาดนวตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งต่างๆ มากขึ้น การพัฒนาให้คนเรามีความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องที่จะกระทำได้โดยง่ายและบ่อยครั้งถูกมองว่าเป็นเรื่องที่สอนกันไม่ได้แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วสามารถพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ (วศิณีส์, 2560)

ความหมาย

นักการศึกษาได้ให้คำจำกัดความของการคิดสร้างสรรค์ไว้คือ

  • ความสามารถในการแก้ปัญหาและคิดผลิตภัณฑ์และการหยิบยกคำถามใหม่ๆ(Gardner,1993)
  • กระบวนการจินตนาการซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างเป็นผู้ริเริ่มแรก และมีคุณค่า(Rodinson,2001)
  • การมีคุณลักษณะของความใหม่ ประสิทธิผลและมีจริยธรรม(Cropley,2001)

นอกจากนี้กิลฟอร์ดและทอแรนซ์ (Guilford and Torance, 1960) ได้แบ่งความคิดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ประเภท คือ 1) ความคิดคล่องตัว 2)ความคิดยืดหยุ่น 3)ความละเอียดลออ และ 4)ความริเริ่ม

อาจกล่าวโดยรวมได้ว่าความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมองซึ่งสามารถคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่ สามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎีหรือปฏิบัติได้อย่างรอบคอบและถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและนวัตกรรม
CREATIVITY มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน “CREO” = TO CREATE, TO MAKE =สร้างหรือทำให้เกิด

ความคิดสร้างสรรค์คือ ปรากฏการณ์ที่บุคคลสร้างสรรค์”สิ่งใหม่” อาทิ ผลผลิต การแก้ปัญหา นวัตกรรม หรืองานศิลปะ ฯลฯ ซึ่งมีคุณค่า การจะตีความเกี่ยวกับ”ความใหม่” ขึ้นอยู่กับผู้สร้างสรรค์หรือสังคม หรือแวดวงที่สิ่งใหม่นั้นเกิดขึ้น การประเมินคุณค่าก็ในทำนองเดียวกัน คุณสมบัติที่มักใช้ในการตีความ “ความใหม่” ประกอบด้วย

  • สิ่งประดิษฐ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
  • สิ่งประดิษฐ์ที่อาจปรากฏอยู่ที่อื่น แต่มีผู้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยอิสระ
  • การคิดวิธีดำเนินการใหม่
  • ปรับกระบวนการผลผลิตเข้าสู่ตลาดที่แตกต่างออกไป
  • คิดวิธีการใหม่ในการแก้ไขปัญหา
  • เปลี่ยนแนวคิดที่แตกต่างจากผู้อื่น

ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดใหม่ ๆ แนวทางใหม่ ๆ ทัศนคติใหม่ ๆ ความเข้าใจและการมองปัญหาในรูปแบบใหม่ ผลลัพท์ของความคิดสร้างสรรค์ที่ชัดเจน คือ ดนตรี การแสดง วรรณกรรม ละคร สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมทางเทคนิค แต่บางครั้งความคิดสร้างสรรค์ก็มองไม่เห็นชัดเจน เช่น การตั้งคำถามบางอย่างที่ช่วยขยายกรอบของแนวคิดซึ่งให้คำตอบบางอย่าง หรือการมองโลกหรือปัญหาในแนวนอกกรอบ

ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดเชื่อมโยงที่พยายามหาทางออกหลาย ๆทาง ใช้ความคิดที่หลากหลาย แสวงหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ และนอกกรอบ คัดสรรค์หาทางเลือกใหม่ ๆและพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีวิธีการอยู่ ๖ ขั้นตอน คือ

  • แสวงหาข้อบกพร่อง(MESS FINDING)
  • รวบรวมข้อมูล(DATA FINDING)
  • มองปัญหาทุกด้าน(PROBLEM FINDING)
  • แสวงหาความคิดที่หลากหลาย(IDEA FINDING)
  • หาคำตอบที่รอบด้าน(SOLUTION FINDING)
  • หาข้อสรุปที่เหมาะสม(ACCEPTANCE FINDING)

กระบวนการของความคิดสร้างสรรค์ อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญหรือโดยความตั้งใจ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการศึกษา การอบรมฝึกฝน การระดมสมอง (BRAIN-STORMING) มากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของโลก เกิดจากการค้นพบโดยบังเอิญ(SERENDITY) หรือการค้นพบสิ่งหนึ่งซึ่งใหม่ ในขณะที่กำลังต้องการค้นพบสิ่งอื่นมากกว่า

การเสริมสร้างความสามารถทางความคิดสร้างสรรค์

ในการเสริมสร้างขีดความสามารถมีกิจกรรมหลักที่จะช่วยเกื้อหนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใน 4 กิจกรรมหลัก คือ การสร้างแรงจูงใจ การมีแรงบันดาลใจ การให้เวลา และการร่วมมือ (บรรจง, 2556)

  • แรงจูงใจ นับว่าเป็นที่ต้องการในการที่จะให้คิดอย่างสร้างสรรค์ ความลุ่มหลงในงานงานนับเป็นอีกหนทางของนักวิทยาศาสตร์และศิลปินในการสร้างสรรค์งาน การสร้างสรรค์ของแต่ละคนจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการกระตุ้นทั้งภายในและภายนอก และได้รับการกระตุ้นจากบุคคลอื่น โดยมีการกระตุ้นทั้งในห้องเรียน ที่บ้าน หรือที่ทำงาน และในทุกตำแหน่งของสังคม
  • แรงบันดาลใจ หมายเกิดแรงบันดาลใจด้วยตนเอง หรือเป็นแรงบันดาลใจที่ได้รับการกระตุ้นจากผู้อื่น ความสร้างสรรค์มาจากแรงขับจากการกระหายใคร่รู้ ปัจจัยเข้าใหม่ และความรู้ที่เพิ่มพูนในขั้นตอนแรก แล้วการสร้างให้เกิดความกระหายใคร่รู้นับเป็นการใส่ใจต่อสิ่งต่างๆด้วยตัวของเขาเอง การกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อาจเพิ่มการสังเกตมากขึ้นและถามคำถามให้มากขึ้นต้องมีการสร้างให้มีบรรยากาศของความสร้างสรรค์ และใช้การสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นมากกว่าจะไปใช้วิธีการที่บังคับเอา ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งในการทำให้เกิดความอยากรู้ก็คือการที่มีปัจจัยนำเข้าใหม่ๆ เข้ามาสู่เราก็จะทำให้เกิดความตื่นตัว เช่น อาจไปสถานที่ที่แปลกออกไป พบหาผู้คนใหม่ๆ อาจไปดูละคร อ่านหนังสือหรือทำอะไรที่ไม่เคยทำมาก่อน การสร้างแรงบันดาลใจที่ดีอาจกระทำด้วยการให้คนอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสรรค์ การสร้างให้เกิดแรงบันดาลทั้งตนเองและผู้อื่นคงต้องใช้ทุกเทคนิคและหาความเหมาะสมแต่ละกันที่แตกต่างกันไป
  • การให้เวลาพอควร การคิดสร้างสรรค์ควรต้องมีเวลาบ่มเพราะพอควรที่จะทำให้คิดผุดขึ้น การหยั่งลึก สัญชาตญาณและแรงบันดาลใจ ล้วนมีความสัมพันธ์เชื่องโยงกับความสร้างสรรค์การหยั่งรู้อย่างสร้างสรรค์เป็นผลจากกระบวนการของจิตใต้สำนึก แต่ใช้เวลาพอควร แต่ในสังคมปัจจุบันจะมีปัญหาของการที่เรามักจะทำอะไรได้รวดเร็ว รวบรัด อาจทำให้ขัดกับวิธีปฏิบัติของการที่จะมีความคิดสร้างสรรค์ เพราะบ่อยครั้งที่เราการเวลา แม้กระทั่งความเงียบในการที่จะคิดทั้งในระดับจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก และบางกิจกรรมต้องทำและคิดต่อเนื่องยาวนาน
  • การร่วมมือ การทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต้องอาศัยการร่วมมือกัน เช่น อาจจะต้องอาศัยครูหรือบุคคลอื่นที่สำคัญในการที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยอาจได้ในลักษณะของการเห็นตัวอย่างและการสอนอย่างชันเจนในเรื่องนี้ เราทุกคนล้วนมีความสามารถในความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเราอาจเห็นได้จากเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ทั้งนั้น แต่ในระดับผู้ใหญ่ ความ สร้างสรรค์อาจถูกเก็บกดผ่านทางการศึกษา แต่อันที่จริงแล้วความสร้างสรรค์นั้นยังคงอยู่

เอกสารอ้างอิง

บรรจง อมรชีวิน. (2556). เปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องคิดด้วยการสืบถามเชิงปรัญชา (Thinking Classroom). กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์.

วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education(สะเต็มศึกษา). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.