PBL (Project-Based Learning)

From Knowledge sharing space
Revision as of 14:56, 12 May 2018 by Benjawan (Talk | contribs) (ทฤษฎีและแนวคิดการสอนแบบโครงการ)

Jump to: navigation, search

การจัดการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐาน (Project-Based Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่นิยมใช้ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย มีความสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนใน ศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ดังนี้

ทฤษฎีและแนวคิดการสอนแบบโครงการ

การเรียนรู้แบบโครงการเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มีผู้กล่าวถึงความหมายไว้ดังนี้

  • Lenschow (1996) อ้างถึงในวราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์ (2545) อธิบายว่าการเรียนการสอนแบบ โครงการหมายถึงการกระทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ภายในกลุ่มด้วยวิธีการ ปฏิบัติจริง เพื่อการเรียนรู้ การแก้ปัญหาอันจะนำไปสู่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แสวงหาความรู้และ หาแนวทางการแก้ปัญหาเหล่านั้น
  • วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์ (2545) กล่าวถึงการเรียนรู้แบบโครงการว่าเป็นเสมือนสะพานเชื่อม ระหว่างห้องเรียนกับโลกภายนอกซึ่งเป็นชีวิตจริงของผู้เรียน ทั้งนี้เพราะว่าผู้เรียนต้องนำเอาความรู้ที่ได้จาก การเรียนมาบูรณาการเข้ากับกิจกรรมที่กระทำเพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยการสร้างความหมาย การแก้ปัญหา และการค้นพบด้วยตัวเอง ผู้เรียนต้องสร้างและกำหนดความรู้จากความคิดและแนวคิดที่มีอยู่ กับแนวคิดและความคิดที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ให้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งใหม่
  • พรพรรณ ไวทยางกูร (2552) ได้กล่าวถึงการสอนแบบโครงงาน มีกิจกรรม 5วิธี ประกอบด้วย

1. วิธีการอภิปราย ครูเป็นผู้แนะนำเด็ก โดยให้เด็กสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป้นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่

2. การศึกษานอกสถานที่ ครูพานักเรียนไปทัศนศึกษานอกห้องเรียนใหล้บริเวณโรงเรียน เพื่อเรียนรู้สิ่งต่างๆ รวมทั้งได้มีโอกาสสนทนากับบุคคลต่างๆ ในหัวข้อที่เด็กสนใจ เป็นการสร้างประสบการณืเรียนรู้ให้กับเด็ก

3. วิธีการนำเสนอประสบการณ์เดิม เด็กทบทวนความรู้จากประสบการณ์เดิมในเรื่องที่ตนเองสนใจ

4. วิธีการสืบค้นจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย สนทนา ซักถามพ่อแม่ บุคคลในเรื่องที่เด็กให้ความสนใจ การสืบค้นจากห้องสมุด จากเว็บไซต์ หรือจากหนังสือ

5. วิธีการจัดแสดง ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่นป้ายแสดงผลงาน การสาธิตและการอภิปรายผลเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3ระยะ ได้แก่การเริ่มโครงงาน การพัฒนาโครงงาน และการสรุป โดยกิจกรรมหลักในการในการทำโครงงานมี 4ประเภท ได้แก่ 1) กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2) กิจกรรมทัศนศึกษา 3) กิจกรรมสืบค้น 4) กิจกรรมนำเสนอผลงาน

  • แคส จี ลิเลียน (2012) ถูกอ้างถึงใน วศิณีส์ (2560) ยังได้กล่าวถึงการเรียน STEM ผ่านการทำโครงงานมีจุดมุ่งหมายคือความรู้ความเข้าใจ ทักษะการจัดการ ครูอาจใช้กระบวนการทำโครงงานร่วมกับกระบวนการอื่นๆ เช่น ครูสอนเรื่องพืช หัวข้อที่เด็กสนใจและเลือกเรียน คือ ต้นมะพร้าว ในการเรียนแบบSTEM โดยการใช้กระบวนการทางวิศกรรมศาสตร์ ครูอธิบายต้นมะพร้าวตามแนววิทยาศาสตรืก่อนถึงส่วนต่างๆของพืช คือ ต้นมะพร้าวมีลักษณะอย่างไร โดยศึกษาจากต้นมะพร้างจริงๆในโรงเรียน ครูอาจให้นักเรียนแก้ปัญหาว่า เมื่อเราทานน้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าวหมดแล้ว เราจะนำกะลามะพร้าวและเปลือกมะพร้าวมาทำประโยชน์อะไรบ้าง?

การเตรียมตัวของผู้สอน

1. จัดสิ่งแวดล้อมและอำนวยความสะดวกจากครู เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองภายใต้การจัด สิ่งแวดล้อมโดยมีสาระสำคัญดังนี้

การเลือกหัวหน้าโครงการ
กิจกรรมในการสอน

โอกาสแห่งการเรียนรู้
เด็กเป็นผู้เลือก
ครูเป็นผู้เฝ้าติดตามความสนใจของผู้เรียน
การจัดนิทรรศการห้องเรียน

ระยะเวลา

2. ผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้


เปิดโอกาสการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยการสนับสนุน แนะนำ เตรียมสิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็นได้

ครูควรสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยจัดโครงสร้างการเรียน สร้างแบบ แนะนำการทำงานให้แก่ผู้เรียน

กระตุ้นผู้เรียนในการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการรู้คิดของตนเอง
ครูควรประเมินความก้าวหน้า วินิจฉัยปัญหาที่เกิด และให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียน

การวัดและประเมินผล

กรอบแนวการประเมินผล เป็นการประเมินผลตามสภาพจริง เป็นวิธีการการค้นหาความสามารถ และความก้าวหน้าในการเรียนรู้ที่แท้จริง การประเมินผลโครงการมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้ (วราภรณ์, 2545)

  • ประเมินอะไร

1) การแสดงออกถึงผลความรู้ ความคิด
2) ความสามารถ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยม
3) กระบวนการเรียนรู้
4) กระบวนการทำงาน
5) ผลผลิต / ผลงาน / ชิ้นงาน 

  • ประเมินเมื่อใด

1) ควรประเมินอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุด
2) ตามสภาพจริง และเป็นธรรมชาติ
  • ประเมินจากอะไร

1) ผลงาน (เอกสาร ชิ้นงาน)

2) การทดสอบ
3) แบบบันทึกต่าง ๆ (สังเกต ความรู้สึก สัมภาษณ์)
4) แฟ้มสะสมงาน

  • ประเมินโดยใคร การประเมินสามารถมาจากบุคคลดังนี้
1) ตัวผู้เรียน
2) เพื่อน

3) ครูผู้สอน
4) ผู้ปกครอง
  • วิธีการประเมินสามารถทำได้โดย: วิธีการสังเกต, การสัมภาษณ์, ตรวจรายงาน, ตรวจผลงาน, การทดสอบ และนิทรรศการ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เอกสารอ้างอิง

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2545). การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บ เรื่องการเรียนรู้ แบบโครงการเพื่อการเรียนรู้เป็นทีมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.