STEM Education

From Knowledge sharing space
Revision as of 23:38, 25 April 2018 by Benjawan (Talk | contribs)

Jump to: navigation, search

STEM Education กับทักษะในศตวรรษที่21

นักการศึกษาเชื่อว่า เด็กในศตวรรษที่ 21 ควรมีทักษะที่จำเป็นของพลเมืองในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย STEM Education มีความเกี่ยวข้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 เพราะ STEM Education เป็นการสอนที่เกี่ยวข้องกับทักษะเหล่านี้ ครูควรสอดแทรกทักษะต่างๆ เหล่านี้ในการสอนแบบ STEM Education ซึ่ง Partnership for the 21 Century Skills เป็นองค์กรความร่วมมือในการสร้างทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ บรรยายถึงการเป็นพลเมืองที่ดีของโลก ประกอบด้วยมิติใหญ่ 3 มิติ ได้แก่

1.การเตรียมนักเรียนทุกคนให้มีส่วนในการเป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพ (Prepare all students to participate effectively as citizens ) การสร้างนักเรียนที่มีประสิทธิภาพนี้ต้องให้ทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่ช่วยให้นักเรียนรู้ในการมีส่วนร่วมในสังคมและประชากรที่มีความกระตือรือร้น
2.ประชากรในอุดมคติจากมุมมองต่างๆของโลก (Reimagine citizenship from a global perspective) ทุกภาคส่วนของรัฐ และเอกชนควรช่วยกันขยายความคิด และสนับสนุนความคิดรวบยอดในการเตรียมความพร้อมของประชากรที่สะท้อนถึงแรงกดดันของโลก หรือความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่เกิดขึ้นในโลก สิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นใหม่ในโลกที่มีความท้าทายและมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น
3.หน้าที่ของพลเมืองในยุคดิจิทัล (Focus on digital citizenship) เนื้อหาในการเตรียมพลเมืองในยุคดิจิทัลควรจะเป็นเนื้อหาที่กว้างและลึกเพื่อที่สะท้อนความกว้างไกลของโลกดิจิทัล ซึ่งเด็กในปัจจุบันเป็นเด็กในยุคดิจิทัลที่รู้จักใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ (Partnerships for 21 Century Skills, 2009)
กรอบแนวคิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้กล่าวถึงสิ่งที่จำเป็นในการเรียนรู้ของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ที่ควรมีในการดำรงชีวิต ได้แก่ (วศิณีส์, 2560)
  • 1.สาระวิชาหลัก (Core Subjects) เรื่องที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ในการเรียนรู้และดำรงชีวิต (Century Themes) เน้นทักษะ 3 Rs คือ Reading (การอ่าน) การเขียน (Writing) คณิตศาสตร์ หรือการคิดเลข (Aritmathics) ประกอบด้วยวิชาต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียน ได้แก่ ภาษาแม่ ภาษาอังกฤษ การอ่านและการเขียนภาษาที่สำคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์ การปกครอง และหน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ซึ่งวิชาแกนหลักนี้ยังใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ เนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ที่สอดแทรกเรื่องที่จำเป็นในการเรียนรู้และการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (Century Themes) เข้าไปในวิชาหลัก ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy) ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
  • 2.ทักษะในการดำรงชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills ) โลกในปัจจุบันเต็มไปด้วยความซับซ้อนและการแข่งขันในการใช้ชีวิตและการทำงาน เด็กในศตวรรษที่ 21 จึงต้องพัฒนาทักษะทางความคิด ความรู้ และเพิ่มทักษะทางสังคมในการดำรงชีวิต ได้แก่ ความยืดหยุ่นและรู้จักปรับตัว ความริเริ่มและการนำพาตนเอง ทักษะทางสังคมและความเข้าใจวัฒนธรรมอื่น สร้างผลผลิตและรู้จักการพึ่งพา ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ
  • 3.ทักษะด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) คือ การสื่อสารทางข้อมูลด้วยการอ่านเขียน โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
  • 4.ทักษะการเรียนรู้และใช้นวัตกรรมใหม่ ( Learning and Information skills) เป็นการเรียนรู้ในการใช้ 3 Cs หรือเรียกว่าความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ (Creativity and Innovation) การคิดวิพากษ์วิจารณ์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Probiem Solving) การสื่อสารและการร่วมมือ (Communication and Collaboration)

แนวคิดทฤษฎีของสะเต็มศึกษา

หลักการจัดการเรียนการสอน STEM Education

  • 1) เน้นการบูรณาการความรู้ การบูรณาการตั้งแต่2วิชาขึ้นไป โดยครูเชื่องโยงการสอนหลายๆวิชาเข้าด้วยกันในการสอน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ซึ่งการสอนแบบนี้เรารียกว่า สหวิทยาการหรือ Interdisciplinaryการสอนแบบนี้จะช่วยให้นักเรียนเชื่องโยงความคิดรวบยอดกับความรู้ที่ได้รับโดยใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนใช้ความคิดในด้านต่างๆ เช่น สร้างสรรค์ และความคิดเพื่อแก้ปัญหา หรือคิดในสถานการณ์ที่ได้รับมอบหมาย
  • 2) การสร้างความสัมพันธ์คือการคิดว่าจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์อะไรต่อไป โดยการเชื่องโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับการนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์
  • 3)การเน้นทักษะของศตวรรษที่21เน้นที่เราจะหาความรู้ได้และใช้ความรู้ได้อย่างไร โดยการสอนสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาสื่อสารความรู้และการเรียนรู้แบบร่วมกัน เพื่อจะได้มีความรู้และความคิดในอนาคต
  • 4) สร้างการสอนที่ท้าทายความรู้ความสามารถตามวัยและระดับชั้น เน้นทักษะในศตวรรษที่21และความรู้ที่หลากหลายไม่ใช่แค่เนื้อหาที่เรียนเพียงอย่างเดียว
  • 5) รู้จักประยุกต์โดยผสมผสานในการเรียนการสอนแบบSTEMสามารถนำวิธีการสอนที่หลากหลายมาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอน เช่น ครูอาจใช้กระบวนการสอนแบบวิศวกรรมศาสตร์ ให้เด็กเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา และนำคุณลักษณะของการเรียนแบบโครงงานมาแระกอบสอนด้วย เพื่อให้เด็กเรียนรู้ในหัวข้อที่ตนเองแก้ปัญหาหรือสนใจให้เข้าใจได้ลึกลงไป (วศิณีส์, 2560)

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน STEM Education

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน STEMEducation มีหลากรูปแบบและหลายกระบวนการครูมีหน้าที่เลือกวิธีที่นำมาใช้ในการจัดการการสอนให้เข้ากับวัย เนื้อหา จุดประสงค์ในการเรียนรู้และผลที่ต้องการให้นักเรียนได้รับ โดยการนำมาตรฐานการศึกษาใช้ประกอบในการจัดการจัดการเรียนการสอนตามหัวข้อที่สอนครูอาจสอนตามหัวข้อโดยแยกตามแต่ละกระบวนการ หรือนำมาสอนร่วมกันทีละส่วนขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสามารถของครู บางโรงเรียนอาจกำหนดให้ครูใช้รูปแบบที่โรงเรียนกำหนด หรือบางโรงเรียนอาจให้โอกาสครูพัฒการสอนโดยเลือกแนวทางตามความสนใจ ความสามารถ ความเข้าใจ และความเหมาะสมรูปแบบการจัดการเรียนการสอนSTEM ได้แก่ Problem-Based Learning, Inquiry-Based Learning, Project-Based Lerning,และ 5Es, Constructivist และ Constructivismและ STEAM

STEAM Education

วศิณีส์ (2560) ได้กล่าวว่าในการสอน STEM และให้เป็น STEAM คือ การเติมศิลปะ หรือArtsลงไปใน STEM ครูอาจใช้ศิลปะในด้านต่าง ๆ เติมลงๆปใน STEM ซึ่งศิลปะอยู่ในกิจกรรมเรียนในแต่ละวันอยู่แล้ว แต่ครูเติมลงไปให้ชัดเจน ซึ่งศิลปะ ได้แก่

  • ดนตรี ได้แก่ ดนตรีต่างๆ การชื่นชมในดนตรี การใช้คอมพิวเตอร์สร้างดนตรี
  • ศิลปะ ได้แก่ การวาดภาพ การปั้น การแกะสลักการเย็บปักถักร้อย การใช้กระดาษในการสร้างสิ่งต่างๆ การชื่นชมศิลปะ การใช้คอมพิวเตอร์ในการวาดภาพ
  • การเต้น ได้แก่ การสอนเต้น เช่นบัลเลต์แจซ การเต้นร่วมสมัย หรือนาฏศิลป์ การออกแบบท่าเต้นการผลิต การชื่นชมการเต้น
  • การแสดง/ละครเวที ได้แก่ วิชาการแสดง การใช้เสียง ละครใบ้ ผลิตผลการแสดงและดนตรี บทเดิมและการปรับบท เทคโนโลยีในโรงละคร ละครหุ่น ฟิล์ม ได้แก่ การผลิตหนัง แก้หนัง วิดีโอ แอนิเมชัน
  • การเขียนอย่างสร้างสรรค์ ได้แก่ วรรณกรรม การอ่านกลอน การฟังอย่างชื่นชม การใช้เทคโนโลยี หรือแม้แต่งานสถาปัตยกรรม งานออกแบบสวน และงานภูมิสถาปัตย์ ก็นับว่าเป็นงานศิลปะเช่นกัน (Sousa and Pilecki, 2013)

ในการเรียนการสอนแบบSTEM มักจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบสิ่งต่างๆ การวาดภาพ การคิด การประดิษฐ์ การสร้างชิ้นงานซึ่งในกระบวนการเรียนรู้เหล่านั้นเชื่องโยงกับศิลปะในการออกแบบสิ่งต่างๆ เช่น นักเรียนออกแบบที่อยู่ให้กับสํตว์ต่างๆ เช่น ปลา ตัวบีเวอร์ นก หรือการออกแบบบ้าน หรือเครื่องให้อาหารปลาล้วนมีการวาดภาพ การประดิษฐ์เป็นการใช้ศิลปะผสมในเรียนการสอนแบบSTEM ดังนั้น STEAMEducation จึงเป็นการรวมวิชาศิลปะ(Art) เข้าไปใน STEAMEducation โดยครูสามารถใช้ศิลปะด้านต่างๆ ประกอบการเรียนการสอน เช่น ทัศนศิลป์ ดนตรี การเต้นหรือการแสดงก็ได้ การเรียนSTEAM ยังช่วยพัฒนาสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาให้กับผู้เรียนได้อีกด้วยSTEAM จึงเป็นที่นิยมใช้ในการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษา (วศิณีส์, 2560)

ในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือสาธารณรัฐเกาหลี STEAM Education ยังยังสามารถบูรณาการกับวิชาอื่นๆ เช่น วิชาสังคมศึกษา โดยการโยงเนื้อหาในการสืบค้นและการแก้ปัญหา เช่น เมื่อเด็กเรียนประวัติศาสตร์ไทย เรื่องคมนาคมในสมัยโบราณเป็นการคมนาคม โดยใช้เรือสำเภา ครูอาจใช้วิทยาศาสตร์เรื่องวัสดุที่ลอยและจม คณิตศาสตร์เรื่องการคำนวณน้ำหนักวิศกรรมศาสตร์ในเรื่องการออกแบบและเครื่องมือที่ใช้เพื่อการออกแบบ และเทคโนโลยีในการหาข้อมูลและการออกแบบ โดยให้นักเรียนคิดว่าในการเดินทางสมัยโบราณจะออกแบบเรืออย่างไรที่จะสามารถบรรจุสิ่งต่างๆและคนได้ มีรูปร่างและใช้วัสดุอะไรบ้าง แล้วให้นักเรียนแก้ปัญหาว่าให้สร้างเรือจากวัสดุอะไร ขนาดแค่ไหนที่บรรทุกไม้บล็อกได้ 1-5 อัน นักเรียนในชั้นเล็กๆ อาจคำนวณไม่เก่ง สามารถคิดแค่ขนาดในเรื่อง คณิตศาสตร์คือใหญ่และเล็ก แต่นักเรียนในชั้นอาจใช้การคำนวณเพื่อสร้างเรือให้บรรทุกไม้บล็อกได้โดยไม่จมว่าควรออกแบบให้รับน้ำหนักได้แค่ไหน ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเรียนต้องคิดว่าจะใช้วัสดุใดที่จะลอยน้ำได้ไม่จม แล้วใช้วิศวกรรมว่าจะใช้วัสดุอะไรที่จะประกอบให้เรือติดกัน แก้ปัญหาและพัฒนาผลงานให้ดีขึ้น ใช้ศิลปะวาดภาพและสร้างชิ้นงานออกมาให้สำเร็จออกแบบตกแต่งให้สวยงาม (วศิณีส์, 2560)


สาเหตุที่ควรนำศิลปะเข้ามาสอนร่วมกับSTEM

มีเหตุผลดังนี้

  • 1) ศิลปะเกี่ยวข้องกับสมองของเด็ก ในเด็กเล็กๆ เส้นใยในสมองจะเติบโตได้ดี กิจกรรมดนตรีจะช่วยในเรื่องประสาทสัมผัสและสร้างใยในสมองรวม
  • 2) ศิลปะช่วยพัฒนาสมองของเด็กตั้งแต่ยังเล็ก เช่น การรับรู้ด้านๆ ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ
  • 3) ศิลปะช่วยในเรื่องความจำระยะยาวจากงานวิจัยพบว่าศิลปะช่วยให้สมองสามารถเก็บข้อมูลได้เพิ่มขึ้นและทำให้มีความจำได้ยาวขึ้น
  • 4) ศิลปะช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์การสร้างผลงานทางศิลปะเป็นการแสดงออกในด้านความคิดสร้างสรรค์
  • 5) ศิลปะช่วยในด้านสังคมในโลกปัจจุบันใช้ Social media ในการติดต่อ สื่อสาร ซึ่งอาจใช้ศิลปะช่วยในการติดต่อสื่อสาร ในโลกเทคโนโลยี
  • 6) ศิลปะนำไปสู่วรรณกรรม ครูสามารถใช้การวาดภาพ การเขียน ดนตรี มาใช้ในการสอนSTEM
  • 7)ศิลปะลดความตึงเครียด ทำให้ใจสงบ
  • 8) ศิลปะทำให้การสอนน่าสนใจขึ้น ( Sousa and Pilecki, 2013)

เอกสารอ้างอิง

วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education(สะเต็มศึกษา). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.