Difference between revisions of "PBL (Project-Based Learning)"

From Knowledge sharing space
Jump to: navigation, search
Line 12: Line 12:
 
4. วิธีการสืบค้นจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย สนทนา ซักถามพ่อแม่ บุคคลในเรื่องที่เด็กให้ความสนใจ การสืบค้นจากห้องสมุด จากเว็บไซต์ หรือจากหนังสือ
 
4. วิธีการสืบค้นจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย สนทนา ซักถามพ่อแม่ บุคคลในเรื่องที่เด็กให้ความสนใจ การสืบค้นจากห้องสมุด จากเว็บไซต์ หรือจากหนังสือ
 
5. วิธีการจัดแสดง ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่นป้ายแสดงผลงาน การสาธิตและการอภิปรายผลเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3ระยะ ได้แก่การเริ่มโครงงาน การพัฒนาโครงงาน และการสรุป โดยกิจกรรมหลักในการในการทำโครงงานมี 4ประเภท ได้แก่ 1) กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2) กิจกรรมทัศนศึกษา 3) กิจกรรมสืบค้น 4) กิจกรรมนำเสนอผลงาน
 
5. วิธีการจัดแสดง ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่นป้ายแสดงผลงาน การสาธิตและการอภิปรายผลเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3ระยะ ได้แก่การเริ่มโครงงาน การพัฒนาโครงงาน และการสรุป โดยกิจกรรมหลักในการในการทำโครงงานมี 4ประเภท ได้แก่ 1) กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2) กิจกรรมทัศนศึกษา 3) กิจกรรมสืบค้น 4) กิจกรรมนำเสนอผลงาน
*แคส จี ลิเลียน (2012) ถูกอ้างถึงใน วศิณีส์ (2560) ยังได้กล่าวถึงการเรียน STEM ผ่านการทำโครงงาน
+
*แคส จี ลิเลียน (2012) ถูกอ้างถึงใน วศิณีส์ (2560) ยังได้กล่าวถึงการเรียน STEM ผ่านการทำโครงงานมีจุดมุ่งหมายคือความรู้ความเข้าใจ ทักษะการจัดการ ครู
  
 
== การเตรียมตัวของผู้สอน ==
 
== การเตรียมตัวของผู้สอน ==

Revision as of 14:40, 12 May 2018

การจัดการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐาน (Project-Based Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่นิยมใช้ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย มีความสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนใน ศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ดังนี้

ทฤษฎีและแนวคิดการสอนแบบโครงการ

การเรียนรู้แบบโครงการเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มีผู้กล่าวถึงความหมายไว้ดังนี้

  • Lenschow (1996) อ้างถึงในวราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์ (2545) อธิบายว่าการเรียนการสอนแบบ โครงการหมายถึงการกระทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ภายในกลุ่มด้วยวิธีการ ปฏิบัติจริง เพื่อการเรียนรู้ การแก้ปัญหาอันจะนำไปสู่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แสวงหาความรู้และ หาแนวทางการแก้ปัญหาเหล่านั้น
  • วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์ (2545) กล่าวถึงการเรียนรู้แบบโครงการว่าเป็นเสมือนสะพานเชื่อม ระหว่างห้องเรียนกับโลกภายนอกซึ่งเป็นชีวิตจริงของผู้เรียน ทั้งนี้เพราะว่าผู้เรียนต้องนำเอาความรู้ที่ได้จาก การเรียนมาบูรณาการเข้ากับกิจกรรมที่กระทำเพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยการสร้างความหมาย การแก้ปัญหา และการค้นพบด้วยตัวเอง ผู้เรียนต้องสร้างและกำหนดความรู้จากความคิดและแนวคิดที่มีอยู่ กับแนวคิดและความคิดที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ให้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งใหม่
  • พรพรรณ ไวทยางกูร (2552) ได้กล่าวถึงการสอนแบบโครงงาน มีกิจกรรม 5วิธี ประกอบด้วย

1. วิธีการอภิปราย ครูเป็นผู้แนะนำเด็ก โดยให้เด็กสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป้นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ 2. การศึกษานอกสถานที่ ครูพานักเรียนไปทัศนศึกษานอกห้องเรียนใหล้บริเวณโรงเรียน เพื่อเรียนรู้สิ่งต่างๆ รวมทั้งได้มีโอกาสสนทนากับบุคคลต่างๆ ในหัวข้อที่เด็กสนใจ เป็นการสร้างประสบการณืเรียนรู้ให้กับเด็ก 3. วิธีการนำเสนอประสบการณ์เดิม เด็กทบทวนความรู้จากประสบการณ์เดิมในเรื่องที่ตนเองสนใจ 4. วิธีการสืบค้นจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย สนทนา ซักถามพ่อแม่ บุคคลในเรื่องที่เด็กให้ความสนใจ การสืบค้นจากห้องสมุด จากเว็บไซต์ หรือจากหนังสือ 5. วิธีการจัดแสดง ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่นป้ายแสดงผลงาน การสาธิตและการอภิปรายผลเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3ระยะ ได้แก่การเริ่มโครงงาน การพัฒนาโครงงาน และการสรุป โดยกิจกรรมหลักในการในการทำโครงงานมี 4ประเภท ได้แก่ 1) กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2) กิจกรรมทัศนศึกษา 3) กิจกรรมสืบค้น 4) กิจกรรมนำเสนอผลงาน

  • แคส จี ลิเลียน (2012) ถูกอ้างถึงใน วศิณีส์ (2560) ยังได้กล่าวถึงการเรียน STEM ผ่านการทำโครงงานมีจุดมุ่งหมายคือความรู้ความเข้าใจ ทักษะการจัดการ ครู

การเตรียมตัวของผู้สอน

1. จัดสิ่งแวดล้อมและอำนวยความสะดวกจากครู เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองภายใต้การจัด สิ่งแวดล้อมโดยมีสาระสำคัญดังนี้

การเลือกหัวหน้าโครงการ
กิจกรรมในการสอน

โอกาสแห่งการเรียนรู้
เด็กเป็นผู้เลือก
ครูเป็นผู้เฝ้าติดตามความสนใจของผู้เรียน
การจัดนิทรรศการห้องเรียน

ระยะเวลา

2. ผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้


เปิดโอกาสการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยการสนับสนุน แนะนำ เตรียมสิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็นได้

ครูควรสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยจัดโครงสร้างการเรียน สร้างแบบ แนะนำการทำงานให้แก่ผู้เรียน

กระตุ้นผู้เรียนในการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการรู้คิดของตนเอง
ครูควรประเมินความก้าวหน้า วินิจฉัยปัญหาที่เกิด และให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียน

การวัดและประเมินผล

กรอบแนวการประเมินผล เป็นการประเมินผลตามสภาพจริง เป็นวิธีการการค้นหาความสามารถ และความก้าวหน้าในการเรียนรู้ที่แท้จริง การประเมินผลโครงการมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้ (วราภรณ์, 2545)

  • ประเมินอะไร

1) การแสดงออกถึงผลความรู้ ความคิด
2) ความสามารถ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยม
3) กระบวนการเรียนรู้
4) กระบวนการทำงาน
5) ผลผลิต / ผลงาน / ชิ้นงาน 

  • ประเมินเมื่อใด

1) ควรประเมินอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุด
2) ตามสภาพจริง และเป็นธรรมชาติ
  • ประเมินจากอะไร

1) ผลงาน (เอกสาร ชิ้นงาน)

2) การทดสอบ
3) แบบบันทึกต่าง ๆ (สังเกต ความรู้สึก สัมภาษณ์)
4) แฟ้มสะสมงาน

  • ประเมินโดยใคร การประเมินสามารถมาจากบุคคลดังนี้
1) ตัวผู้เรียน
2) เพื่อน

3) ครูผู้สอน
4) ผู้ปกครอง
  • วิธีการประเมินสามารถทำได้โดย: วิธีการสังเกต, การสัมภาษณ์, ตรวจรายงาน, ตรวจผลงาน, การทดสอบ และนิทรรศการ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เอกสารอ้างอิง

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2545). การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บ เรื่องการเรียนรู้ แบบโครงการเพื่อการเรียนรู้เป็นทีมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.