ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู

From Knowledge sharing space
Jump to: navigation, search

ลักษณะของครูที่ดีมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก และพฤติกรรมบ่งชี้ตามเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวด มีดังต่อไปนี้

หมวดที่ 1 รอบรู้ สอนดี

ประกอบด้วย คุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก และ พฤติกรรมบ่งชี้ ดังต่อไปนี้

1. ด้านความรู้และความสามารถในวิชาชีพครู ได้แก่

1) รู้แผนการศึกษาแห่งชาติ: รู้นโยบายการศึกษาที่ตนรับผิดชอบ,รู้จุดมุ่งหมายของการศึกษา

2) รู้หลักสูตร คือ

- รู้หลักการ รู้จุดมุ่งหมาย และโครงสร้างของหลักสูตร

- รู้แผนพัฒนาและนโยบายหลักของท้องถิ่น หรือจังหวัดที่ปฏิบัติ

- สามารถปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบาย การพัฒนา และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น

- เข้าใจหลักสูตรและสามารถเชื่อมโยงหลักสูตรกับการสอนในระดับ ต่าง ๆ ได้

3) รู้เนื้อหาวิชาที่สอน คือ

- มีความแม่นยำ และละเอียดลึกซึ้งในเนื้อหาวิชา และปรับปรุง ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

- ผ่านการศึกษาหรือผ่านการอบรมในวิชาที่สอน

- จัดทำเอกสารประกอบการสอนและคู่มือในวิชาที่ตนรับผิดชอบ

- ศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่สอน

- สามารถประยุกต์ความรู้ไปใช้ในการสอน

4) ทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ คือ

- เตรียมการสอนล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ ครบทุกขั้นตอน

- วางแผนและจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้เหมาะกับการเรียนรู้ ของผู้เรียน

- นำหลักจิตวิทยามาใช้ในการเรียนการสอน สอดคล้องกับพัฒนาการ ของผู้เรียน

- ใช้ภาษาไทยสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง ทั้งการพูด การเขียน การ ถ่ายทอดความรู้ การใช้คำถาม การออกความคิดเห็น และการอภิปราย

- ใช้สื่อการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาวิชาที่สอน

- รู้วิธีสอนหลายรูปแบบและเลือกมาสอนได้ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้เรียน

- ใช้คำถามทำให้เด็กคิดเป็น

- จัดทำกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- ใช้เทคนิคการเสริมแรงอย่างถูกต้อง

5) รู้หลักการวัด และประเมินผล คือ

- มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะแบบทดสอบตามหลักการวัดผล ประเมินผล และสามารถออกข้อสอบและปรับปรุงแบบทดสอบ รวมทั้งนำมาใช้ได้ จริง เหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน

- ใช้การวัดและประเมินผลหลาย ๆ วิธีให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้

- ดำเนินการวัดผลและประเมินผลได้ถูกต้อง มีคุณภาพ

- นำผลการวัดและประเมินผลมาปรับปรุงการเรียนการสอน

6) สอนซ่อมเสริม คือ

- วิเคราะห์วินิจฉัยปัญหาและความต้องการจำเป็นของผู้เรียน

- สามารถใช้วิธีสอนซ่อมเสริมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

7) การพัฒนาการสอน คือ

- ใช้ระบบข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอนให้เป็นประโยชน์

- วิจัยการเรียนการสอน และหรือนำผลการวิจัยมาใช้ปรับปรุงวิธีการ สอน แก้ปัญหาการเรียนการสอน

- เผยแพร่เทคนิควิธีการสอนใหม่ ๆ ตลอดจนผลงานทางวิชาการให้แก่ เพื่อนครูตามสมควร

2. ด้านสนับสนุนการเรียนการสอน

1) บริการเชิงแนะแนว

- สังเกตและรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

- บันทึกระเบียนประวัตินักเรียน

- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างประสบการณ์ในการแก้ปัญหา

- ใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการให้คำปรึกษา และแก้ปัญหาให้นักเรียน

- ให้ความสนใจดูแลและช่วยเหลือด้านสุขภาพ อนามัย และความ ปลอดภัยของนักเรียน

- บริการสนเทศ

2) บริการด้านกิจการนักเรียน

- เป็นอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมชมรมของนักเรียน และกิจกรรมพิเศษ

- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างคุณลักษณะประชาธิปไตย

- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมจริยธรรม

- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

3) บริการด้านสื่อการเรียนการสอน

- ดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนให้อยู่ในลักษณะ ใช้การได้

- จัดมุมห้องสมุดหรือมุมเสริมประสบการณ์

- จัดสื่อที่ส่งเสริมความถนัด ศิลปะ ดนตรี กีฬา แก่ผู้เรียน


4) งานธุรการ

- ทำเอกสารประจำชั้นได้ดี และเป็นปัจจุบัน

- จัดเก็บระเบียนสะสมนักเรียน เอกสาร เป็นหมวดหมู่และเป็นระบบ

- มีเอกสารหลักฐานการติดต่อระหว่างครูกับผู้ปกครอง

3. ด้านรอบรู้สถานการณ์บ้านเมืองและความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

1) ติดตามความเคลื่อนไหวและสถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบัน

- ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

2) จับประเด็นปัญหาและความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสังคมได้

- วิเคราะห์และให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวสารและประเด็นปัญหาต่าง ๆ ได้

- พยายามใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร และการสรุปประเด็นปัญหา ที่สำคัญมาใช้ในการเรียนการสอน

หมวดที่ 2 มีคุณธรรม จรรยาบรรณ

ประกอบด้วย คุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก และพฤติกรรมบ่งชี้ ดังต่อไปนี้

1. มีความเมตตากรุณา

- มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานและสังคม ไม่นิ่งดูดายและ เต็มใจช่วยเหลือตามกำลังความสามารถ

- มีความสนใจและห่วงใยในการเรียนและความประพฤติของผู้เรียน แนะนำ เอาใจใส่ช่วยเหลือเด็ก และเพื่อนร่วมงานให้ได้รับความสุข และพ้นทุกข์ เป็นกันเองกับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สึกเปิดเผย ไว้วางใจและเป็นที่ พึ่งของผู้เรียนได้

2. มีความยุติธรรม

- มีความเป็นธรรมต่อนักเรียน เอาใจใส่และปฏิบัติต่อผู้เรียนและเพื่อน ร่วมงานทุกคนอย่างเสมอภาคและไม่ลำเอียง ตัดสินปัญหาของผู้เรียนด้วย ความเป็นธรรม มีความเป็นกลาง ยินดีช่วยเหลือผู้เรียน ผู้ร่วมงานและ ผู้บริหาร โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

3. มีความรับผิดชอบ

- มุ่งมั่นในผลงาน มีวิธีการที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ วางแผนการ ใช้เวลาอย่างเหมาะสมและปฏิบัติงานได้ทันเวลา ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าและมี ประสิทธิภาพ

4. มีวินัย

- มีวินัยในตนเอง ควบคุมตนเองให้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม มีวิธีทำงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่นได้

- ปฏิบัติตามกฎและระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษา

5. มีความขยัน

- มีความตั้งใจ กระตือรือร้น และปฏิบัติงานเต็มความสามารถอย่าง สม่ำเสมอ ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคในการทำงาน

- มีความพยายามที่จะสอนเด็กให้บรรลุจุดมุ่งหมาย

6. มีความอดทน

- อดทนเมื่อเกิดอุปสรรค ปฏิบัติงานเต็มที่ไม่ทิ้งขว้างกลางคัน

- มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ไม่โกรธง่ายและสามารถควบคุม อารมณ์ได้อย่างเหมาะสม อดทน อดกลั้น ต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ 28

7. มีความประหยัด

- รู้จักประหยัดอดออม ช่วยรักษาและใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัด ไม่ใช้จ่าย ฟุ่มเฟือยเกินฐานะของตน รู้จักเก็บออมทรัพย์ เพื่อความมั่นคงของฐานะ

- ใช้ของคุ้มค่า ช่วยรักษาและใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัด

8. มีความรักและศรัทธาในอาชีพครู

- เห็นความสำคัญของอาชีพครู สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรวิชาชีพ ครู เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาชีพครู ร่วมมือและส่งเสริมให้มีการพัฒนา มาตรฐานวิชาชีพครู

- รักษาชื่อเสียงวิชาชีพครู ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีและเกิดประโยชน์ต่อ ส่วนรวมเป็นสำคัญ รักษาความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในหน้าที่ การงาน ปกป้องและสร้างความเข้าใจอันดีต่อสังคมเกี่ยวกับวิชาชีพครู

- เกิดความสำนึกและตระหนักที่จะเป็นครูที่ดี ปฏิบัติตนให้เหมาะสมที่เป็น ปูชนียบุคคล

9. มีความเป็นประชาธิปไตยในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต

- รับฟังความคิดเห็นและข้อโต้แย้งของผู้อื่น เปิดโอกาสให้ผู้อื่นแสดงความ คิดเห็น

- มีเหตุผล ยอมรับและปฏิบัติตามความคิดเห็นที่มีเหตุผลโดยคิดถึง ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ใช้หลักการและเหตุผลในการตัดสินใจและ แก้ปัญหา

หมวดที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนา

ประกอบด้วยคุณลักษณะ พฤติกรรมหลักและ พฤติกรรมบ่งชี้ ดังต่อไปนี้

1. การพัฒนาตนเอง

1) รู้จักสำรวจและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ

- รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์และนำมาปรับปรุงตนเอง

- ประเมินผลและปรับปรุงการทำงานของตนเองตลอดเวลา

- ยอมรับความเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างมีเหตุผล ทางคุณธรรม

2) สนใจใฝ่รู้

- ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ

- เข้าร่วมประชุมสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิด

- สนใจติดตามเหตุการณ์ปัจจุบัน และติดตามความเคลื่อนไหวทาง การศึกษา

3) เพิ่มพูนวิทยฐานะ

- สนใจกระตือรือร้นในการที่จะเข้ารับราชการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่ จะนำมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน

4) คิดค้นคว้าวิทยาการใหม่ ๆ

- คิดเทคนิควิธีการสอนหรือประดิษฐ์ผลงานแปลกใหม่มาใช้ในการเรียน การสอน

- นำผลที่ได้จากการทดลองมาปรับปรุงใช้พัฒนางานและเผยแพร่ให้เป็น ประโยชน์ต่อการเรียนการสอน

2. การพัฒนาชุมชน บำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชนเข้าร่วมประชุมกิจกรรมของชุมชนตามความเหมาะสม ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามวิถีทางประชาธิปไตยแก่ชุมชน โดย ประพฤติตนเป็นแบบอย่างและชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติตามในโอกาส อันควรมีส่วนร่วมให้โรงเรียนเป็นแหล่งวิทยาการชุมชน พร้อมทั้งพยายาม ใช้แหล่งวิทยาการชุมชนให้เป็นประโยชน์ ประสานงานกับผู้ปกครองนักเรียนเพื่อทำประโยชน์ต่อชุมชน นำความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาสู่ชุมชน เป็นผู้นำในการริเริ่มกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน


แหล่งอ้างอิง

[1] เขียนโดย อัจฉรา คงประเสริฐ