STEM Education

From Knowledge sharing space
Revision as of 16:09, 24 April 2018 by Benjawan (Talk | contribs) (STEM Education กับทักษะในศตวรรษที่21)

Jump to: navigation, search

STEM Education กับทักษะในศตวรรษที่21

นักการศึกษาเชื่อว่า เด็กในศตวรรษที่ 21 ควรมีทักษะที่จำเป็นของพลเมืองในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย STEM Education มีความเกี่ยวข้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 เพราะ STEM Education เป็นการสอนที่เกี่ยวข้องกับทักษะเหล่านี้ ครูควรสอดแทรกทักษะต่างๆ เหล่านี้ในการสอนแบบ STEM Education ซึ่ง Partnership for the 21 Century Skills เป็นองค์กรความร่วมมือในการสร้างทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ บรรยายถึงการเป็นพลเมืองที่ดีของโลก ประกอบด้วยมิติใหญ่ 3 มิติ ได้แก่

1.การเตรียมนักเรียนทุกคนให้มีส่วนในการเป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพ (Prepare all students to participate effectively as citizens ) การสร้างนักเรียนที่มีประสิทธิภาพนี้ต้องให้ทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่ช่วยให้นักเรียนรู้ในการมีส่วนร่วมในสังคมและประชากรที่มีความกระตือรือร้น
2.ประชากรในอุดมคติจากมุมมองต่างๆของโลก (Reimagine citizenship from a global perspective) ทุกภาคส่วนของรัฐ และเอกชนควรช่วยกันขยายความคิด และสนับสนุนความคิดรวบยอดในการเตรียมความพร้อมของประชากรที่สะท้อนถึงแรงกดดันของโลก หรือความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่เกิดขึ้นในโลก สิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นใหม่ในโลกที่มีความท้าทายและมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น
3.หน้าที่ของพลเมืองในยุคดิจิทัล (Focus on digital citizenship) เนื้อหาในการเตรียมพลเมืองในยุคดิจิทัลควรจะเป็นเนื้อหาที่กว้างและลึกเพื่อที่สะท้อนความกว้างไกลของโลกดิจิทัล ซึ่งเด็กในปัจจุบันเป็นเด็กในยุคดิจิทัลที่รู้จักใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ (Partnerships for 21 Century Skills, 2009)
กรอบแนวคิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้กล่าวถึงสิ่งที่จำเป็นในการเรียนรู้ของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ที่ควรมีในการดำรงชีวิต (วศิณีส์, 2560) ได้แก่
  • 1.สาระวิชาหลัก (Core Subjects) เรื่องที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ในการเรียนรู้และดำรงชีวิต (Century Themes) เน้นทักษะ 3 Rs คือ Reading (การอ่าน) การเขียน (Writing) คณิตศาสตร์ หรือการคิดเลข (Aritmathics) ประกอบด้วยวิชาต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียน ได้แก่ ภาษาแม่ ภาษาอังกฤษ การอ่านและการเขียนภาษาที่สำคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์ การปกครอง และหน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ซึ่งวิชาแกนหลักนี้ยังใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ เนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ที่สอดแทรกเรื่องที่จำเป็นในการเรียนรู้และการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (Century Themes) เข้าไปในวิชาหลัก ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy) ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
  • 2.ทักษะในการดำรงชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills ) โลกในปัจจุบันเต็มไปด้วยความซับซ้อนและการแข่งขันในการใช้ชีวิตและการทำงาน เด็กในศตวรรษที่ 21 จึงต้องพัฒนาทักษะทางความคิด ความรู้ และเพิ่มทักษะทางสังคมในการดำรงชีวิต ได้แก่ ความยืดหยุ่นและรู้จักปรับตัว ความริเริ่มและการนำพาตนเอง ทักษะทางสังคมและความเข้าใจวัฒนธรรมอื่น สร้างผลผลิตและรู้จักการพึ่งพา ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ

3.ทักษะด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) คือ การสื่อสารทางข้อมูลด้วยการอ่านเขียน โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร 4.ทักษะการเรียนรู้และใช้นวัตกรรมใหม่ ( Learning and Information skills) เป็นการเรียนรู้ในการใช้ 3 Cs หรือเรียกว่าความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ (Creativity and Innovation) การคิดวิพากษ์วิจารณ์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Probiem Solving) การสื่อสารและการร่วมมือ (Communication and Collaboration) (Partnerships for 21 Century Skills, 2009)

แนวคิดทฤษฎีของสะเต็มศึกษา

การจัดการเรียนการสอน STEM Education รูปแบบการจัดการเรียนการสอน STEM Education


STEAM Education