การสร้างองค์ความรู้(Constructivist)
ความหมาย
การสร้างองค์ความรู้ (Constructivist) เน้นความเข้าใจในการสอนของครูที่นำทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้มาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนมากกว่าการเน้นว่าครูจะสอนอย่างไร หรือจะทำอย่างไรให้การสอนนี้เหมาะสมกับเด็กทุกคนในทุกห้องเรียน แต่การสร้างองค์ความรู้ควรคำนึงถึงความรู้ของเด็กแต่ละคนในแต่ละกลุ่ม ในห้องเรียนให้เรียนให้ปฏิสัมพันธ์กับทั้งคนและสิ่งของ(Branscombe,Burcham & others 2014, อ้างถึงใน วศิณีส์(2560)) DeVries,Zan et al. (2002) ได้กล่าวถึงทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้นำมาจากงานวิจัยของเพียเจต์ (Piaget)ที่แสดงให้เห็นว่า เด็กกระตือรือร้นที่จะนำประสบการณ์จากทางร่างกายและสิ่งรอบตัวเด็กในโลก แล้วสร้างองค์ความรู้จากความรู้ สติปัญญาและจริยธรรม ซึ่งแนวทางที่จะช่วยสนับสนุนให้เด็กเกิดองค์ความรู้คือ ใช้สิ่งที่สนใจสร้างแรงบัลดาลใจในการการทดลองอย่างกระตือรือร้นที่จะลองผิดลองถูก มีการร่วมมือระหว่างเด็กกับเด็กและเด็กกับผู้ใหญ่ สรุปคือ ใช้ความสนใจในการลองและความร่วมมือกัน
หลักการจัดการเรียนการสอน
วศิณีส์ (2560) ได้กล่าวถึงหลักการจัดการเรียการสอนไว้ด้วยกัน 5ประการคือ
- 1)การสร้างความร่วมมือกัน ซึ่งการสอนแบบการสร้างองค์ความรู้มีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาการคิดได้ด้วยตนเองของเด็กในด้านจริยจริยธรรม ให้เด็กได้คิดเอง เพราะมีจริยธรรมในตนเอง ไม่ใช่คิดได้เพราะต้องทำตามกฎระเบียบในสังคม
- 2)การใช้ความสนใจของเด็ก ครูควรสังเกตว่าเด็กสนใจในด้านใด แล้วนำมาเสนอกิจกรรมชักจูงให้เด็กได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้นหรือActive learning แล้วให้โอกาศเด็กได้เลือกทำในสิ่งที่เด็กสนใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ของเด็กๆ
- 3)การสอนโดยนำความรู้มาเกี่ยวข้อง ได้แก่ความรู้ที่เกี่ยวกับร่างกาย(Physical Knowledge) หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการสังเกต วัตถุที่กระทำปฏิกิริยา ความรู้ทางด้านตรรกะ คณิตศาสตร์ (Logico-Mathematical Knowledge) หมายถึง ความรู้ทางด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ จากการสร้างองค์ความรู้ที่เห็นการกระทำกับวัตถุ และความรู้ในแบบที่ไม่มีกฏเกณฑ์ (Arbitrary Conventional Knowledge) เป็นความรู้ ที่ได้รับจากการเชื่อมโยงความรู้กับคนและสิ่งต่างๆ เช่น ความรู้ในเรื่องชื่อ และความคิดรอบยอดในเรื่องต่างๆ
- 4)การเลือกเนื้อหาที่ท้าทายในการเรียนของเด็ก เนื้อหาเพื่อการสืบค้น เหมาะกับความสามารถทางสติปํญญาของเด็ก เป็นสิ่งที่เด็กสงสัยใคร่รู้และนำไปสู่การหยั่งรู้และตระหนักในการเรียน
- 5)สนับสนุนการมีเหตุผลของเด็ก เพื่อดูว่าเด็กคิดอย่างไร มีเหตุผลอะไร
Constructivist เป็นการเรียนที่แพร่หลายและนิยมใช้สอนเด็กตั้งแต่อนุบาล เพราะเป็นการเขียนแบบสร้างองค์ความรู้ โดยผู้เรียนเป็นผู้รับประสบการณ์ นำประสบการณ์ความรู้เดิมปรับให้เข้ากับความรู้ที่ได้รับเป็นการสร้างองค์ความรู้ของเด็กเอง แต่ในขณะที่Constructionism เป็นการสร้างองค์ความรู้ของเด็กเองจากการเรียนรู้ด้วยตนเองในการลงมือทำกิจกรรมต่างๆ สร้างสรรค์ผ่านวัสดุอุปกรณ์สิ่งแวดล้อมต่างๆโดยประสบการณ์ความรู้ใหม่และประสบการณ์การความรู้เดิมมาผสมผสานและก่อให้เกิดองค์ความรู้ของเด็กเองเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญ เด็กเลือกที่จะเรียนรู้ตามความสนใจของตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ซึ่งทั้ง2 กระบวนการใช้การซึมซับประสบการณ์ความรู้ใหม่(Assimilation) และความปรับให้เข้ากับประสบการณ์ความรู้เดิม(Accommodation) และเกิดความสมดุลคือ (Equilibrium) ในConstructivist เกิดเป็นองค์ความรู้ของเด็ก แต่ Constructionism เรียกว่า Powerful learning คือการเรียนรู้มีการซึมซับและปรับแต่งอยู่ตลอดเวลา
- การสร้างองค์ความรู้ มีหลักการ 4 ประการ คือ
- 1)Explore หรือการสำรวจ ค้นหา เพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งใหม่ๆ
- 2)Experiment หรือการลองเพื่อหาประสบการณ์ ลองผิดลองถูก เรียนรู้สิ่งนั้นว่าเป็นอย่างไร ปรับให้เข้ากับความรู้ใหม่
- 3)Learning by doing หรือการเรียนรู้จากการลงมือทำสิ่งต่างๆ เป็นการลงมือปฏิบัติและเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม เป็นการซึมซับความรู้และปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
- 4) Doing by learning หรือการลงมือทำสิ่งต่างๆให้เกิดการเรียนรู้ ซึมซับความรู้และประสบการณ์ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เป็นพฤติกรรมต่อไป เป็นการแก้ปัญหาและปรับตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี, 2015 อ้างถึงใน วศิณีส์ (2560))
เอกสารอ้างอิง
วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education (สะเต็มศึกษา). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.