วิธีสอนแบบโสเครติส

From Knowledge sharing space
Revision as of 16:41, 26 October 2018 by Benjawan (Talk | contribs)

Jump to: navigation, search

ความหมาย วิธีโสเครติส (Socrates method)

โสเครติส (Socrates, 469-399 B.C.E) นักปรัชญาและนักการศึกษาชาวกรีกที่มีชื่อเสียงซึ่งได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในฐานะ นักคิดที่ยิ่งใหญ่ของปรัชญาตะวันตก (The great thinker of western philosophy) เป็นครูสอนตรรกวิทยาและหลักการประชาธิปไตย รูปแบบการสอนของโสเครติสจะไม่ใช่สอนโดยวิธีบรรยาย แต่จะสอนด้วยการสนทนาและการถามตอบโดยจะตั้งคำถามหลายๆข้อ เพื่อให้นักเรียนดึงความรู้จากประสบการณ์ออกมาให้ได้ การสนทนาระหว่างโสเครติสกับนักศึกษาจะดำเนินไปทีละขั้นตอนตามแนวทางที่นักปรัชญาในอดีตเคยใช้ในการค้นหาความรู้ นักเรียนแต่ละคนจะทำงานหนักเช่นเดียวกันกับครู เนื่องจากครูจะป้อนคำถามไปเรื่อยจนกว่านักเรียนจะพบคำตบด้วยตัวเอง วิธีการนี้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ (มัณฑรา ธรรมบุศย์)

ธีรพงศ์ แก่นอินทร์ ได้ระบุว่า วิธีสอนแบบโสเครติส เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนใช้เหตุผลในการสืบค้นร่วมกันโดยการสนทนา (Dialogical enquiry) และมีการใช้คำถามแบบต่อเนื่องเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อเข้าถึงความจริง

ลักษณะวิธีการสอนแบบโสเครติส

เทคนิคการตั้งถามโดยวิธีโสเครติส

การตั้งคำถามโดยวิธีโสเครติสมีเป้าหมายหลัก คือ เพื่อท้าทายนักเรียนให้ค้นหาตำตอบจากการคิดจนกว่าจะได้คำตอบที่สมบูรณ์และถูกต้อง คำถามที่โสเครติสมักใช้ในการสอนมีอยู่ 6 ประเภท ดังนี้

1. Conceptual Clarification Questions

เป็นคำถามที่ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนทำความกระจ่างกับคำตอบตนเอง โดยให้ผู้เรียนทบทวนอีกครั้งหนึ่งถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของคำถาม หรือความถูกต้องของคำตอบ เป็นการตรวจสอบความคิดของตนเองหลังจากให้คำตอบไปแล้ว หรือหลังจากมรการอภิปรายถกเถียงกันในกลุ่มแล้ว คำถามแบบนี้จึงมีลักษณะของคำถามที่ต้องการให้ผู้เรียนบอกความคิดเพิ่มเติมเพื่อให้ได้คำตอบที่เจาะลึกมากขึ้น

ตัวอย่างคำถามผู้สอนสามารถนำไปใช้ เช่น

ทำไมเธอจึงตอบอย่างนั้น?

ความหมายที่ถูกต้องจริงๆ คืออะไรกันแน่

คำตอบของเธอเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรากำลังพูดถึงอย่างไร?

สรุปว่าตอนนี้เรารู้อะไรเกี่ยวกับ………….บ้าง

เธอยกตัวอย่างในสิ่งที่เธอกำลังพูดได้ไหม?

เธอกำลังพูดว่า……………หรือ…………..ใช่ไหม?

ลองพูดซ้ำอีกครั้งจะได้ไหม?

2. Probing Assumptions เป็นคำถามที่ต้องการให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับข้อสันนิฐานและความเชื่อต่างๆ ที่ยังไม่แน่นอนซึ่งนักเรียนค้นพบในระหว่างที่มีการอภิปรายร่วมกัน คำถามที่ใช้จึงเป็นคำถามที่ต้องการหาข้อเท็จจริง

ตัวอย่างคำถามที่ใช้ เช่น

นอกจาก……………….ยังสามารถสันนิษฐานในแง่มุมใดได้อีก?

ดูเหมือนเธอจะสันนิษฐานว่า……….ใช่ไหม?

เธอเลือกข้อสันนิษฐานเหล่านี้มาโดยวิธีใด?

ลองอธิบายว่าทำไม/อย่างไร……………..?

เธอจะพิสูจน์หรือตรวจสอบข้อสันนิษฐานนี้ได้อย่างไร?

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า……………?

3. Probing Rationale, Reasons and Evidence

เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักจะแสดงความคิดเห็นโดยขาดเหตุผลหรือมีข้อสนับสนุนที่ยังอ่อนด้อยเกินไป

ดังนั้น คำถามประเภทนี้จึงต้องการให้ผู้เรียนคิดหาเหตุผลเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนคำตอบที่ได้จากการอภิปรายถกเถียงกัน โดยต้องเป็นความคิดที่สมเหตุสมผล มีหลักฐานยืนยัน ไม่ใช่เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น

ตัวอย่างคำถามที่ใช้ เช่น

ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น?

เธอรู้ได้อย่างไร? ลองแสดงให้ดู หรือ แสดงให้เห็นว่า…………..? เธอจะยกตัวอย่างที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้หรือไม่? เธอคิดว่าเรื่องนี้มีสาเหตุมาจากอะไร? เธอยืนยันเรื่องที่พูดได้หรือไม่? เหตุผลที่เธอพูดมา เธอคิดว่าเพียงพอแล้วหรือยัง เรื่องนี้มีข้อหักล้างได้หรือไม่? ครูจะเชื่อได้อย่างไรในสิ่งที่เธอพูด?

Questioning viewpoints and perspectives เป็นคำถามที่ต้องการให้ผู้เรียนได้แสดงความ คิดเห็นหรือเสนอมุมมองอื่นๆอีกที่เชื่อถือได้ ตัวอย่างคำถามที่ใช้ เช่น เรื่องนี้ยังมีแง่มุมอื่นที่มีเชื่อถือได้อีกหรือไม่? ทางเลือกอื่นในการพิจารณาเรื่องนี้มีอีกหรือไม่? ทำไมเรื่อง………….จึงมีความสำคัญ? ข้อแตกต่างระหว่าง………กับ………..คืออะไร? ทำไมเรื่องนี้จึงดีกว่า………..? จุดเด่นและจุดด้อยของ………คืออะไร? ………….กับ…………เหมือนกันอย่างไร? เธอสามารถมองเรื่องนี้ในแง่มุมอื่นได้หรือไม่? ถ้าเธอเปรียบเทียบ………….กับ…………….จะเป็นอย่างไร?

Probe implications and consequences เป็นคำคามที่ต้องการให้ผู้เรียนคาดคะเนเกี่ยวกับการ นำไปใช้และผลที่อาจเกิดตามมาภายหลัง ตัวอย่างคำถามที่นำมาใช้ เช่น ถ้าไม่มีพระอาทิตย์ จะเกิดอะไรขึ้นกับโลกของเรา? ผลที่อาจเกิดขึ้นภายหลังของข้อสันนิษฐานนี้คืออะไร? …………สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร เรื่องนี้จะมีผลกระทบต่อใครบ้าง? สิ่งที่กำลังพูดกันอยู่นี้สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียนอย่างไร? สิ่งที่ดีที่สุดของ………….คืออะไร? เพราเหตุใด?

Questions about the question เป็นคำถามที่ต้องการให้ผู้เรียนคิดทบทวนเกี่ยวกับคำถามที่ได้ ถามไปแล้ว ลักษณะของการถามจึงเป็นการสะท้อนคำถามกลับไปยังผู้ถามอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างคำถามที่นำมาใช้ เช่น ประเด็นของการตั้งคำถามข้อนี้คืออะไร? เธอคิดว่าครูถามคำถามข้อนี้เพราะเหตุใด? คำถามนี้หมายความว่าอย่างไร ถ้าดูจากคำถามที่ยกตัวอย่างข้างต้น อาจมีผู้คิดว่าวิธีโสเครติสเป็นวิธีที่ง่าย แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วเป็นวิธีที่มีความเข้มงวดมาก เนื่องจากโสเครติสเชื่อว่า ความรู้ (Knowledge) และ การตระหนักรู้ (awareness) เป็นส่วนที่อยู่ภายในของเราทุกคน ดังนั้น ผู้ที่จะฝึกฝนการสอนที่ดีจะต้องพยายามเข้าให้ถึงระดับของความรู้และการตระหนักรู้ที่ซ่อนอยู่ภายในตัวผู้เรียนให้มากที่สุด เพื่อช่วยให้ผู้เรียนก้าวไปสู่การคิดในระดับใหม่ๆ ได้ คำถามที่ดีจึงมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ คือ ทำให้ได้ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง (factual information) ทำให้เกิดความเชื่อโยงวามคิดรวบยอดต่างๆได้ (connecting concepts) ช่วยทำให้ได้ข้อสรุปหรือข้อวินิจฉัย (making inferences) ที่สามารถอ้างอิงได้ ทำให้ผู้เรียนมีการตระหนักรู้มากขึ้น (increasing awareness) ส่งเสริมความคิดริเริ่มและการคิดแบบจินตนาการ (encouraging creative and imaginative thought) ช่วยให้เกิดกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ (aiding critical thinking processes) ช่วยเหลือผู้เรียนในการสำรวจความรู้ การคิด และการเข้าใจในระดับที่ลึกมากขึ้น (helping learners explore deeper levels of knowing thinking, and understanding)

ประโยชน์ที่ได้รับ