Difference between revisions of "ทักษะในศตวรรษที่21"

From Knowledge sharing space
Jump to: navigation, search
(กรอบแนวคิดทักษะในศตวรรษที่ 21)
(กรอบแนวคิดทักษะในศตวรรษที่ 21)
Line 7: Line 7:
 
*3.ทักษะด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills)  คือ การสื่อสารทางข้อมูลด้วยการอ่านเขียน โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
 
*3.ทักษะด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills)  คือ การสื่อสารทางข้อมูลด้วยการอ่านเขียน โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
 
*4.ทักษะการเรียนรู้และใช้นวัตกรรมใหม่ ( Learning and Information skills) เป็นการเรียนรู้ในการใช้ 3 Cs หรือเรียกว่าความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ (Creativity and Innovation) การคิดวิพากษ์วิจารณ์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Probiem Solving) การสื่อสารและการร่วมมือ (Communication and Collaboration) (Partnerships for 21 Century Skills, 2009)
 
*4.ทักษะการเรียนรู้และใช้นวัตกรรมใหม่ ( Learning and Information skills) เป็นการเรียนรู้ในการใช้ 3 Cs หรือเรียกว่าความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ (Creativity and Innovation) การคิดวิพากษ์วิจารณ์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Probiem Solving) การสื่อสารและการร่วมมือ (Communication and Collaboration) (Partnerships for 21 Century Skills, 2009)
 +
 +
[[STEM Education]]
  
 
== ความหมาย ==
 
== ความหมาย ==

Revision as of 16:00, 24 April 2018

กรอบแนวคิดทักษะในศตวรรษที่ 21

ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง (www.moe.go.th, 2557) โดยภาวะความเป็นจริงในยุคการทำงานนั้น มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง โจทย์สำคัญของการศึกษาปัจจุบัน จึงอยู่ที่ว่า “จะสร้างการเรียนรู้อย่างไรให้สอดรับกับทักษะที่ตลาดโลกต้องการ” ซึ่ง ทักษะแรงงานที่ตลาดโลกต้องการ ทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้ระบุว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21         หน่วยงานเหล่านี้ได้เสนอกรอบแนวคิดทักษะในศตวรรษที่21 ของผุ้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ควรมีในการดำรงชีวิต ได้แก่ (Partnerships for 21 Century Skills, 2009)

  • 1.สาระวิชาหลัก (Core Subjects) เรื่องที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ในการเรียนรู้และดำรงชีวิต (Century Themes) เน้นทักษะ 3 Rs คือ Reading (การอ่าน) การเขียน (Writing) คณิตศาสตร์ หรือการคิดเลข (Aritmathics) ประกอบด้วยวิชาต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียน ได้แก่ ภาษาแม่ ภาษาอังกฤษ การอ่านและการเขียนภาษาที่สำคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์ การปกครอง และหน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ซึ่งวิชาแกนหลักนี้ยังใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ เนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ที่สอดแทรกเรื่องที่จำเป็นในการเรียนรู้และการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (Century Themes) เข้าไปในวิชาหลัก ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy) ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
  • 2.ทักษะในการดำรงชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills ) โลกในปัจจุบันเต็มไปด้วยความซับซ้อนและการแข่งขันในการใช้ชีวิตและการทำงาน เด็กในศตวรรษที่ 21 จึงต้องพัฒนาทักษะทางความคิด ความรู้ และเพิ่มทักษะทางสังคมในการดำรงชีวิต ได้แก่ ความยืดหยุ่นและรู้จักปรับตัว ความริเริ่มและการนำพาตนเอง ทักษะทางสังคมและความเข้าใจวัฒนธรรมอื่น สร้างผลผลิตและรู้จักการพึ่งพา ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ
  • 3.ทักษะด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) คือ การสื่อสารทางข้อมูลด้วยการอ่านเขียน โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
  • 4.ทักษะการเรียนรู้และใช้นวัตกรรมใหม่ ( Learning and Information skills) เป็นการเรียนรู้ในการใช้ 3 Cs หรือเรียกว่าความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ (Creativity and Innovation) การคิดวิพากษ์วิจารณ์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Probiem Solving) การสื่อสารและการร่วมมือ (Communication and Collaboration) (Partnerships for 21 Century Skills, 2009)

STEM Education

ความหมาย

คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ราชบัณฑิตยสถานได้จัดทำคำอธิบายไว้ดังนี้ ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ หมายถึง กลุ่มความรู้ ทักษะ และนิสัยการทำงาน ที่เชื่อว่ามีความสำคัญ ยิ่งต่อความสาเร็จในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทักษะดังกล่าวนี้เป็นผลจากการพัฒนากรอบความคิดการเรียนรู้ศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Learning Framework) โดยภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เบอร์นีทริลลิง และชาลส์แฟเดล (Bernie Trilling & Charles Fadel) ได้เสนอในหนังสือ 21st Century Skills : Learning for Life in Our Times (2009) เป็นสมการดังนี้

3Rs x 7Cs = ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
โดย 3Rs ประกอบด้วย ทักษะการรู้หนังสือ ได้แก่ Reading (ทักษะการอ่าน) Writing (ทักษะการเขียน) และ Arithmetic (ทักษะเลขคณิต)
ส่วน 7Cs ประกอบด้วย ทักษะ 7 ด้าน คือ
  • (1) ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (critical thinking and problem solving)
  • (2) ด้านการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ (communications, information, media literacy) leadership)
  • (3) ด้านความร่วมมือ การทางานเป็นทีมและภาวะผู้นา (collaboration, teamwork and
  • (4) ด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (creativity and innovation)
  • (5) ด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (computing and ICT literacy
  • (6) ด้านการทางาน การเรียนรู้ และการพึ่งตนเอง (career and learning self–reliance)
  • (7) ด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (cross–cultural understanding)

นอกจากนี้ บรรจง (2556) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการจัด การศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนเรียนเกิด “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21” ( 21st Century Skills) โดยเสนอแนะว่า ครูต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวก ในการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ จากการเรียนแบบลงมือทาแล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเองการเรียนรู้แบบนี้เรียกว่าPBL (Project-Based Learning)สาระวิชาก็มีความสาคัญแต่ไม่เพียงพอสาหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุค ศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชาควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์โดยครูช่วยแนะนา และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง ได้สอดคล้องกับสุปรียา(2555) ได้กล่าวว่าเมื่อมีการเรียนรู้ในศตวรรษใหม่มีคำที่สำคัญที่น่าสนใจคือคำว่า “Teach Less”และ“Learn More” โดยความหมายแล้วหมายความว่าการเปลี่ยนวิธีการศึกษาด้วยการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายจาก“ความรู้ (knowledge)” ไปสู่“ทักษะ(skill or practices)”คำว่า“Teacher”ที่แปลว่า“ครู”นั้น ถือว่าเป็นคำเก่าไปแล้วนั้นจะถูกให้ความหมายใหม่ด้วยการเปลี่ยนมาเป็นเพียง Facilitator ผู้อำนวยการเรียนรู้ หรือ Coach ผู้ชี้แนะ ซึ่งเป็น การเปลี่ยนแปลงจากการศึกษาหรือการเรียนรู้ที่มี ครู เป็นหลักไปเป็น นักเรียน เป็นหลักดังนั้นการเรียนรู้จึง จะต้องเรียนให้เลยจากเนื้อหาหลายส่วนก็ไม่จาเป็นต้องสอนผู้เรียนซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เอง แต่ต้องสร้าง ทักษะและเจตคติ กับตัวของผู้เรียนขึ้นมาให้ได้การเรียนรู้ในศตวรรษที่21จึงเป็นการเรียนรู้ร่วมกันมากกว่า การเรียนรู้แบบตัวใครตัวมัน (Individual Learning) ทักษะทั้งหมดนี้ ไม่ใช่แค่การเรียนในรั้วสถาบันการศึกษา แต่ต้องสร้างให้เป็นวัฒนธรรม “เรียนรู้ตลอดชีวิต” ที่สังคมไทยทุกภาคส่วนควรปรับตัว

ดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวเพิ่มเติมได้ที่

การศึกษาในศตวรรษที่21
ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. การเรียนรู้ในศตวรรษที่21. สืบค้นจากhttp://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=38880&Key=news_research
สุปรียา ศิริพัฒนกุลขจร. (2555). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The 21st Century Learning). The NAS Magazine มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี. 2, (18-20).