กิจกรรม Makerspace และกระบวนการSTEAM Design Process โรงเรียนบ้านปลาดาว

From Knowledge sharing space
Revision as of 10:40, 3 August 2018 by Benjawan (Talk | contribs) (ตัวอย่างกิจกรรม Little chef)

(diff) ← Older revision | Latest revision (diff) | Newer revision → (diff)
Jump to: navigation, search

ทักษะที่ผู้เรียนได้รับจากการจัดกิจกรรม

  • การสร้างสรรค์ และนวัตกรรม: สามารถคิดออกแบบเชื่อมโยงสิ่งที่มีอยู่ได้อย่างสร้างสรรค์
  • การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา: ความสามารถในการคิด ไตร่ตรองข้อมูลต่างๆ มีการวางแผนงานและการแก้ปัญหาะหว่างทางในการสร้างชิ้นงาน
  • การทำงานร่วมกับผู้อื่นและภาวะผู้นำ: สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนและแนะนำเพื่อนเมื่อเกิดปัญหาระหว่างการทำงานได้
  • การสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ: สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ่ายทอดความคิดจากสื่อที่ครูหามาให้ได้
  • การรู้จักตนเอง: รู้ว่าตัวเองชอบ หรือไม่ชอบอะไร สามารถควบคุมการแสดงออกที่เหมาะสม
  • การบริหารจัดการตนเอง: สามารถวางแผนการทำงานของตัวเองในการทำกิจกรรมได้ และสามารถทำเสร็จได้ตามเวลากำหนด
  • การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง: ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานและสามารถบอกทั้งวิธีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้เมื่อได้ทำในครั้งต่อไป
  • ด้านความสัมพันธ์: สามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆได้ มีการพูดคุย สอบถาม ให้คำแนะนำกับเพื่อนอย่างคล่องแคล่ว
  • ด้านการรู้จักสังคม: มีความเต็มใจยอมรับเพื่อปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสังคม เอาใจใส่เพื่อนๆร่วมชั้นเรียน

ทักษะที่เกิดขึ้นกับครูผู้สอน

  • ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้: จัดสถานที่และอุปกรณ์ให้พร้อมต่อการเรียนรู้ ให้คำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ คอยช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ และใช้คำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เรียน
  • ผู้สร้างความร่วมมือในการเรียนรู้: สนับสนุนการทำงานร่วมกับเพื่อนนักเรียนในทีมเพื่อกำหนดเป้าหมายและวางแผนการงานร่วมกัน
  • นักพัฒนาการเรียนรู้ตามศักยภาพเฉพาะบุคคล:ในการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนเลือกที่จะเรียนรู้ได้ตามศักยภาพและความสนใจของตนเอง
  • ผู้สร้างและเผยแพร่เนื้อหา: ครูเก็บข้อมูลผู้เรียนแล้วนำมาวิเคราะห์ เพื่อนำมาเผยแพร่และนำไปพัฒนาตนเอง เช่น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโค้ช, เขียนสรุปหลังกิจกรรม, แชร์ข้อมูลหรือเทคนิคที่ได้จากกิจกรรมผ่านสื่อออนไลน์ เป็นต้น
  • นักนวตกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้: ประยุกต์ใช้ความรู้ เชื่อมโยงกับสิ่งที่มีอยู่เดิมได้อย่างสร้างสรรค์ วิธีการสอนหลากหลายและเหมาะสมกับเด็ก ใช้สื่อที่พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

ตัวอย่างกิจกรรม Little chef

ระดับชั้นอนุบาล 2

อุปกรณ์ที่ใช้

1. กระดาษ A4

2. เครื่องเขียน เช่น ดินสอ ดินสอสี ยางลบ

3. ตราชั่ง

4. เครื่องอบขนม

5. แป้งสำหรับทำขนม

6. ไอศครีมและหวานเย็น

7. สีผสมอาหาร

8. เครื่องครัว เช่น เขียง ช้อน มีด จาน ชาม

STEAM Design Process

Science : ใช้ประสาทสัมผัสในการสัมผัส สังเกต ชิมรส และเรียนรู้ สัมผัสเรื่องสารและสมบัติของสาร เช่น สถานะของแข็ง ของเหลว

Technology :

  • การใช้อินเทอร์เนตในการค้นหาข้อมูลในการทำอาหาร และการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการประกอบอาหาร
  • การใช้เครื่องอบขนม ทำให้แป้งขนมปังสุก และฟู

Engineering : การออกแบบ วางแผนการทำอาหาร ว่าจะตกแต่งอาหารโดยใช้วัตถุดิบชนิดใด ตกแต่งหน้าอาหารแบบใด

Art : การผสมสีอาหาร การเลือกสีต่างๆลงไปในอาหาร การปั้นแป้งเป็นรูปร่างต่างๆในอาหาร

Math :

  • เรียนรู้เรื่องการชั่ง การตวงปริมาตร การคำนวณปริมาณของส่วนผสมในการทำอาหาร
  • การบอกรูปร่าง รูปทรงของขนมเค้กที่ทำ
  • การเรียนรู้เรื่องเวลาในการอบขนม ที่มีผลต่อการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นของแข็ง

ตัวอย่างกิจกรรมกระโปรงของหนู

ระดับชั้นอนุบาล 2

อุปกรณ์ที่ใช้ 1. ผ้าสีแดง 2. ผ้าซับใน 3. สายวัด 4. ยางยืด 5. กรรไกร 6. จักรเย็บผ้า

STEAM Design Process

Science : การวางแผนสร้างชิ้นกระโปรงอย่างมีลำดับขั้นตอนตามกระบวนการวิทยาศาตร์ และฝึกการทดลอง

Technology : การใช้เครื่องมือจักรเย็บผ้าในการสร้างชิ้นงาน

Engineering : การออกแบบชิ้นงานจากเศษผ้า และวัสดุที่เหลือใช้ต่างๆ

Art : การใช้กระดาษตัดแปะ สร้างลวดลายบนกระโปรง

Math : การวัด ความกว้าง ความยาวของผ้า

ตัวอย่างกิจกรรม เรือทหาร

ระดับชั้น อนุบาล 2

อุปกรณ์ที่ใช้:

1. กระดาษลัง

2. ไม้ไอติม

3. กระป๋อง

4. ลูกปิงปอง

5. หลอด

6. กระดุม

7. ขวดพลาสติก

8. อ่างน้ำและน้ำ

STEAM Design Process

Science : ใช้การสังเกตและกระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์นำเรือไปลอยน้ำ

Technology : การนำอุปกรณ์และเครื่องมือมาสร้างชิ้นงาน

Engineering : ออกแบบชิ้นงานจากวัสดุที่เหลือใช้

Art : การระบายสี นำวัสดุเหลือใช้มาตกแต่งชิ้นงานให้สวยงาม

Math : การคาดคะเนและวัดขนาดของรูปทรง

ตัวอย่างกิจกรรม Super Car

ระดับชั้นประถมศึกษา 1

อุปกรณ์ที่ใช้

เครื่องมือช่าง เช่น กรรไกร ปืนกาว คัตเตอร์ ไขควง มอเตอร์ ใบพัด

เศษวัสดุ เช่น กล่อง ลัง ขวดน้ำพลาสติก ไม้

เครื่องเขียน เช่น สี ดินสอ กระดาษA4 กระดาษสี

อุปกรณ์ทั่วไป เช่น กรรไกรตัดกระดาษ ปืนกาว คัตเตอร์

STEAM Design Process

Science : ใช้กระบวนการสังเกต ทดลองในการสร้างชิ้นงาน และเรียนรู้เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ของยานพาหนะ

Technology : พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ งานช่างเช่น กรรไกร ปืนกาว คัตเตอร์ ไขควง มอเตอร์ ใบพัด

Engineering : ออกแบบรูปลักษณ์ของชิ้นงาน เช่น รูปร่าง รูปทรง การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุ

Art : การประดิษฐ์ตกแต่ง ระบายสี การฝึกใช้เครื่องมือที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กรรไกร ปืนกาว คัตเตอร์

Math : การนับจำนวน การวัดความยาว การคาดคะเน เรขาคณิต

ตัวอย่างกิจกรรมอาชีพในฝัน

ระดับชั้นชั้นประถมศึกษา 1

อุปกรณ์ที่ใช้

1. อุปกรณ์ทั่วไป เช่น กรรไกรตัดกระดาษ ปืนกาว คัตเตอร์ ลวด

2. เศษวัสดุ เช่น กล่อง ลัง ไม้ไอศครีม หลอด ตะเกียบไม้ ถาดใส่ไข่

3. เครื่องเขียน เช่น สี ดินสอ กระดาษA4 กระดาษสี โฟม

STEAM Design Process

Science : ใช้กระบวนการสังเกต การเลือกใช้วัสดุต่างๆ(คุณสมบัติของวัสดุ)ในการสร้างชิ้นส่วนของบ้านหรือองค์ประกอบอื่นๆของบ้านอย่างเหมาะสม

Technology :

  • พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ เช่น กรรไกร ปืนกาว คัตเตอร์
  • การสืบค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์/หนังสือ ( เช่น การเรียนรู้ศึกษาตัวอย่างวิธีการประดิษฐ์สิ่งของจาก YouTube /Google
  • การใช้อุปกรณ์ต่างๆในการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น มีด กรรไกร กระดาษฯลฯ

Engineering : ได้ฝึกออกแบบการสร้างต่อเติมโครงสร้างองค์ประกอบต่างๆ รูปร่างรูปทรงตัวของบ้าน และอุปกรณ์ของใช้ภายในบ้าน

Art : การประดิษฐ์ตกแต่ง ระบายสี การเลือกโทนสีในการจัดองค์ประกอบบ้าน การใช้สีสันในการออกแบบหรือตกแต่งประดิษฐ์อุปกรณ์สิ่งของต่างๆภายในบ้าน

Math : ฝึกการวัดและคำนวณสัดส่วนต่างๆของบ้านและเครื่องใช้อุปกรณ์ภายในบ้าน และการใช้รูปทรงเรขาคณิตเข้ามาช่วยสร้างเป็นอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน