การพัฒนาการเล่น เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21

From Knowledge sharing space
Revision as of 10:27, 2 August 2018 by Benjawan (Talk | contribs) (วิธีการที่เด็กปฐมวัยจะเกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์)

Jump to: navigation, search

การเรียนรู้และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 แห่งยูเนสโก ได้กล่าวถึง “สี่เสาหลักทางการศึกษา” ท่ีเป็นหลักในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยการเรียนรู้ 4 รูปแบบ (Wungsrikoon, A. 2016) ดังนี้

1) การเรียนรู้เพื่อรู้หมายถึง การ เรียนรู้ท่ีมุ่งพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การฝึกสติสมาธิ มากกว่าการมอบความรู้ให้แก่เด็ก เพื่อให้สามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต

2) การเรียนรู้เพื่อให้นําไป ปฏิบัติได้ หมายถึง การเรียนรู้เพื่อมุ่งพัฒนาความสามารถ โดยกระบวนการเรียนรู้จะเป็นการบูรณาการระหว่าง ความรู้และการฝึกปฏิบัติท่ีเป็นประสบการณ์ต่าง ๆ ทาง สังคม

3) การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน หมายถึง การเรียนรู้ที่ ทําให้ผู้เรียนสามารถดํารงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างมีความสุข และ

4) การเรียนรู้เพื่อชีวิต หมายถึง การ เรียนรู้ท่ีมุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และ สติปัญญา ให้ความสําคัญกับจินตนาการและความคิด สร้างสรรค์

Dachakup, Y. (1999; อ้างอิงจากLandreth, 1972) กล่าวว่า ในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้น เด็กในวัย น้ีควรได้รับการฝึกฝนให้พัฒนาทักษะทางด้านต่าง ๆ ดังน้ี 1) ทักษะท่ีเก่ียวกับประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว พื้นฐาน (Basic Sensory Motor Skills) 2) กระบวนการ ในการคิด (Thinking Process) 3) การเกิดความคิดรวบ ยอด (Concepts) และ 4) การฝึกรูปแบบในการพูด (Speed Form) ท้ังน้ีเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจและเกิดการ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวจากการใช้ประสาทสัมผัสท้ังห้าใน การเรียนรู้ของเด็ก ครูควรมีความเข้าใจถึงแต่ละช่วงของ พัฒนาการว่าสามารถเรียนรู้อะไรได้โดยวิธีใด ทั้งน้ีเพื่อช่วย ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาการเรียนรู้ได้ดีย่ิงขึ้น

เพียเจต์ กล่าวว่า เป็นกระบวนการการปรับตัวหรือ การปรับโครสร้าง โดยการดูดซึมประสบการณ์ (Assimilation) และการขยายประสบการณ์เข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการที่เด็ก พร้อมท่ีจะเรียน (Learning Through Being Ready to Learn) เพียเจต์เช่ือว่าเด็กที่จะเรียนรู้ได้ดีเม่ือมีความพร้อม (Readiness) หรือเกิดวุฒิภาวะ (Maturity) ที่เกิดมาจาก การทําหน้าท่ีของสมองหรืออวัยวะต่างๆ ท่ีเกิดจากการ ควบคุมของสมอง

แลนด์เดร็ธ (1951) ได้เสนอรูปแบบในการเรียน ของเด็กปฐมวัยว่า เป็นกระบวนการท่ี “ก้าวหน้าจากจุด หนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง” (Form-to-To Process) ซึ่งประกอบไปด้วย กระบวนการในการเรียนรู้ท่ีมีความสัมพันธ์ กัน 17 ประการ ดังน้ี

1) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้การใช้ ประสาทสัมผัสเพื่อนําไปสู่การแยกประเภทและการเรียนรู้ สัญลักษณ์

2) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ส่ิงที่เป็นไปโดยธรรมชาติ เพื่อนําไปสู่การควบคุมการสร้างความสัมพันธ์ การหา แนวทางของตน และการเลียนแบบในการเคล่ือนไหวส่วน ต่าง ๆ ร่างกาย

3) เด็กปฐมวัยจะพัฒนาการการออกเสียง อ้อแอ้ เพื่อนําไปสู่การเรียนรู้ภาษา

4) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ จากการอ่านภาพที่เป็นสัญลักษณ์ เพื่อนําไปสู่การอ่าน หนังสือ

5) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการขีดเขี่ยเพื่อนําไปสู่ การเรียนหนังสือ

6) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการได้รับ ประสบการณ์เพ่ือนําไปสู่การศึกษาข้อมูล

7) เด็กปฐมวัยจะ เรียนรู้สิ่งที่ประหลาดมหัศจรรย์ เพื่อจะเข้าใจสิ่งท่ีเป็น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

8) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้เกี่ยวกับ สัตว์และพืช เพื่อนําไปสู่การเรียนรู้ระบบของร่างกายและ ระบบนิเวศวิทยา

9) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการลากเส้น การแต้มสีและการละเลงสี เพื่อนําไปสู่การวาดภาพ

10) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการทําสิ่งต่างๆเพื่อไปสู่การใช้ เครื่องมือง่าย ๆ และการพัฒนาทักษะในการสร้างงานฝีมือ

11) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเขย่าและโยกตัวไปสู่การ เต้นรํา

12) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการฮัมเพลงไปสู่การ ร้องเพลง

13) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้การได้ยินเน้ือเพลง เพื่อนําไปสู่การฟังเพลง

14) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ที่จะตระหนัก ถึงความต้องการของผู้อื่น เพื่อนําไปสู่การอยู่ร่วมกับผู้อื่น

15) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการได้รับการดูแลเพื่อนําไปสู่ การดูแลตนเอง

16) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ท่ีจะเป็นสมาชิก ของบ้านหรือศูนย์เด็ก เพื่อนําไปสู่การเป็นสมาชิกของชุมชน

และ17) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ส่ิงท่ีเป็น“ของฉัน” เพื่อ นําไปสู่การรู้สึกว่า “ฉันเป็นใคร”เด็กจะเรียนรู้จากการใช้ ประสารทสัมผัสท้ัง 5 โดยอาศัยประสบการณ์เดิมเพื่อจํา นํามาพัฒนาการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และนํามาปรับใช้ใน ชีวิตประจําวันได้


วิธีการที่เด็กปฐมวัยจะเกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์

เด็กจะเรียนรู้โดย วิธีต่าง ๆ ดังน้ี

1) การเรียนรู้จากการเล่น (Learning Through Play) การเล่นเป็นวิธีการเรียนรู้อีกอย่างหน่ึง ซึ่งนับได้ว่า เป็นการทํางานของเด็กการเล่นเป็นวิธีท่ีสําคัญมากท่ีเด็กจะ ทําความเข้าใจและรวบรวมประสบการณ์ท้ังหมดที่ได้รับเข้า ด้วยกัน การเล่นเป็นกิจกรรมที่น่าสนุกสนานที่เด็กเล่นเพื่อ ความพอใจของตนและผลงานที่ได้รับเป็นเป้าหมายรอง ขณะที่เด็กเล่นเด็กจะได้รับการกระตุ้นและเกิดสมาธิในการ เล่น เด็กจะแสวงหาและเรียนรู้โลกที่เขาอยู่ ขณะการเล่นมี กิจกรรมหลากหลายท่ีเกิดตามมาโดยไม่รู้ตัว เช่น การเล่น สมมุติ เด็กจะได้พัฒนาทางด้านร่างกายสังคม ได้แสดงออก ซึ่งความคิดเรียนรู้ ความคิดรวบยอด และสร้างสรรค์ โดย ครูไม่ต้องมีส่วนร่วม การเล่นจะเป็นการแสดงออกซ่ึง ความคิดและความรู้สึกของเด็กบทบาของครูคือ ควร ส่งเสริมการเล่น โดยจัดหาอุปกรณ์นานาชนิดใหม่ เช่น ทราย น้ํา บล็อก การวาดภาพ การเล่นสมมุติและส่งเสริม ให้เด็กใช้สิ่งเหล่าน้ีในการเล่น ประสบการณ์ตรงเป็นพ้ืนฐาน สําคัญของการเล่น กิจกรรมท่ีครูควรจัด ได้แก่ การไปทัศน ศึกษา การเชิญวิทยากรมาบรรยาย และการจัดกิจกรรมท่ี ต้องมีการกระทําจริง เช่น เวลาเป็นองค์ประกอบที่สําคัญ ของการเล่น เพราะถ้ามีเวลามาก การเล่นและการเรียนรู้จะ เป็นกิจกรรมท่ีมีคุณค่า ถ้ามีเลาในการเล่นน้อยไป การเล่นก็ จะไม่ช่วยให้เด็กเกิดประสบการณ์และไม่ช่วยให้เกิด พัฒนาการใดๆ แต่จะเป็นการเสียเวลา เสียพลังงานไป เปล่าๆถ้าเด็กได้เล่นแค่10-15 นาทีในการเล่น ขณะที่เล่น ครูอาจจะต้ังคําถามที่กระตุ้นให้เด็กคิดและสร้างจินตนาการ ไปด้วย แต่ไม่ควรถามคําถามท่ียากจนเกินไป

2) การเรียนรู้โดยการมีปฏิสัมพันธ์กับครู (Learning Thoroughly traction With Teachers) การ เรียนรู้ในลักษณะคือ การเรียนรู้จากกิจกรรมที่ครูเตรียมขึ้น วามมารถจัดได้ใน 3 ลักษณะคือ

2.1) การจัดประสบการณ์แบบหน่ึงต่อหนึ่ง ใน การมีปฏิสัมพันธ์แบบหน่ึงต่อหน่ึง ครูจะสังเกตอารมณ์ กระบวนการการเรียนรู้ของเด็กและการมีส่วนร่วมของเด็ก จากการสนทนา และการตอบสนองของเด็กวิธีการนี้เป็น วิธีการท่ีเหมาะสมสําหรับการประเมินความรู้และทักษะ ของเด็ก ถ้าครูจะสอนทักษะหรือเร่ืองใดเร่ืองหน่ึง ครูจะ สังเกตอารมณ์ กระบวนการเรียนรู้ของเด็กและการมีส่วนร่วมของเด็กจากการสนทนาและการตอบสนองของเด็ก วิธีการน้ีเป็นวิธีการที่เหมาะสมสําหรับการประเมินความรู้ และทักษะของเด็ก ถ้าครูจะสอนทักษะหรือเรื่องใดเร่ือง หนึ่ง ครูอาจจะต้องเตรียมกิจกรรมเสนอให้เด็กเป็น รายบุคคลหรือสําหรับเด็กพิเศษ การสอนเด็กแบบหนึ่งต่อ หนึ่งครูควรให้เด็กอ่ืน ๆ ทํางานอื่น ๆ โดยมีผู้ช่วยหรือครู หรืออาสาสมัครช่วยดูแลเด็กทั้งชั้นขณะที่ครูสอนเด็กเป็น รายบุคคลการจัดประสบการณ์แบบหน่ึงต่อหนึ่งเป็นการ สอนท่ีดี ได้ผลเร็วและมีคุณค่าและยังสร้างความสนใจ และ ทําให้เด็กเข้าใจได้ดีขึ้น เมื่อครูพูดถึงเด็กกับอุปกรณ์การเล่น การอ่านนิทานและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับสี ใดสีหนึ่งซึ่งนั่นเป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่มีความหมายมาก ที่สุด แม้ว่าครูจะไม่สามารถจัดประสบการณ์ดังกล่าวให้แก่ เด็กทุกคน ครูก็ควรหาโอกาสเช่นนี้ให้กับเด็กนักเรียนบ้าง เป็นครั้งคราว

2.2) การจัดประสบการณ์แบบกลุ่มย่อย การ จัดกิจกรรมเป็นกลุ่มย่อยนี้ควรจัดให้เด็ก8คนหรือน้อยกว่า นั้นซึ่งในการจัดกิจกรรมกลุ่มย่อยนี้ครูอาจใช้สําหรับแนะนํา กิจกรรม เนื้อหาหรือแนะแนวทางความสัมพันธ์กับเด็กอื่น ๆ การจัดกิจกรรมดังกล่าวควรมีขนาดเล็กพอที่เด็กแต่ละ คนจะสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือความคิดกับ เด็กคนอื่นๆเพราะเด็กสามารถอดทนรอคอยได้และครูสามารถจะสังเกตการแสดงออกของเด็กหรือสามารถประเมิน และอธิบายสิ่งต่างๆได้ทันที ในกลุ่มย่อย เด็กจะมีโอกาส พัฒนาทักษะท่ีสําคัญบางประการที่เขาไม่สามารถทําได้ใน กลุ่มใหญ่ ทักษะดังกล่าวได้แก่ การฟัง การพูด การ แก้ปัญหา การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล การเป็นผู้นําและผู้ ตาม การทําตามกฎเกณฑ์ การทําข้อตกลงที่กลุ่มเลือก ใน กลุ่มย่อย เด็กจะมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และมี ความรับผิดชอบร่วมกัน

2.3) กิจกรรมกลุ่มใหญ่ (Large Group Experiences) กิจกรรมกลุ่มใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่รวมเด็ก ท้ังหมดในชั้นเข้าไว้ด้วยกันเพ่ือให้เด็กมีโอกาสทํากิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือรับ ฟังเรื่องราวต่างๆ การจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่จะดีในแง่การ ประหยัดเวลาและแรงงาน แต่ก็ไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุดที่จะใช้ สอนเด็กได้ทุกอย่าง การจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่จะได้ผลดี ต่อเม่ือเด็กได้มีส่วนร่วมกิจกรรมอย่างเต็มท่ีหรือ ทํา กิจกรรมอย่างอื่นอย่างใดร่วมกัน เช่น ร้องเพลง สังเกตหรือ ชมการแสดงท่ีเด็กสนใจ เช่น ฟังนิทาน หรือดูการเชิดหุ่น เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วท้ังทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ จากการกระทํา และการเล่น (Learning Through Doingand Playing) เด็ก ๆ ชอบเลียนแบบ มักจะทําสิ่งหน่ึงสิ่งใด ซ้ํา ๆ ชอบค้นหา ปฏิบัติ ทดลอง เปรียบเทียบและหา ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เขาสามารถแยกแยะหาวิธีการ และหาวิธีการเพื่อให้ได้ข้อสรุป ดังนั้นการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในช่วงวัยนี้จะมุ่งเน้น การตอบสนองธรรมชาติและความต้องการตามวัยของเด็ก อย่างสมดุลเพราะเด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อเด็กได้รับ ประสบการณ์ตรง ได้ฝึกการคิด แสดงออกอย่างอิสระและ สามารถนําความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์น้ัน เป็นการจัด ประสบการณ์เพื่อช่วยให้เด็กพร้อมที่จะเรียนรู้จะต้องทําให้ เด็กเกิดความพร้อมทางภาวะแล้ว ประสบการณ์การเรียนรู้ ที่จัดให้เด็กจึงมีส่วนทําให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เด็กปฐมวัย พร้อมที่จะเรียนรู้ส่ิงต่างๆและพร้อมเรียนรู้ในสิ่งท่ียากขึ้น เด็กปฐมวัยควรได้รับการฝึกฝน ทักษะ ที่เขาได้เรียนรู้แล้ว เราจึงจึงเป็นท่ีจะมุ่งเน้นพัฒนาทักษะให้แก่เด็กมากกว่าการ มอบความรู้ ประกอบกับการเรียนรู้ในสังคมปัจจุบันที่มีการ พัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วครูและผู้ปกครองควร จัดประสบการณ์ท่ีแตกต่างออกไปจากทักษะเดิมโดยเพิ่ม ความยากข้ึนไปเล็กน้อยจากส่ิงท่ีเด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ ได้ ดังนั้นการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ จึงมีลักษณะ ผสมผสานเชิงบูรณาการมีความท้าทายตามช่วงวัย

การเล่น

ทฤษฎีการเล่น

การเลือกของเล่น เพื่อพัฒนาการเล่นให้เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ

การพัฒนาการเล่นเพื่อเด็กปฐมวัย