การพัฒนาการเล่น เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
Contents
การเรียนรู้และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 แห่งยูเนสโก ได้กล่าวถึง “สี่เสาหลักทางการศึกษา” ท่ีเป็นหลักในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยการเรียนรู้ 4 รูปแบบ (Wungsrikoon, A. 2016) ดังนี้
1) การเรียนรู้เพื่อรู้หมายถึง การ เรียนรู้ท่ีมุ่งพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การฝึกสติสมาธิ มากกว่าการมอบความรู้ให้แก่เด็ก เพื่อให้สามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต
2) การเรียนรู้เพื่อให้นําไป ปฏิบัติได้ หมายถึง การเรียนรู้เพื่อมุ่งพัฒนาความสามารถ โดยกระบวนการเรียนรู้จะเป็นการบูรณาการระหว่าง ความรู้และการฝึกปฏิบัติท่ีเป็นประสบการณ์ต่าง ๆ ทาง สังคม
3) การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน หมายถึง การเรียนรู้ที่ ทําให้ผู้เรียนสามารถดํารงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างมีความสุข และ
4) การเรียนรู้เพื่อชีวิต หมายถึง การ เรียนรู้ท่ีมุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และ สติปัญญา ให้ความสําคัญกับจินตนาการและความคิด สร้างสรรค์
Dachakup, Y. (1999; อ้างอิงจากLandreth, 1972) กล่าวว่า ในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้น เด็กในวัย น้ีควรได้รับการฝึกฝนให้พัฒนาทักษะทางด้านต่าง ๆ ดังน้ี 1) ทักษะท่ีเก่ียวกับประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว พื้นฐาน (Basic Sensory Motor Skills) 2) กระบวนการ ในการคิด (Thinking Process) 3) การเกิดความคิดรวบ ยอด (Concepts) และ 4) การฝึกรูปแบบในการพูด (Speed Form) ท้ังน้ีเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจและเกิดการ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวจากการใช้ประสาทสัมผัสท้ังห้าใน การเรียนรู้ของเด็ก ครูควรมีความเข้าใจถึงแต่ละช่วงของ พัฒนาการว่าสามารถเรียนรู้อะไรได้โดยวิธีใด ทั้งน้ีเพื่อช่วย ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาการเรียนรู้ได้ดีย่ิงขึ้น
เพียเจต์ กล่าวว่า เป็นกระบวนการการปรับตัวหรือ การปรับโครสร้าง โดยการดูดซึมประสบการณ์ (Assimilation) และการขยายประสบการณ์เข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการที่เด็ก พร้อมท่ีจะเรียน (Learning Through Being Ready to Learn) เพียเจต์เช่ือว่าเด็กที่จะเรียนรู้ได้ดีเม่ือมีความพร้อม (Readiness) หรือเกิดวุฒิภาวะ (Maturity) ที่เกิดมาจาก การทําหน้าท่ีของสมองหรืออวัยวะต่างๆ ท่ีเกิดจากการ ควบคุมของสมอง
แลนด์เดร็ธ (1951) ได้เสนอรูปแบบในการเรียน ของเด็กปฐมวัยว่า เป็นกระบวนการท่ี “ก้าวหน้าจากจุด หนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง” (Form-to-To Process) ซึ่งประกอบไปด้วย กระบวนการในการเรียนรู้ท่ีมีความสัมพันธ์ กัน 17 ประการ ดังน้ี
1) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้การใช้ ประสาทสัมผัสเพื่อนําไปสู่การแยกประเภทและการเรียนรู้ สัญลักษณ์
2) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ส่ิงที่เป็นไปโดยธรรมชาติ เพื่อนําไปสู่การควบคุมการสร้างความสัมพันธ์ การหา แนวทางของตน และการเลียนแบบในการเคล่ือนไหวส่วน ต่าง ๆ ร่างกาย
3) เด็กปฐมวัยจะพัฒนาการการออกเสียง อ้อแอ้ เพื่อนําไปสู่การเรียนรู้ภาษา
4) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ จากการอ่านภาพที่เป็นสัญลักษณ์ เพื่อนําไปสู่การอ่าน หนังสือ
5) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการขีดเขี่ยเพื่อนําไปสู่ การเรียนหนังสือ
6) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการได้รับ ประสบการณ์เพ่ือนําไปสู่การศึกษาข้อมูล
7) เด็กปฐมวัยจะ เรียนรู้สิ่งที่ประหลาดมหัศจรรย์ เพื่อจะเข้าใจสิ่งท่ีเป็น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
8) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้เกี่ยวกับ สัตว์และพืช เพื่อนําไปสู่การเรียนรู้ระบบของร่างกายและ ระบบนิเวศวิทยา
9) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการลากเส้น การแต้มสีและการละเลงสี เพื่อนําไปสู่การวาดภาพ
10) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการทําสิ่งต่างๆเพื่อไปสู่การใช้ เครื่องมือง่าย ๆ และการพัฒนาทักษะในการสร้างงานฝีมือ
11) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเขย่าและโยกตัวไปสู่การ เต้นรํา
12) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการฮัมเพลงไปสู่การ ร้องเพลง
13) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้การได้ยินเน้ือเพลง เพื่อนําไปสู่การฟังเพลง
14) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ที่จะตระหนัก ถึงความต้องการของผู้อื่น เพื่อนําไปสู่การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
15) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการได้รับการดูแลเพื่อนําไปสู่ การดูแลตนเอง
16) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ท่ีจะเป็นสมาชิก ของบ้านหรือศูนย์เด็ก เพื่อนําไปสู่การเป็นสมาชิกของชุมชน
และ17) เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ส่ิงท่ีเป็น“ของฉัน” เพื่อ นําไปสู่การรู้สึกว่า “ฉันเป็นใคร”เด็กจะเรียนรู้จากการใช้ ประสารทสัมผัสท้ัง 5 โดยอาศัยประสบการณ์เดิมเพื่อจํา นํามาพัฒนาการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และนํามาปรับใช้ใน ชีวิตประจําวันได้