Difference between revisions of "เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้"

From Knowledge sharing space
Jump to: navigation, search
(ความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้)
(ความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้)
Line 2: Line 2:
 
== ความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ==
 
== ความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ==
  
 +
พิชิต ฤทธิ์จรูญ ได้ระบุถึงความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน และครูผู้สอนไว้มีดังนี้
 
'''ช่วยลดปัญหาในการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน'''
 
'''ช่วยลดปัญหาในการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน'''
 
    
 
    

Revision as of 13:49, 3 October 2018

ความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้

พิชิต ฤทธิ์จรูญ ได้ระบุถึงความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน และครูผู้สอนไว้มีดังนี้ ช่วยลดปัญหาในการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ในการจัดการเรียนรู้ครูต้องกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้หรือทักษะที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนรู้ เมื่อครูได้จัดการเรียนรู้แล้วอาจพบว่าผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งแสดงว่าได้เกิดปัญหาการเรียนรู้แล้ว ปัญหาการเรียนรู้ดังกล่าวนี้จะยังคงมีอยู่ต่อไปและส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน หากครูยังไม่ได้คิดหาวิธีการแก้ไข แต่ถ้าครูมีความปรารถนาดีต่อผู้เรียนในฐานะลูกศิษย์ และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อคุณภาพของผู้เรียน แล้วคิดหาวิธีการหรือใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนก็จะช่วยให้ปัญหาลดลงหรือหมดไป ผู้เรียนก็จะมีคุณภาพ การดำเนินงานของครูในลักษณะดังกล่าวถือว่าครูได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แล้ว ซึ่งช่วยขจัดปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้

ได้สื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

ในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียน ครูได้มีโอกาสคิดหาวิธีการหรือใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประเภทต่างๆ สำหรับแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ถ้าวิธีการหรือนวัตกรรมดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาการเรียนรู้ให้มีคุณภาพได้ถือว่าวิธีการหรือนวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อครูที่จะได้เรียนรู้ ดูเป็นแบบอย่าง และนำไปปรับใช้หรือเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้ การวิจัยนี้จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ได้สื่อ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบวิชาชีพครู

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้

จุดเริ่มต้นของการวิจัย

ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการวิจัยเชิงวิชาการ