Difference between revisions of "องค์ประกอบทักษะชีวิตและการพัฒนา"

From Knowledge sharing space
Jump to: navigation, search
(Created page with "การพัฒนาทักษะชีวิต คือ การพัฒนาการเรียนรู้เป็นการพัฒนาทางสต...")
 
(No difference)

Latest revision as of 09:43, 28 August 2018

การพัฒนาทักษะชีวิต คือ การพัฒนาการเรียนรู้เป็นการพัฒนาทางสติปัญญา การรู้คิด รู้เทาทัน การตระหนักรู้ อันเป็นพื้นฐานของการมีความเข้มแข็งทางใจและการแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมเสมอ อยู่รอดปลอดภัยจากการครอบงำความคิด ความเชื่อจากสื่อเทคโนโลยี และมีความพร้อมตั้งรับต่อการก้าวรุกทางสังคมอย่างรู้ทันเท่านั้น แม้จะอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงหรือสถานการณ์ปัญหา

พฤติกรรมทักษะชีวิตที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นพฤติกรรมที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้สังเคราะห์จากพฤติกรรมตัวชี้วัดมาตรฐานการเรียนรู้ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องหรือมีพฤติกรรมตามความหมายของทักษะชีวิต จำแนกในแต่ละองค์ประกอบไว้ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าของผู้อื่น หมายถึง การรู้ความถนัด ความสามารถรู้จุดเด่นจุดด้อยของตนเอง เข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล รู้จักตนเอง ยอมรับ เห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น มีเป้าหมายในชีวิต และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

พฤติกรรมทักษะชีวิตที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

ระดับประถมศึกษา

  • ค้นพบความชอบความถนัด และความสามารถของตนเอง
  • ค้นพบจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง
  • ยอมรับความแตกต่างระหว่างตนเองและผู้อื่น
  • มองเห็นตนเองและผู้อื่นในแง่บวก
  • รู้จักสิทธิของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่น
  • รักและเห็นคุณค่าในตัวเองและผู้อื่น
  • มีความภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น
  • มีความเชื่อมั่นในตนเองและผู้อื่น
  • มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ระดับมัธยมศึกษา

  • ค้นพบความชอบ ความถนัด ความสามารถและบุคลิกภาพของตนเอง
  • ค้นพบจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง
  • ยอมรับความแตกต่างระหว่างตนเองและผู้อื่น
  • มองเห็นตนเองและผู้อื่นในแง่บวก
  • รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
  • มีความภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น
  • มีความเชื่อมั่นในตนเองและผู้อื่น
  • รู้จักสิทธิของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่น
  • มีทักษะในการกำหนดเป้าหมายและทิศทางความสำเร็จ
  • มีความรับผิดชอบต่อสังคม


องค์ประกอบที่ 2 การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การแยกแยะข้อมูล ข่างสาร ปัญหาและสถานการณ์รอบตัว วิพากษ์วิจารณ์และประเมินสถานการณ์รอบตัวด้วยหลักเหตุผลและข้อมูลที่ถูกต้อง รับรู้ปัญหา สาเหตุของปัญหา หาทางเลือกและตัดสินในใจการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์

พฤติกรรมทักษะชีวิตที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์มีดังนี้

ระดับประถมศึกษา

  • รู้จักสังเกต ตั้งคำถาม และแสวงหาคำตอบ
  • วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารได้สมเหตุสมผล
  • ประเมินสถานการณ์และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  • มีความสามารถในการคิดเชื่อมโยง
  • การรู้จักวิพากษ์วิจารณ์บนพื้นฐานของข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง
  • รู้จักวิธีการและขั้นตอนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง

ระดับมัธยมศึกษา

  • เลือกรับข้อมูลข่าวสารอย่างไตร่ตรองและรู้เท่าทันสังคมที่เปลี่ยนแปลง
  • ตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆที่เผชิญอย่างมีเหตุผลและรอบคอบ
  • แก้ปัญหาในสถานการณ์วิกฤติได้อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์
  • มองโลกในแง่ดี
  • มีทักษะในการแสวงหาข้อมูลให้เป็นประโยชน์
  • ประเมินและสร้างข้อสรุปบทเรียนชีวิตของตนเอง


องค์ประกอบที่ 3 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด

การจัดการกับอารมณ์และความเครียด หมายถึง ความเข้าใจและรู้เท่าทันภาวะอารมณ์ของบุคคล รู้สาเหตุของความเครียด รู้วิธีการควบคุมอารมณ์และความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายหลีกเลี่ยง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ไม่พึงประสงค์ไปในทางที่

พฤติกรรมทักษะชีวิตที่คาดหวังให้เกิดกับผู้เรียนในองค์ประกอบที่ 3 ดังนี้

ระดับประถมศึกษา

  • รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง
  • ควบคุมอารมของตนเองได้
  • จัดการกับอารมณ์ของตนเองได้
  • มีวิธีผ่อนคลายอารมณ์และความเครียดให้กับตนเอง
  • สร้างแรงจูงใจให้ตนเอง
  • ยุติข้อขัดแย้งในกลุ่มเพื่อนด้วยสันติวิธี
  • รู้จักสร้างความสุขให้กับตนเอง

ระดับมัธยมศึกษา

  • ประเมินและเรียนรู้เท่าทันสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง
  • จัดการกับความขัดแย้งต่างๆได้ด้วยวิธีที่เหมาะสม
  • รู้จักคลายเครียดด้วยวีการที่สร้างสรรค์
  • รู้จักสร้างความสุขให้กับตนเองและผู้อื่น

องค์ประกอบที่ 4 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น หมายถึง การเข้าใจมุมมอง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่นใช้ภาษาพูดและภาษากายเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิดของตนเอง รับรู้ความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของผู้อื่น วางตัวได้ถูกต้องเหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ใช้ในการสื่อสารที่สร้างสัมพันธภาพที่ดี สร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

พฤติกรรมทักษะชีวิตที่คาดหวังให้เกิดกับผู้เรียนในด้านนี้คือ

ระดับประถมศึกษา

  • เป็นผู้ฟังที่ดี
  • ใช้ภาษาและกิริยาที่เหมาะสมในการสื่อสาร
  • รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
  • รู้จักแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก ความชื่นชมและการกระทำที่งามให้ผู้อื่นรับรู้
  • รู้จักปฏิเสธ ต่อรอง และร้องขอความช่วยเหลือ ในสถานการณ์เสี่ยง
  • ให้ความร่วมมือและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
  • ปฏิบัติตามกฎ กติกา และระเบียบของสังคม

ระดับมัธยมศึกษา

  • ยืนยันความต้องการของตนเอง ปฏิเสธและต่อรองบนพื้นฐานความถูกต้อง
  • กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
  • ทำงานร่วมกับผู้อื่นตามวิถีประชาธิปไตย
  • มีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น
  • สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นด้วยการสื่อสารเชิงบวก
  • ปฏิบัติตามกฏิกาของสังคม
  • ให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่นได้