การพัฒนาการเล่น เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21

From Knowledge sharing space
Jump to: navigation, search

การเรียนรู้และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 แห่งยูเนสโก ได้กล่าวถึง “สี่เสาหลักทางการศึกษา” ท่ีเป็นหลักในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยการเรียนรู้ 4 รูปแบบ (Wungsrikoon, A. 2016) ดังนี้

1) การเรียนรู้เพื่อรู้หมายถึง การ เรียนรู้ท่ีมุ่งพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การฝึกสติสมาธิ มากกว่าการมอบความรู้ให้แก่เด็ก เพื่อให้สามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต

2) การเรียนรู้เพื่อให้นําไป ปฏิบัติได้ หมายถึง การเรียนรู้เพื่อมุ่งพัฒนาความสามารถ โดยกระบวนการเรียนรู้จะเป็นการบูรณาการระหว่าง ความรู้และการฝึกปฏิบัติท่ีเป็นประสบการณ์ต่าง ๆ ทาง สังคม

3) การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน หมายถึง การเรียนรู้ที่ ทําให้ผู้เรียนสามารถดํารงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างมีความสุข และ

4) การเรียนรู้เพื่อชีวิต หมายถึง การ เรียนรู้ท่ีมุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และ สติปัญญา ให้ความสําคัญกับจินตนาการและความคิด สร้างสรรค์

Dachakup, Y. (1999; อ้างอิงจากLandreth, 1972) กล่าวว่า ในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้น เด็กในวัย น้ีควรได้รับการฝึกฝนให้พัฒนาทักษะทางด้านต่าง ๆ ดังน้ี 1) ทักษะท่ีเก่ียวกับประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว พื้นฐาน (Basic Sensory Motor Skills) 2) กระบวนการ ในการคิด (Thinking Process) 3) การเกิดความคิดรวบ ยอด (Concepts) และ 4) การฝึกรูปแบบในการพูด (Speed Form) ท้ังน้ีเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจและเกิดการ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวจากการใช้ประสาทสัมผัสท้ังห้าใน การเรียนรู้ของเด็ก ครูควรมีความเข้าใจถึงแต่ละช่วงของ พัฒนาการว่าสามารถเรียนรู้อะไรได้โดยวิธีใด ทั้งน้ีเพื่อช่วย ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาการเรียนรู้ได้ดีย่ิงขึ้น

เพียเจต์ กล่าวว่า เป็นกระบวนการการปรับตัวหรือ การปรับโครสร้าง โดยการดูดซึมประสบการณ์ (Assimilation) และการขยายประสบการณ์เข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการที่เด็ก พร้อมท่ีจะเรียน (Learning Through Being Ready to Learn) เพียเจต์เช่ือว่าเด็กที่จะเรียนรู้ได้ดีเม่ือมีความพร้อม (Readiness) หรือเกิดวุฒิภาวะ (Maturity) ที่เกิดมาจาก การทําหน้าท่ีของสมองหรืออวัยวะต่างๆ ท่ีเกิดจากการ ควบคุมของสมอง

แลนด์เดร็ธ (1951) ได้เสนอรูปแบบในการเรียน ของเด็กปฐมวัยว่า เป็นกระบวนการท่ี “ก้าวหน้าจากจุด หนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง” (Form-to-To Process) ซึ่งประกอบไปด้วย กระบวนการในการเรียนรู้ท่ีมีความสัมพันธ์ กัน 17 ประการ ดังน้ี

1) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้การใช้ ประสาทสัมผัสเพื่อนําไปสู่การแยกประเภทและการเรียนรู้ สัญลักษณ์

2) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ส่ิงที่เป็นไปโดยธรรมชาติ เพื่อนําไปสู่การควบคุมการสร้างความสัมพันธ์ การหา แนวทางของตน และการเลียนแบบในการเคล่ือนไหวส่วน ต่าง ๆ ร่างกาย

3) เด็กปฐมวัยจะพัฒนาการการออกเสียง อ้อแอ้ เพื่อนําไปสู่การเรียนรู้ภาษา

4) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ จากการอ่านภาพที่เป็นสัญลักษณ์ เพื่อนําไปสู่การอ่าน หนังสือ

5) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการขีดเขี่ยเพื่อนําไปสู่ การเรียนหนังสือ

6) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการได้รับ ประสบการณ์เพ่ือนําไปสู่การศึกษาข้อมูล

7) เด็กปฐมวัยจะ เรียนรู้สิ่งที่ประหลาดมหัศจรรย์ เพื่อจะเข้าใจสิ่งท่ีเป็น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

8) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้เกี่ยวกับ สัตว์และพืช เพื่อนําไปสู่การเรียนรู้ระบบของร่างกายและ ระบบนิเวศวิทยา

9) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการลากเส้น การแต้มสีและการละเลงสี เพื่อนําไปสู่การวาดภาพ

10) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการทําสิ่งต่างๆเพื่อไปสู่การใช้ เครื่องมือง่าย ๆ และการพัฒนาทักษะในการสร้างงานฝีมือ

11) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเขย่าและโยกตัวไปสู่การ เต้นรํา

12) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการฮัมเพลงไปสู่การ ร้องเพลง

13) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้การได้ยินเน้ือเพลง เพื่อนําไปสู่การฟังเพลง

14) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ที่จะตระหนัก ถึงความต้องการของผู้อื่น เพื่อนําไปสู่การอยู่ร่วมกับผู้อื่น

15) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการได้รับการดูแลเพื่อนําไปสู่ การดูแลตนเอง

16) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ท่ีจะเป็นสมาชิก ของบ้านหรือศูนย์เด็ก เพื่อนําไปสู่การเป็นสมาชิกของชุมชน

และ17) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ส่ิงท่ีเป็น“ของฉัน” เพื่อ นําไปสู่การรู้สึกว่า “ฉันเป็นใคร”เด็กจะเรียนรู้จากการใช้ ประสารทสัมผัสท้ัง 5 โดยอาศัยประสบการณ์เดิมเพื่อจํา นํามาพัฒนาการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และนํามาปรับใช้ใน ชีวิตประจําวันได้


วิธีการที่เด็กปฐมวัยจะเกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์

เด็กจะเรียนรู้โดย วิธีต่าง ๆ ดังน้ี

1) การเรียนรู้จากการเล่น (Learning Through Play) การเล่นเป็นวิธีการเรียนรู้อีกอย่างหน่ึง ซึ่งนับได้ว่า เป็นการทํางานของเด็กการเล่นเป็นวิธีท่ีสําคัญมากท่ีเด็กจะ ทําความเข้าใจและรวบรวมประสบการณ์ท้ังหมดที่ได้รับเข้า ด้วยกัน การเล่นเป็นกิจกรรมที่น่าสนุกสนานที่เด็กเล่นเพื่อ ความพอใจของตนและผลงานที่ได้รับเป็นเป้าหมายรอง ขณะที่เด็กเล่นเด็กจะได้รับการกระตุ้นและเกิดสมาธิในการ เล่น เด็กจะแสวงหาและเรียนรู้โลกที่เขาอยู่ ขณะการเล่นมี กิจกรรมหลากหลายท่ีเกิดตามมาโดยไม่รู้ตัว เช่น การเล่น สมมุติ เด็กจะได้พัฒนาทางด้านร่างกายสังคม ได้แสดงออก ซึ่งความคิดเรียนรู้ ความคิดรวบยอด และสร้างสรรค์ โดย ครูไม่ต้องมีส่วนร่วม การเล่นจะเป็นการแสดงออกซ่ึง ความคิดและความรู้สึกของเด็กบทบาของครูคือ ควร ส่งเสริมการเล่น โดยจัดหาอุปกรณ์นานาชนิดใหม่ เช่น ทราย น้ํา บล็อก การวาดภาพ การเล่นสมมุติและส่งเสริม ให้เด็กใช้สิ่งเหล่าน้ีในการเล่น ประสบการณ์ตรงเป็นพ้ืนฐาน สําคัญของการเล่น กิจกรรมท่ีครูควรจัด ได้แก่ การไปทัศน ศึกษา การเชิญวิทยากรมาบรรยาย และการจัดกิจกรรมท่ี ต้องมีการกระทําจริง เช่น เวลาเป็นองค์ประกอบที่สําคัญ ของการเล่น เพราะถ้ามีเวลามาก การเล่นและการเรียนรู้จะ เป็นกิจกรรมท่ีมีคุณค่า ถ้ามีเลาในการเล่นน้อยไป การเล่นก็ จะไม่ช่วยให้เด็กเกิดประสบการณ์และไม่ช่วยให้เกิด พัฒนาการใดๆ แต่จะเป็นการเสียเวลา เสียพลังงานไป เปล่าๆถ้าเด็กได้เล่นแค่10-15 นาทีในการเล่น ขณะที่เล่น ครูอาจจะต้ังคําถามที่กระตุ้นให้เด็กคิดและสร้างจินตนาการ ไปด้วย แต่ไม่ควรถามคําถามท่ียากจนเกินไป

Maker9.jpg

2) การเรียนรู้โดยการมีปฏิสัมพันธ์กับครู (Learning Thoroughly traction With Teachers)คือ การเรียนรู้จากกิจกรรมที่ครูเตรียมขึ้นใน 3 ลักษณะคือ

2.1) การจัดประสบการณ์แบบหน่ึงต่อหนึ่ง ใน การมีปฏิสัมพันธ์แบบหน่ึงต่อหน่ึง ครูจะสังเกตอารมณ์ กระบวนการการเรียนรู้ของเด็กและการมีส่วนร่วมของเด็ก จากการสนทนา และการตอบสนองของเด็กวิธีการนี้เป็น วิธีการท่ีเหมาะสมสําหรับการประเมินความรู้และทักษะ ของเด็ก ถ้าครูจะสอนทักษะ ครูจะ สังเกตอารมณ์ กระบวนการเรียนรู้ของเด็กและการมีส่วนร่วมของเด็กจากการสนทนาและการตอบสนองของเด็ก วิธีการน้ีเป็นวิธีการที่เหมาะสมสําหรับการประเมินความรู้ และทักษะของเด็ก ถ้าครูจะสอนทักษะ หนึ่ง ครูอาจจะต้องเตรียมกิจกรรมเสนอให้เด็กเป็น รายบุคคลหรือสําหรับเด็กพิเศษ การสอนเด็กแบบหนึ่งต่อ หนึ่งครูควรให้เด็กอื่น ๆ ทํางานอื่น ๆ โดยมีผู้ช่วยหรือครู หรืออาสาสมัครช่วยดูแลเด็กทั้งชั้นขณะที่ครูสอนเด็กเป็น รายบุคคลการจัดประสบการณ์แบบหน่ึงต่อหนึ่งเป็นการ สอนท่ีดี ได้ผลเร็วและมีคุณค่าและยังสร้างความสนใจ และ ทําให้เด็กเข้าใจได้ดีขึ้น เมื่อครูพูดถึงเด็กกับอุปกรณ์การเล่น การอ่านนิทานและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับสี ใดสีหนึ่งซึ่งนั่นเป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่มีความหมายมาก ที่สุด แม้ว่าครูจะไม่สามารถจัดประสบการณ์ดังกล่าวให้แก่ เด็กทุกคน ครูก็ควรหาโอกาสเช่นนี้ให้กับเด็กนักเรียนบ้าง เป็นครั้งคราว

2.2) การจัดประสบการณ์แบบกลุ่มย่อย การ จัดกิจกรรมเป็นกลุ่มย่อยนี้ควรจัดให้เด็ก8คนหรือน้อยกว่า นั้นซึ่งในการจัดกิจกรรมกลุ่มย่อยนี้ครูอาจใช้สําหรับแนะนํา กิจกรรม เนื้อหาหรือแนะแนวทางความสัมพันธ์กับเด็กอื่น ๆ การจัดกิจกรรมดังกล่าวควรมีขนาดเล็กพอที่เด็กแต่ละ คนจะสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือความคิดกับ เด็กคนอื่นๆเพราะเด็กสามารถอดทนรอคอยได้และครูสามารถจะสังเกตการแสดงออกของเด็กหรือสามารถประเมิน และอธิบายสิ่งต่างๆได้ทันที ในกลุ่มย่อย เด็กจะมีโอกาส พัฒนาทักษะท่ีสําคัญบางประการที่เขาไม่สามารถทําได้ใน กลุ่มใหญ่ ทักษะดังกล่าวได้แก่ การฟัง การพูด การ แก้ปัญหา การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล การเป็นผู้นําและผู้ ตาม การทําตามกฎเกณฑ์ การทําข้อตกลงที่กลุ่มเลือก ใน กลุ่มย่อย เด็กจะมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และมี ความรับผิดชอบร่วมกัน

2.3) กิจกรรมกลุ่มใหญ่ (Large Group Experiences) กิจกรรมกลุ่มใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่รวมเด็ก ท้ังหมดในชั้นเข้าไว้ด้วยกันเพ่ือให้เด็กมีโอกาสทํากิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือรับ ฟังเรื่องราวต่างๆ การจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่จะดีในแง่การ ประหยัดเวลาและแรงงาน แต่ก็ไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุดที่จะใช้ สอนเด็กได้ทุกอย่าง การจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่จะได้ผลดี ต่อเม่ือเด็กได้มีส่วนร่วมกิจกรรมอย่างเต็มท่ีหรือ ทํา กิจกรรมอย่างอื่นอย่างใดร่วมกัน เช่น ร้องเพลง สังเกตหรือ ชมการแสดงท่ีเด็กสนใจ เช่น ฟังนิทาน หรือดูการเชิดหุ่น เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วท้ังทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ จากการกระทํา และการเล่น (Learning Through Doingand Playing) เด็ก ๆ ชอบเลียนแบบ มักจะทําสิ่งหน่ึงสิ่งใด ซ้ํา ๆ ชอบค้นหา ปฏิบัติ ทดลอง เปรียบเทียบและหา ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เขาสามารถแยกแยะหาวิธีการ และหาวิธีการเพื่อให้ได้ข้อสรุป ดังนั้นการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในช่วงวัยนี้จะมุ่งเน้น การตอบสนองธรรมชาติและความต้องการตามวัยของเด็ก อย่างสมดุลเพราะเด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อเด็กได้รับ ประสบการณ์ตรง ได้ฝึกการคิด แสดงออกอย่างอิสระและ สามารถนําความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์น้ัน เป็นการจัด ประสบการณ์เพื่อช่วยให้เด็กพร้อมที่จะเรียนรู้จะต้องทําให้ เด็กเกิดความพร้อมทางภาวะแล้ว ประสบการณ์การเรียนรู้ ที่จัดให้เด็กจึงมีส่วนทําให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เด็กปฐมวัย พร้อมที่จะเรียนรู้ส่ิงต่างๆและพร้อมเรียนรู้ในสิ่งท่ียากขึ้น เด็กปฐมวัยควรได้รับการฝึกฝน ทักษะ ที่เขาได้เรียนรู้แล้ว เราจึงจึงเป็นท่ีจะมุ่งเน้นพัฒนาทักษะให้แก่เด็กมากกว่าการ มอบความรู้ ประกอบกับการเรียนรู้ในสังคมปัจจุบันที่มีการ พัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วครูและผู้ปกครองควร จัดประสบการณ์ท่ีแตกต่างออกไปจากทักษะเดิมโดยเพิ่ม ความยากข้ึนไปเล็กน้อยจากส่ิงท่ีเด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ ได้ ดังนั้นการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ จึงมีลักษณะ ผสมผสานเชิงบูรณาการมีความท้าทายตามช่วงวัย

Maker13.jpg

การเล่น

ความคิดที่ว่าเด็กเรียนโดยการเล่น เป็นความคิดท่ี เร่ิมต้นโดย ฟรอเบล (Froebel) ผู้ซึ่งสร้างระบบโรงเรียน บนพื้นฐานของคุณค่าทางการศึกษาของการเล่น ฟรอ เบลถือว่าการเล่นเป็นพัฒนาการขั้นสูงสุดของเด็ก และ พัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กจะเกิดข้ึนโดยการเล่น การเล่นเป็นกิจกรรมส่วนใหญ่ในชีวิตของเด็ก การเล่นช่วย ให้เด็กเรียนรู้ส่ิงแวดล้อมและช่วยให้เด็กมีพัฒนาการ ทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา นักการ ปฐมวัยศึกษาจึงมักจะจัดโปรแกรมการศึกษาท่ีผนวกการ เล่นไว้เป็นส่วนสําคัญของหลักสูตร โดยจัดการเล่นเป็น กิจกรรมประจําวันท่ีขาดไม่ได้ การเล่นเป็นการระบาย พลังงานที่เหลือ การเล่นเป็นส่ิงท่ีเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ การเล่นเป็นการเตรียมตัวสําหรับการเป็นผู้ใหญ่ การเล่น เป็นการพักผ่อน หรือ การเล่นเป็นการกระทําซํ้า ดัง รายละเอียดในทฤษฎีการเล่นต่อไปนี้ ทฤษฎีการเล่นแบ่ง ออกเป็น 4 ทฤษฎี (Mitchell and Mason, 1948) คือ

1) ทฤษฎีคลาสสิก (Classical Theories)

2) ทฤษฎีจิต วิเคราะห์ (Psychoanalytic Theories)

3) ทฤษฎี พัฒนาการสติปัญญา (Cognitive-developmental Theories) และ

4) ทฤษฎีส่ิงแวดล้อม (Ecological Theories)

ทฤษฎีการเล่น

ทฤษฎีการเล่น ได้มีผู้พยายามที่จะอธิบาย ความหมายของการเล่นหลายประการ ดังน้ี

อีริคสัน (Erikson, 1963) เชื่อว่า การเล่นช่วยให้ เด็กได้ฝึกหัด ทดลอง และเรียนรู้สถานการณ์ของการเป็น ผู้ใหญ่ การเล่นเป็นกระบวนการต่อเนื่องของความสัมพันธ์ ของความจริงทางด้านจิตใจและสังคม ความคิดของฟรอยด์ และอีริคสัน เด็กจะมีพัฒนาการทางการเล่นไปตามขั้นตอน ดังนี้ 1) ระยะร่างกายไปหาของเล่น (Auto cosmic) เป็น ระยะที่เด็กมีความสุขจากการได้สัมผัสร่างกายของตนเอง หรือมารดา 2) ระยะของเล่นไปสู่การเล่น (Microsphere) เป็นช่วงท่ีเด็กสร้างโลกของตนเองโดยการเล่นสมมติกับของ เล่นขนาดเล็ก เช่น ตุ๊กตา บ้าน ฯลฯ 3) ระยะการเล่นไปสู่ การทํางาน (Macrosphere) เด็กจะมีพฤติกรรมการเล่น สมมติตัวเองในบทบาทอาชีพต่าง ๆ เช่น พิมพ์ดีด รับ โทรศัพท์ ทําครัว เป็นต้น เป็นการเล่นที่เด็กได้สร้างโลกของ การทํางานร่วมกับผู้อื่น

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ได้อธิบายว่า การเล่นจะถูก นําไปโยงกับความเป็นผู้ใหญ่ภายในตัวเด็ก เม่ือเด็กเผชิญกับ สถานการณ์ท่ียากเกินควบคุม เด็กจะสร้างเรื่องราวสมมติ ขึ้น โดยการเล่นที่ใช้จินตนาการความคิดฝันและเล่นซํ้า ๆ หลายครั้ง

เพลเลอร์ (Peller, 1959) กล่าวว่า การเล่นเป็น การเก็บรวบรวมกระบวนการท่ีต้องเผชิญกับความคับข้อง ใจ ความกังวล ความผิดหวัง ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวัน ซึ่ง กระบวนการนี้เป็นกระบวนการท่ีเป็นไปอย่างช้า ๆ และ มั่นคง การเล่นช่วยให้เด็กเรียนวิธีการควบคุมตัวเอง โดยไม่ ต้องสูญเสียความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง (Freud, 1965)

ตามความคิดของฟรอยด์ การเล่นเป็นทางออกให้เด็กได้ แสดงความรู้สึกทฤษฎีพัฒนาการสติปัญญา ขณะที่ทฤษฎี จิตวิเคราะห์เน้นเกี่ยวกับพฤติกรรมการเล่นของ แต่ละบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านอารมณ์และด้านสังคม เพียเจท์ (Piaget) ผู้นําทางทฤษฎีสติปัญญากล่าวว่า การเล่น เกิดขึ้นภายในจิตใจของเด็กและเป็นผลจากสถานภาพของ การพัฒนาด้านสติปัญญา การเล่นของเด็กเร่ิมตั้งแต่แรกเกิด ในวัยทารกเด็กจะเลียนแบบและกิริยาจากบุคคลหรือสัตว์ จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และจะค่อย ๆ พัฒนาเป็นการเล่น สามรูปแบบด้วยกันคือ การเล่นฝึก (Practice Play) จะเริ่ม ตั้งแต่เด็กอยู่ในขั้นการใช้ประสาทสัมผัส และเม่ือเด็กอายุ ประมาณ 2 ขวบจะเร่ิมการเล่นโดยใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play) และจะพัฒนาไปเป็นการเล่นที่มีกฎกติกา (Games with Pules) เพียเจท์ ยังกล่าวอีกว่า การเล่นเกมที่มีกฎและ กติกานั้น จะเกิดขึ้นตลอดช่วงอายุของคน

ทฤษฎีสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีส่ิงแวดล้อมกล่าวถึง โครงสร้าง และสถานการณ์ที่ทําให้การเล่นของเด็ก แตกต่างกันไป ซึ่งหมายถึงสิ่งเร้าที่ทําให้เด็กเกิดความสนใจ เช่น ชนิดของวัตถุ หรือชนิดของกิจกรรมการเล่น รวมไปถึง เพศของเพื่อนเล่นตลอดจนการควบคุมของผู้ใหญ่ด้วย (Nilwichean, H. 1992).

ทฤษฎีคลาสสิก ทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องกับสาเหตุและผล ของการเล่นประกอบด้วยทฤษฎีต่าง ๆ ดังนี้ 1) ทฤษฎี พลังงานเหลือใช้ (The Surplus Energy Theory) ทฤษฎี นี้เช่ือว่าโดยธรรมชาติและมนุษย์จะเป็นผู้ท่ีมีความ กระตือรือร้น และสะสมพลังงานไว้ในตัว ถ้าหากมีพลังงาน ท่ีเหลือจากการใช้ดํารงชีวิตพื้นฐาน มนุษย์ก็จะใช้ไปในทาง บันเทิงโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย เมื่อใดที่เราเห็นเด็กๆออกไปว่ิง เล่นเต็มไปทั้งสนามเด็กเล่น ความคิดของทฤษฎีนี้ดูเหมือน จะเป็นจริง 2) ทฤษฎีฝึกหัด (The Pre-Exercise Theory) ทฤษฎีน้ียืนยันว่าเด็กเล่นเพื่อฝึกหัด และทําให้สัญชาตญาณ การอยู่รอดเป็นผลสมบูรณ์เมื่อเด็กเกิดมาใหม่ ๆ ประสาท สัมผัสต่าง ๆ ยังไม่สมบูรณ์ เด็กจึงต้องอาศัยการเล่นเพื่อ เป็นการทดลองพัฒนาประสาทสัมผัสอันจะส่งผลต่อ พัฒนาการทางสติปัญญาและอารมณ์ต่อไป การฝึกหัดและ การทดลองจะช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะท่ีจําเป็นต่อการอยู่ รอดพอ ๆ กับทักษะในการดํารงชีวิต 3) ทฤษฎีการทําซ้ํา (The Recapitulation Theory) ทฤษฎีนี้เช่ือว่า การเล่น ของเด็กเป็นการนํากิจกรรมของบรรพบุรุษของตนมาแสดง ใหม่อีกครั้งหนึ่ง เช่น การเล่นน้ํา ขุดดิน ปีนต้นไม้ พฤติกรรมการเล่นของเด็กพัฒนาไปคล้ายกับขั้นการพัฒนา ทางวัฒนธรรมของมนุษย์ การเล่นจะช่วยให้เด็กลบล้างพฤติ กรรที่ไม่พึงประสงค์ของมนุษย์ออกไป การเล่นเป็นการ เตรียมตัวเด็กให้ก้าวไปสู่กิจกรรมที่ทันสมัย ซ่ึงทันกับโลกที่ เจริญก้าวหน้า 4) ทฤษฎีนันทนาการ (The Recreation Theory) ทฤษฎีนี้จะตรงกันข้ามกับทฤษฎีพลังงานเหลือใช้ ขณะท่ีทฤษฎีพลังงานเหลือใช้กล่าวว่า คนเรามีพลังงาน เหลือใช้ และต้องการท่ีจะกําจัดส่วนเกินทิ้งไป ทฤษฎี นันทนาการแนะนําว่าพลังงานของคนเราส้ินเปลืองหมดไป จะต้องหาวิธีสะสมไว้ การทํางานจะทําให้สูญเสียพลังทาง ร่างกายและจิตใจ การเล่นจะทําให้สดชื่นและเรียกพลังงาน ให้กลับคืนมา เพื่อจะได้เร่ิมทํางานใหม่ และ 5) ทฤษฎี การพักผ่อน (The Relaxation Theory) ทฤษฎีน้ีเป็นส่วน ขยายของทฤษฎีนันทนาการ ซึ่งกล่าวถึงภารกิจของ ประชาชนในปัจจุบันว่าประสบกับความเมื่อยล้า เหน็ด เหนื่อยจากการทํางานทั้งทางสมองและกล้ามเน้ือ จึงควรมี กิจกรรมการเล่นเพื่อผ่อนคลายความเครียด โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการเล่นที่ต้องใช้กล้ามเน้ือใหญ่

Weeramanodham, A. (2006: 5) ได้กล่าวถึง ความสําคัญในการเล่นของเด็กปฐมวัยว่า การเล่นเป็น ความสามารถท่ีมีมาแต่กําเนิด เป็นปฏิกิริยาตอบสนองตาม ธรรมชาติ โดยจะช่วยให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาสิ่งต่อไปนี้ 1) เรียนรู้ความคิดรวบยอดและส่ิงต่าง ๆ 2) พัฒนา ทักษะทางสังคม 3) พัฒนาทักษะทางด้านร่างกาย 4)ควบคุมสถานการณ์ของชีวิต 5) ฝึกกระบวนการทาง ภาษา 6) พัฒนาทักษะในการเรียนรู้หนังสือ 7) พัฒนา ทักษะในความภาคภูมิใจในตัวเอง และ 8) เตรียมตัวเพื่อ บทบาทชีวิตของการเป็นผู้ใหญ่ อาทิ เรียนรู้ที่จะมีอิสระทาง ความคิด การตัดสินใจ การให้ความร่วมมือ และการทํางาน ร่วมกับผู้อื่น

โดยสรุปทฤษฎีการเล่นคือ 1) การเล่นคือการเรียนรู้ตามธรรมชาติที่เกิดข้ึนกับเด็ก 2) การเล่นทําให้เด็กสนุกสนานเพลิดเพลิน เกิดจินตนาการ 3) การเล่นช่วยให้เด็กได้ฝึกคิด คิดสร้างสรรค์ คิดรูปแบบการ เล่นคิดแก้ปัญหาเพื่อนําไปสู่จุดหมายของการเล่น 4) การ เล่นช่วยให้เด็กพร้อมท่ีจะเรียนรู้ในส่ิงท่ีอย่างขึ้นจากเดิมและ พร้อมที่จะเรียนรู้ส่ิงใหม่ๆ 5) การเล่นเป็นการเตรียมเด็กให้ กล้าท่ีจะเรียนรู้ไปสู่กิจกรรมท่ีทันต่อยุคสมัยในโลกที่มีความ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 6) การเล่นช่วยส่งเสริมการ ทํางานอย่างเป็นระบบของร่างกายรวมไปถึงการใช้ประสาท สัมผัสทั้ง 5 7) วิธีการเล่นที่เหมาะสมต่อพัฒนาการและมี ความท้าท้ายจะทําให้เด็กเกิดความสนใจและอยากจะเล่น และ 8) การเล่นช่วยให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อครู ผู้ปกครอง เพื่อน และสามารถช่วยให้เด็กปรับตัวเพ่ืออยู่ใน สังคมต่อไปในอนาคต

การเลือกของเล่น เพื่อพัฒนาการเล่นให้เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ

ควรคํานึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ห้ามของ เล่นแหลมคม หรือของเล่นที่มีชิ้นส่วนเล็ก ๆ อาจเป็น อันตรายต่อเด็ก ๆ ได้ของดีไม่จําเป็นต้องแพงในบางครั้ง ของเล่นที่เป็นฝีมือพ่อแม่ ก็มีประโยชน์และสร้างความ ประทับใจให้ได้มากกว่าของเล่นราคาแพง ของเล่นไม่กี่ชิ้นก็ เสริมทักษะ เสริมจินตนาการให้เด็กได้เพียงพอ หากมีของ เล่นมากแต่ไม่มีประโยชน์ ก็ไม่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ ทางด้านการเล่นของเด็ก ครูผู้ปกครองควรศึกษาก่อนให้เด็ก เล่น และอ่านคําเตือนอย่างละเอียด ก่อนให้เด็กเล่นควรสอน ให้เด็ก รู้จักเก็บหัดให้เด็กเก็บของเมื่อเล่นเสร็จแล้ว ต้องรู้จัก รับผิดชอบในส่ิงที่เล่น เพราะหากวางของเล่นทิ้งไว้อาจ ล้มเป็นอันตรายได้ตัวอย่างของเล่น อาทิ

1) ของเล่น ประเภทไม้บล็อก ใช้ต่อเป็นรูปร่างตามจินตนาการอันไร้ขีดจํากัดได้ ซึ่งเด็ก ๆ สามารถวางแผนล่วงหน้าสามารถเล่น ได้ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง

2) อุปกรณ์การประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระดาษสี กรรไกร ลูกปัด ไหมพรม เศษผ้า กล่อง กระดาษ เด็ก ๆ จะชอบสวมบทบาทเป็นนักประดิษฐ์รุ่นจิ๋ว ถ้าได้ทดลองประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง จะสนุกสนานกับ การได้เลือกวัสดุมาประดิษฐ์งาน

3) เครื่องแต่งกาย หมวก เสื้อ ผ้าพันคอ ถุงเท้า ท่ีหาง่ายภายในบ้าน ผู้ปกครองควร อนุญาตให้เด็กนํามาเล่น เพื่อใช้จินตนาการในการเล่น บทบาทสมมติ เช่น แต่งตัวเป็นหมอ ครู

4) ดินน้ํามัน ดิน เหนียว หรือแป้งโดว์ ให้เด็กปั้นขยํา เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมัด เล็ก และได้ใช้สายตา ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และ

5) จิ๊กซอว์ ช่วยส่งเสริมกล้ามเน้ือมือ ได้ใช้ความคิด และ เสริมทักษะสายตาไปพร้อมกันแม้ว่าของเล่นจะมีบทบาท สําคัญต่อการเล่นของเด็ก แต่สิ่งสําคัญคือ พ่อแม่ควรเล่น ด้วย เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างปลอดภัยและอบอุ่น

การเล่นมีความสําคัญอย่างมากต่อพัฒนาการของ เด็กเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเตรียม ประสบการณ์เพ่ือการอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ความ สนุกสนานเพลิดเพลิน นอกจากนี้การสร้างและแสดงออก ทางจินตนาการอันเป็นหัวใจสําคัญของกิจกรรมทางความคิด ของเด็กที่มีอย่างมากมายให้เด็กได้เลือกเล่นอย่างไม่รู้จักจบ สิ้น ซึ่งกล่าวได้ว่าการเล่นเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนา ท้ังทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาการเล่น เปรียบเสมือนการทํางานของเด็ก การเล่นจะช่วยให้เด็ก พัฒนาทักษะของตนเอง เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จาก ผ่านการเล่น ซึ่งความรู้ทั้งหลายจะสั่งสมเป็นพ้ืนฐานในการ ดํารงชีวิตในวันข้างหน้า ครู ผู้ปกครองต้องช่วยเหลือเพื่อ พัฒนาเด็กในศตวรรษท่ี 21 โดยให้เด็กได้ทํากิจกรรมเพื่อ เพิ่มทักษะ คอยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการเล่นเพื่อพัฒนา เด็กทุก ๆ ด้านอย่างสมดุล สําหรับเด็กแล้วกิจกรรมท่ีจะช่วย ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีนั้นก็คือการเล่น ของเล่นที่เด็กเล่น ไม่จําเป็นต้องมีราคาแพง แต่ควรเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความ เพลิดเพลิน สนุกสนาน สร้างสรรค์ สร้างปัญญา สร้างความ ชํานาญในการในการใช้ร่างกาย และการใช้ประสารทสัมผัส ทั้งห้าในขณะท่ีเด็กเล่น การเลือกของเล่นให้เด็กจึงมี ความสําคัญอย่างยิ่ง ควรจะต้องคํานึงถึง ประโยชน์ ประหยัด ประสิทธิภาพ และปลอดภัยประโยชน์ เป็นของ เล่นที่พัฒนาด้านร่างกายและสติปัญญา มีคุณค่าก่อให้เกิด ความคิดเชิงสร้างสรรค์ กระตุ้นให้อยากเล่น อยากสนุก และ ได้ความรู้จากการเล่นประหยัด มีความคงทนแข็งแรงไม่ จําเป็นต้องเป็นของเล่นที่แพง ประสิทธิภาพ มีคุณค่า สร้างสรรค์ ทําให้เด็กเกิดจินตนาการ ปลอดภัย ไม่เป็นส่ิงที่ ก่อให้เกิดอันตรายในการเล่น

การพัฒนาการเล่นเพื่อเด็กปฐมวัย

การพัฒนาการเล่นครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะสำคัญที่ส่งผลต่อการผู้เรียนดังนี้ 1) ผู้เรียนเป็นผู้ท่ี คิดเป็น เพราะได้รับการฝึกทักษะการคิดในระหว่างกิจกรรม การเรียนรู้ท้ังในด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการแก้ปัญหา ผู้เรียนสามารถนํามาใช้ในการดําเนิน ชีวิตประจําวันส่งผลให้การตัดสินในการทํากิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีเหตุผลถูกต้องเหมาะสม เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็ สามารถแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ไม่กระทําการพลาดพลั้งโดย ขาดความยับยั้งหรือคิดไม่เป็น

2) เป็นผู้ท่ีรู้เท่าทัน เทคโนโลยีต่าง ๆ ใช้ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ในการสืบค้น ข้อมูลสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ รู้จักเลือกรับข้อมูลข่าวสาร อย่างมีวิจารณญาณ สามารถนําข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการ เรียน การทํากิจกรรม และการดํารงชีวิตในสังคม

3) ผู้เรียน รู้จักการทํางานร่วมกันเป็นทีม รู้จักแสดงความคิดเห็นและ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล ผลัดกันเป็นผู้นํา แสดงออกถึงน้ําใจเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่ มีมนุษย์สัมพันธ์ท่ีดีต่อกัน มีวินัยและรับผิดชอบ เป็นส่วนหนึ่งของการมีวิถีการ ดํารงชีวิตในสังคมประชาธิปไตย

4) ผู้เรียนได้รับการฝึกให้มี ความเข้าใจและมีทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความ หลากหลายทางวัฒนธรรม มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่ง ในสังคมโลกยุคปัจจุบันทุกคนจะต้องปรับตนให้เข้ากับสังคม และวัฒนธรรมที่หลากหลาย และมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน และกัน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

5) ผู้เรียนจะมี ความสามารถในการสื่อสารทั้งในด้านการพูด การเขียน การ อ่าน การแสดงท่าทาง เป็นผู้ที่สามารถสื่อสารกับบุคคลต่างๆ บรรลุตามเป้าหมายได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทั้งในด้านสังคม ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคมระหว่างชาติท่ัว โลกได้

6) ทักษะในศตวรรษที่21 ท่ีครู ผู้ปกครองจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กเพื่อให้ เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ฝึกให้เด็กมีทักษะไปพร้อมกับ แนวความคิดในการพัฒนา โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะทักษะตั้งแต่ช้ันอนุบาล คือ 3R ได้แก่ (R)Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น) 7C ได้แก่ Critical thinking and problem solving (ทักษะด้านการคิด อย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity and innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และ นวัตกรรม) Cross-cultural understanding (ทักษะ ด้านความเข้าใจต่าง วัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) Collaboration, teamwork and leadership (ทักษะด้าน ความร่วมมือ การทํางานเป็นทีม และภาวะผู้นํา) Communications, information and media literacy (ทักษะด้าน การสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) Computing and ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร) Career and learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

เอกสารอ้างอิง

ปิยนันท์ พูลโสภา. (2560). การพัฒนาการเล่น เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 The Development of Playing for Early Childhood Learning in 21st Century. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 20-27.