Difference between revisions of "ทักษะชีวิต (Life Skills)"
(→ความสำคัญของทักษะชีวิต) |
|||
Line 3: | Line 3: | ||
== ความสำคัญของทักษะชีวิต == | == ความสำคัญของทักษะชีวิต == | ||
− | ความล้ำสมัยของเทคโนโลยี ส่งผลต่อความรวดเร็วในการรับข้อมูลและการสื่อสาร ทำให้สังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรมตลอดจนความคิดและความเชื่อของคนในสังคมจำเป็นต้องตั้งรับการมีวิถีชีวิตยุคใหม่อย่างมีวิจารณญานด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากนี้เอง ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กวัยเรียน ทั้งการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการศึกษาต่อของบุตรหลาน ประกอบกับการเผชิญกับสิ่งยั่วยุหรือตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต่างๆ รอบตัว ก่อให้เกิดปัญหาต่อเด็กและเยาวชนอย่างมาก ทั้งปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาความรุนแรง ปัญหาที่มาจากสิ่งยั่วยุ เช่น ปัญหาเด็กติดเกมส์ ปัญหายาเสพติด ปัญหาจากพฤติกรรมทางเพศ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข หรือเตรียมการปกป้องหรือสร้างภูมิคุ้มกันโดยเฉพาเด็กและเยาวชนที่ไม่มีความคุ้มกันทางสังคม และทักษะชีวิต ส่งผลให้เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว อาจเป็นคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต มีปัญหาทางอารมณ์ จิตใจ และมักจะมีความขัดแย้งในชีวิตได้ง่าย และส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งจะเป็นภาระในสังคม ดังนั้น โงเรียนและครูจึงมีความสำคัญต่อการการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือพัฒนาทักษะชีวิตในเด็กนักเรียน ทั้งนี้โดยการจดกิจกรรมในโรงเรียนและการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตเป็นภูมิคุ้มกัน ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ตั้งรับต่อการก้าวรุกทางสังคมได้อย่างรู้เท่าทัน | + | ความล้ำสมัยของเทคโนโลยี ส่งผลต่อความรวดเร็วในการรับข้อมูลและการสื่อสาร ทำให้สังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรมตลอดจนความคิดและความเชื่อของคนในสังคมจำเป็นต้องตั้งรับการมีวิถีชีวิตยุคใหม่อย่างมีวิจารณญานด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากนี้เอง ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กวัยเรียน ทั้งการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการศึกษาต่อของบุตรหลาน ประกอบกับการเผชิญกับสิ่งยั่วยุหรือตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต่างๆ รอบตัว ก่อให้เกิดปัญหาต่อเด็กและเยาวชนอย่างมาก ทั้งปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาความรุนแรง ปัญหาที่มาจากสิ่งยั่วยุ เช่น ปัญหาเด็กติดเกมส์ ปัญหายาเสพติด ปัญหาจากพฤติกรรมทางเพศ เป็นต้น |
+ | |||
+ | ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข หรือเตรียมการปกป้องหรือสร้างภูมิคุ้มกันโดยเฉพาเด็กและเยาวชนที่ไม่มีความคุ้มกันทางสังคม และทักษะชีวิต ส่งผลให้เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว อาจเป็นคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต มีปัญหาทางอารมณ์ จิตใจ และมักจะมีความขัดแย้งในชีวิตได้ง่าย และส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งจะเป็นภาระในสังคม ดังนั้น โงเรียนและครูจึงมีความสำคัญต่อการการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือพัฒนาทักษะชีวิตในเด็กนักเรียน ทั้งนี้โดยการจดกิจกรรมในโรงเรียนและการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตเป็นภูมิคุ้มกัน ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ตั้งรับต่อการก้าวรุกทางสังคมได้อย่างรู้เท่าทัน | ||
== ความหมายของทักษะชีวิต == | == ความหมายของทักษะชีวิต == |
Revision as of 12:56, 10 August 2018
การเรียนรู้ทักษะชีวิตเป็นส่ิงสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กเพื่อให้อยู่ร่วมกับความเสี่ยงและความท้าทายในยุคปัจจุบันได้ รวมถึงทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข การเรียนรู้ทักษะชีวิตเป็นส่ิงสำคัญที่ทำให้เกิดคุณภาพการศึกษา ด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยและมูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานทักษะชีวิตของกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำเนื้อหาที่เกี่ยวกับทักษะชีวิตเพื่อให้ครูนำแนวคิดและแนวทางการทำกิจกรรมไปใช้สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่21ให้แก่ผู้เรียน ดังมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
Contents
ความสำคัญของทักษะชีวิต
ความล้ำสมัยของเทคโนโลยี ส่งผลต่อความรวดเร็วในการรับข้อมูลและการสื่อสาร ทำให้สังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรมตลอดจนความคิดและความเชื่อของคนในสังคมจำเป็นต้องตั้งรับการมีวิถีชีวิตยุคใหม่อย่างมีวิจารณญานด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากนี้เอง ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กวัยเรียน ทั้งการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการศึกษาต่อของบุตรหลาน ประกอบกับการเผชิญกับสิ่งยั่วยุหรือตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต่างๆ รอบตัว ก่อให้เกิดปัญหาต่อเด็กและเยาวชนอย่างมาก ทั้งปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาความรุนแรง ปัญหาที่มาจากสิ่งยั่วยุ เช่น ปัญหาเด็กติดเกมส์ ปัญหายาเสพติด ปัญหาจากพฤติกรรมทางเพศ เป็นต้น
ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข หรือเตรียมการปกป้องหรือสร้างภูมิคุ้มกันโดยเฉพาเด็กและเยาวชนที่ไม่มีความคุ้มกันทางสังคม และทักษะชีวิต ส่งผลให้เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว อาจเป็นคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต มีปัญหาทางอารมณ์ จิตใจ และมักจะมีความขัดแย้งในชีวิตได้ง่าย และส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งจะเป็นภาระในสังคม ดังนั้น โงเรียนและครูจึงมีความสำคัญต่อการการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือพัฒนาทักษะชีวิตในเด็กนักเรียน ทั้งนี้โดยการจดกิจกรรมในโรงเรียนและการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตเป็นภูมิคุ้มกัน ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ตั้งรับต่อการก้าวรุกทางสังคมได้อย่างรู้เท่าทัน
ความหมายของทักษะชีวิต
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้คำจำกัดความของคำว่า “ทักษะชีวิต” (Life Skills) หมายถึง “ความสามารถของบุคคลที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆ รอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบันและเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต”
ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ
1. การตระหนักรู้และเห็นถึงคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
การตระหนักรู้และเห็นถึงคุณค่าในตนเองและผู้อื่น หมายถึง การรู้ความถนัด ความสามารถ รู้จุดเด่นจุดด้อยของตนเอง เข้าใจความแตกต่างของแต่ละ จักตนเอง ยอมรับ เห็นคุณค่าและ ภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น มีเป้าหมายในชีวิต และมีความรับผิดชอบ
2. การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การแยกแยะข้อมูลข่าวสารปัญหาและสถานการณ์รอบตัว วิพากษ์วิจารณ์และประเมินสถานการณ์รอบตัวด้วยหลักเหตุผลและข้อมูลที่ถูกต้อง รับรู้ปัญหา สาเหตุของปัญหา หาทางเลือกและตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆอย่างสร้างสรรค์
3. การจัดการกับอารมณ์และความเครียด
การจัดการกับอารมณ์และความเครียด หมายถึง ความเข้าใจและรู้เท่าทันภาวะอารมณ์ของบุคคลรู้สาเหตุของความเครียด รู้วิธีการควบคุมอารมณ์และความเครียด รู้วิธีผ่อนคลาย หลีกเลี่ยง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์ไม่พึงประสงค์ไปในทางที่ดี
4. การสร้างความสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
การสร้างความสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น หมายถึง การเข้าใจมุมมอง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่นใช้ภาษาพูดและภาษากายเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิดของตนเอง รับรู้ความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของผู้อื่น วางตัวได้ถูกต้องเหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ใช้การสื่อสารที่สร้างสัมพันธภาพที่ดีสร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
สำหรับความเชื่อมโยงของทักษะชีวิตทั้ง 4 องค์ประกอบนั้น หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่า องค์ประกอบของทักษะชีวิตล้วนเชื่อมโยงกัน เช่น การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นก็ย่อมทำให้เด็กสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลรอบข้างได้ เพราะเด็กเข้าใจตนเองและผู้อื่น เห็นคุณค่าและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล การอยู่ร่วมกับผู้อื่นสามารถเป็นไปด้วยความเข้าใจและเปิดกว้าง ในขณะที่องค์ประกอบการจัดการกับอารมณ์และความเครียด ก็ต้องเริ่มด้วยการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง ทั้งในด้านอารมณ์และความคิด จากนั้นก็อาศัยทักษะในองค์ประกอบ การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความเข้าใจในตัวเอง ผู้อื่น และสถานการณ์ คิดไตร่ตรองทางเลือกแต่ละทางเลือก เพื่อหาทางการจัดการกับอารมณ์ของตนเองและสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้อย่างเหมาะสม ซึ่งองค์ประกอบทักษะชีวิตที่เป็นแกนหลักของการเรียนรู้ คือ การวิเคราะห์ วิจารณ์และความคิดสร้างสรรค์
การพัฒนาทักษะชีวิตในโรงเรียนผ่านกิจกรรม
1. เกิดเองตามธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้ที่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และการมีแบบอย่างที่ดีต่อการเรียนรู้ ตามธรรมชาติจะไม่มีทิศทางและเวลาที่แน่นอน บางครั้งกว่าจะรู้ ก็อาจจะสายเกินไป
2. การสร้างและพัฒนาโดยกระบวนการเรียนการสอน เป็นการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันในกลุ่ม ผ่านกิจกรรมรูปแบบต่างๆได้ลงมือปฏิบัติ ได้ร่วมคิด อภิปราย แสดงความคิดเห็น ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ได้สะท้อน ความรู้สึกนึกคิด มุมมอง เชื่อมโยงสู่วิถีของตนเอง เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และปรับใช้กับชีวิต
การพัฒนาทักษะชีวิตจึงเป็นการพัฒนาความสามารถจากภายในตัวของผู้เรียน เพื่อให้มีความเข้มแข็งในการจัดการกับปัญหาที่อาจเผชิญในอนาคต และเป็นความสามารถในการปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้อยู่ร่วมกับสังคมไทยได้อย่างเป็นสุข ดังนั้น การพัฒนาทักษะชีวิตไม่อาจเกิดขึ้นได้ในวันเดียว แต่ต้องอาศัยระยะเวลาความถี่ในการจัดกิจกรรมและความต่อเนื่องในการพัฒนา ซึ่งต้องสอดคล้องกับพัฒนาการตามช่วงวัยของผู้เรียนอีก โดยสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดจุดเน้นทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นตัวอย่างในการพัฒนาทักษะชีวิตให้แก่ผู้เรียน เป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับช่วงวัย
กิจกรรมการสร้างและพัฒนาทักษะชีวิต
กิจกรรมเป็นส่วนสำคัญที่จะขับเคลื่อนแนวคิดสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น การจะสร้างและพัฒนาทักษะชีวิตจึงต้องเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child-Centered Learning) ผู้เรียนเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ ซึ่งลักษณะของกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพในการสร้างและพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียน มีดังนี้
1. กิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมค้นพบความรู้หรือสร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะชีวิตในด้านการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เช่น กิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ข่าวสาร เหตุการณ์ สถานการณ์หรือประสบการณ์ของผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้สืบค้นหรือศึกษาค้นคว้าคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากสื่อต่างๆ และแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาได้สะท้อนตนเองเชื่อมโยงกับชีวิตแลการดำเนินชีวิตในอนาคต
2. กิจกรรมที่ผู้เรียนรู้ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้ลงมือกระทำกิจกรรมลักษณะต่างๆได้ประยุกต์ใช้ความรู้ เช่นกิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมค่าย กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมชมรม/ชุมนุม กิจกรรมโครงการ/โครงการ กิจกรรมจิตอาสา เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะชีวิต ดังต่อไปนี้
2.1การได้เสริมสร้างสัมพันธภาพและใช้ทักษะการสื่อสาร ได้ฝึกจัดการกับอารมณ์และความเครียดของตนเอง
2.2การได้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทำให้เข้าใจผู้อื่น นำไปสู่การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นรู้จักไตร่ตรองทำความเข้าใจและตรวจสอบตนเองทำให้เข้าใจตนเองและเห็นใจผู้อื่น
2.3การได้รับการยอมรับจากกลุ่มได้แสดงออกด้านความคิด การพูดและการทำงานมีความสำเร็จทำให้ได้รับคำชม เกิดเป็นความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเอง นำไปสู่ความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม
3. กิจกรรมการบูรณาการการเรียนรู้ทักษะชีวิตในวิถีการเรียนรู้ปกติในรายวิชา ด้วยคำถามที่กระตุ้นกระบวนการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ และ อาจใช้ชุดคำถาม “R-C-A” หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมการเรียนรู้รายครั้งหรือรายกิจกรรม โดยวิธี 3.1 กำหนดวัตถุประสงค์ทักษะชีวิตไว้ในแผนการสอน ออกแบบการเรียนรู้ 3.2 กำหนดคำถามนำไปสู่ทักษะชีวิตที่ต้องการเสริมสร้างหรืออาจจะสังเกตพฤติกรรมในขณะผู้เรียนร่วมกิจกรรม แล้วกำหนดคำถามที่จะนำไปสู่คำตอบที่สะท้อนให้ผู้เรียนฉุกใจคิดและปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ผู้สอนต้องการแก้ไข
การพัฒนาทักษะชีวิตผ่านกระบวนการ “R-C-A”
กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่น การกีฬาและการมรส่วนร่วมตามแนวคิดของมูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์นี้ดำเนินการตามคู่มือการออกแบบการเรียนการสอนของ David E.Kolb นักทฤษฎีด้านการศึกษาชาวอเมริกันซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาทักษะชีวิต เป็นกิจกรรมกระบวนการที่อาศัยเทคนิคการเรียนการสอน มีกติกามีลำดับขั้นตอนและมีข้อคิดที่สอดคล้องวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ มีการใช้ประเด็นคำถามสำคัญให้ผู้เรียนได้อภิปรายแสดงความรู้สึกนึกคิดและการประยุกต์ ความคิดอย่างมีประสิทธิภาพหลังสิ้นสุดการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ด้วยประเด็นคำถามสะท้อน คิดเชื่อมโยง การปรับใช้ในการสถานการณ์ใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้บทเรียนสำคัญ ที่จะพัฒนาทักษะชีวิตให้ผู้เรียนได้ตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น รู้จักการคิดวิเคราะห์ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการสะท้อนด้วยชุดคำถาม “R-C-A” ซึ่งเป็นกลยุทธในการเรียนรู้ที่จะช่วยให้นักเรียนสร้างกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ ผ่านการสะท้อนและบทสนทนากับเพื่อนและบุคคลอื่น กล่าวคือ
R: Reflect (สะท้อน) เป็นคำถามผู้ให้ผู้เรียนสะท้อนความรู้สึกหรือมุมมองของตน เป็นการถามถึงสิ่งที่ผู้เรียนสังเกตเห็น มองเห็น หรือสัมผัส หรือถามถึงความรู้สึกของผู้เรียนที่เกิดขึ้นในขณะร่วมกิจกรรมการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ในชั่วโมงนั้น ผู้เรียนจะพิจารณาว่า “ฉันเพิ่งได้เรียนรู้อะไร” “มีสิ่งใดเกิดขึ้นบ้างภายนอกตัวฉันและในตัวฉัน” ผู้เรียนจะจดจำประสบการณ์และทำให้มันเป็นรูปร่างขึ้นมา เช่น ผู้เรียนอาจจะเรียงลำดับและปะติดปะต่อเหตุการณ์ให้เป็นลำดับเหตุการณ์อย่างง่ายๆ แสดงความสัมพันธ์ของเหตุและผล หรือแสดงให้เห็นปัญหาและการแก้ปัญหา และเรื่องอื่นๆ ประสบการณ์ที่เพิ่งได้รับมาจะได้รับจัดเรียงลำดับ
C: Connect (เชื่อมโยง) เป็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดเชื่อมโยง เป็นการถามเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์หรือวามรู้ที่มีมาก่อนกับประสบการณ์หรือความคิดที่เกิดจากการเรียนรู้ใหม่ในชั่วโมงนั้น ผู้เรียนจะพิจารณาว่า “ประสบการณ์นี้เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ก่อนหน้านี้อย่างไร มีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่ผู้เรียนเคยรู้ เชื่อ และรู้สึกอย่างไรบ้าง” “เสริมสร้างหรือขยายมุมมองของผู้เรียนหรือไม่ คัดค้านหรือหักล้างความคิดของผู้เรียนหรือไม่” ประสบการณ์จะถูกจัดลำดับและรวบรวมต่อไป
A: APPLY (ปรับใช้) เป็นคำถามเพื่อการปรับใช้หรือประยุกต์ เป็นการถามถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่ในปัจจุบันใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่อาจจะเผชิญเพื่อเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆในอนาคต ผู้เรียนจะพิจารณาว่า “สิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในครั้งนี้นำไปปรับใช้ได้อย่างไรในสานการณ์ที่คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน” “ผู้เรียนจะใช้สิ่งที่เพิ่งได้เรียนรู้มาเพื่อระโยชน์ของตัวเอง ของผู้อื่น และเพื่อกลุ่มของผู้เรียนอย่างไร” การเรียนรู้จะถูกถ่ายทอดและถูกนำมาประยุกต์ใช้
กล่าวโดยทั่วไป การสะท้อน –เชื่อมโยง- ปรับใช้นี้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนรู้ ทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มพิจารณาสิ่งที่ได้เรียนรู้มาอย่างมีสติ เชื่อมโยงประสบการณ์เหล่านนั้นกับสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว และวางแผนที่จะใช้ต่อไป
แนวคิดในการประเมินทักษะชีวิต
การประเมินมีหลายลักษณะ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการประเมินที่เหมาะสมกับการประเมินทักษะชีวิตในชั้นเรียนเพียง 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
- 1. การประเมินวินิจฉัย (Diagnosic Assessmant) เป็นการประเมินที่เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อค้นหาว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมทักษะชีวิตอย่างไร มีข้อบกพร่องอะไรบ้างที่จะต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนต่อไป วิธีการประเมินอาจใช้ทั้งสังเกตการณ์สนทนาพูดคุย สอบถามหรือประเมินตนเองก็ได้
- 2. การประเมินระหว่างการเรียนรู้หรือระหว่างทำกิจกรรม(Ongoing Assessment) เป็นการประเมินการเรียนรู้และพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างต่อเนื่อง ตลอดการเรียนการสอน เป็นการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้เรียนในสภาพที่สอดคล้องกับความเป็นจริง แล้วสะท้อนความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนออกมา การประเมินลักษณะนี้มีความสำคัญมาก ครูจะได้ข้อมูลที่เป็นจริงที่สามรถนำมาไปกำหนดแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตให้ผู้เรียนมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าตามตัวชี้วัดพฤติกรรมทักษะชีวิตที่คาดหวัง วิธีการประเมินอาจใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบถามพูดคุยสนทนา จดบันทึกแล้ววิเคราะห์ให้ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะหรือข้อแนะนำเพื่อการพัฒนาพฤติกรรมทักษะชีวิตต่อไป
การประเมินเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตจึงให้ความสำคัญกับการประเมินระหว่างการเรียนรู้หรือ ระหว่างการเรียนการสอน คือ จัดการเรียนรู้พร้อมกับจดบันทึกรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของนักเรียนไปพร้อมกัน และใช้ข้อมูลนั้นมาพัฒนาผู้เรียนต่อไป
- 3. การประเมินสรุปรวบยอด (Summative Assessment) เป็นการประเมินการเรียนรู้หรือพฤติกรรมที่ได้รับการพัฒนาแล้วเมื่อสิ้นสุดกระบวนการพัฒนา เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมทักษะผู้เรียนตามตัวชี้วัด และใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับการประเมินวินิจฉัยก่อนการเรียนรู้ทักษะชีวิต ทำให้ทราบพัฒนาการทักษะชีวิตของผู้เรียน วิธีการประเมินอาจใช้การสังเกตสัมภาษณ์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยประเมินความสามรถในการบเผชิญสถานการณ์ต่างๆ การแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนดให้ และวิเคราะห์ความคิด ความเชื่อ การรู้คิดและภูมิคุ้มกันทางปัญญาของผู้เรียนจากการสะท้อนความคิด การเชื่อมโยงความคิด และการแสดงพฤติกรรมต่อเนื่องเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนรู้
นอกจากลักษณะของการประเมินทั้ง 3 ลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีสิ่งสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาคือ ผู้ประเมินและบริบทของการประเมิน ดังนี้
- การประเมินภายใน (Internal Evaluation) เป็นการประเมินตนเอง (Self Evaluation) ซึ่งผู้เรียนที่มีความสามารถในการอ่านและสามารถตีความจากประเด็นที่อ่านได้จึงจะประเมินตนเองได้
- การประเมินภายนอก (External Evaluation) เป็นการประเมินโดยผู้อื่น ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่คอยเฝ้าดู เฝ้าสังเกตพฤติกรรมและความเปลี่ยนแปลงปรับตัวของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
การประเมินทักษะชีวิตทีมีประสิทธิภาพได้ข้อมูลที่สอดรับกันตรงตามความจริงมากที่สุด ต้องประเมินทั้งที่เป็นการประเมินภายในและการประเมินภายนอก ถ้าการประเมินตนเอง การสะท้อนความรู้ความคิดของตนเอง มีผลการประเมินตรงกับสิ่งที่ผู้ประเมินภายนอกต้องการก็แสดงว่าผู้เรียนรู้จักตนเองอย่างแท้จริง การประเมินทักษะชีวิต “ต้องใช้จิตวัดจิต” คือการสังเกตการณ์สัมภาษณ์ สนทนาสอบถาม
วิธีการประเมินพฤติกรรมทักษะชีวิตผู้เรียน
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, มูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์, & องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2561). คู่มือครูศตวรรษที่21. เข้าถึงจาก http://lifeskills.obec.go.th/?document=คู่มือครูศตวรรษที่21