Difference between revisions of "เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้"
(→จุดเริ่มต้นของการวิจัย) |
(→เอกสารอ้างอิง) |
||
(21 intermediate revisions by the same user not shown) | |||
Line 6: | Line 6: | ||
'''ช่วยลดปัญหาในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะผู้เรียน''' | '''ช่วยลดปัญหาในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะผู้เรียน''' | ||
− | + | จุดประสงค์การเรียนรู้หรือทักษะที่ผู้เรียนควรจะได้รับจากการเรียนรู้เป็นแผนที่ครูกำหนดขึ้นไว้ก่อนจัดการสอน แต่เมื่อครูได้จัดการเรียนรู้แล้วอาจพบว่าผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งแสดงว่าได้เกิดปัญหาการเรียนรู้แล้ว หากครูยังไม่ได้คิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ดังกล่าวนี้จะยังคงมีอยู่ต่อไปและส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน แต่ถ้าครูมีความปรารถนาดีต่อผู้เรียนในฐานะลูกศิษย์ และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อคุณภาพของผู้เรียน แล้วคิดหาวิธีการหรือใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนก็จะช่วยให้ปัญหาลดลงหรือหมดไป ผู้เรียนก็จะมีคุณภาพ การดำเนินงานของครูในลักษณะดังกล่าวถือว่าครูได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แล้ว ซึ่งช่วยการพัฒนาระบบการเรียนการสอนเพื่อเติมเต็มศักยภาพให้นักเรียนมี[[ทักษะชีวิต (Life Skills)]] , [[ทักษะในศตวรรษที่21]] และ เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ | |
[[File:Maker14.jpg|500px|right]] | [[File:Maker14.jpg|500px|right]] | ||
Line 14: | Line 14: | ||
'''ได้สื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้''' | '''ได้สื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้''' | ||
− | ในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียน | + | ในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียน เป็นโอกาสที่ครูจะได้คิดหาวิธีการหรือใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประเภทต่างๆ สำหรับแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ถ้าวิธีการหรือนวัตกรรมดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาการเรียนรู้ให้มีคุณภาพได้ถือว่าวิธีการหรือนวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อครูที่จะได้เรียนรู้ ดูเป็นแบบอย่าง และนำไปปรับใช้หรือเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้ การวิจัยนี้จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ได้สื่อ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบวิชาชีพครู |
'''มีฐานข้อมูลสาระสนเทศเพื่อการวางแผนพัฒนาโรงเรียน''' | '''มีฐานข้อมูลสาระสนเทศเพื่อการวางแผนพัฒนาโรงเรียน''' | ||
Line 27: | Line 27: | ||
== ลักษณะสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ == | == ลักษณะสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ == | ||
+ | |||
+ | 1.'''ขอบเขตของการวิจัย''' | ||
+ | |||
+ | ขอบเขตของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้พิจารณาจากประเด็นสำคัญต่อไปนี้ | ||
+ | |||
+ | *คำถามวิจัย (research question) คือข้อสงสัยที่ครูกำหนดขึ้นเพื่อต้องการหาคำตอบปฏิบัติการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่เป็นระบบและเชื่อถือได้ ปัญหาวิจัยในชั้นเรียนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนรู้หรือพฤติกรรมผู้เรียนที่ครูต้องหาคำตอบหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะการเรียนการสอนในชั้นเรียนหนึ่งๆ เรื่องที่ทำวิจัยเป็นประเด็นที่เล็ก มีลักษณะเฉพาะเจาะจงไม่จำเป็นที่ต้องเป็นประเด็นที่กว้างเหมือนการวิจัยทางวิชาการ แต่เป็นที่มีความสำคัญ มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือการจัดการเรียนรู้ของครู | ||
+ | |||
+ | *ประชากรหรือกลุ่มเป้าหมาย หมายถึงผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดที่มีปัญหาการเรียนรู้ซึ่งครูต้องการจะศึกษา แก้ปัญหา หรือพัฒนาให้มีคุณภาพ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้''จะมุ้งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนบริบทของชั้นเรียน (classroom context)'' ''โดยที่เป้าหมายสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ก็เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีปัญหาหรือกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา'' | ||
+ | |||
+ | ดังนั้น ประชาการหรือกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยอาจเป็น'''ผู้เรียนหนึ่งคน หนึ่งกลุ่ม หนึ่งห้องเรียน หรือหลายห้องเรียน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้นเพราะรายบุคคล รายกลุ่ม ทั้งห้องเรียน หรือหลายห้องเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของครู ในบางกรณีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จึงไม่จำเป็นต้องสุ่มเลือกผู้เรียนมาเพื่อศึกษา แก้ปัญหา หรือพัฒนาเฉพาะบางส่วนแต่ควรที่จะศึกษา แก้ปัญหา''' | ||
+ | |||
+ | ขอบข่ายลักษณะของการวิจัย การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ | ||
+ | *การวิจัยที่มุ่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพหรือปัญหาการเรียนรู้ในชั้นเรียน | ||
+ | เป็นการวิจัยเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เรียน สภาพการณ์และปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ประกอบด้วยการสำรวจชั้นเรียน (classroom survey) การวิเคราะห์พฤติกรรมในชั้นเรียน (behavior analysis) และการศึกษาเฉพาะกรณี (case study) การวิจัยลักษณะนี้เป็นการวิจัยเพื่อการอธิบาย (explanatory research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) | ||
+ | |||
+ | *การวิจัยที่มุ่งปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน | ||
+ | เป็นการวิจัยที่มุ่งคิดค้นหาวิธีการ นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพหรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น การวิจัยในลักษณะนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (semi-experimental research ) เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) | ||
+ | |||
+ | 2. '''วิธีดำเนินการวิจัย''' | ||
+ | |||
+ | ลักษณะที่สำคัญของวิธีการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มีดังนี้ | ||
+ | |||
+ | * ส่วนใหญ่จะเป็นวิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยคุณภาพ (Mix Method) | ||
+ | |||
+ | * เป็นการวิจัยที่ไม่เคร่งครัดต่อแบบแผนการวิจัยมากนัก มีความยืดหยุ่น ปรับให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ต่างๆ ของผู้เรียน ชั้นเรียน และสถานศึกษาใช้ | ||
+ | |||
+ | * เป็นในลักษณะการวิจัยปฏิบัติการด้วยวงจร PAOR (Plan Act Observe Reflect) โดยมีการวางแผนแก้ปัญหา ปฏิบัติการแก้ปัญหา สังเกตผลหรือตรวจสอบผลการแก้ปัญหา และสะท้อนผลกลับต่อการปฏิบัติการแก้ปัญหา | ||
+ | |||
+ | * ใช้กระบวนการวิจัยหรือกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมและการร่วมคิดร่วมทำ(participation & collaboration) ซึ่งอาจดำเนินงานด้วยตนเองหรือร่วมกับคณะครูที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนร่วมกันโดยอาจมีผู้เชี่ยวชาญร่วมให้คำปรึกษาแนะนำช่วยเหลือในการดำเนินการวิจัย เป็นการเรียนรู้คู่วิจัยทำให้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนรู้และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อกัน | ||
+ | |||
+ | 3. การนำผลวิจัยไปใช้ | ||
+ | |||
+ | การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะนำผลการวิจัยไปอ้างอิงถึงประชากรในวงกว้างหรือในชั้นเรียนอื่นๆ โดยทั่วไปเหมือนกับการวิจัยเชิงวิชาการ ''แต่มีจุดมุ่งเน้นที่จะนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนรายเฉพาะกลุ่มหรือทั้งห้องเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้และอยู่ในความรับผิดชอบของครู เมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วควรนำเสนอผลการวิจัยเผยแพร่ไปสู่เพื่อนครู สู่วงวิชาชีพครูและวงวิชาการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันที่จะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้'' ซึ่งเป็นการขยายองค์ความรู้ทำให้ศาสตร์การจัดการเรียนรู้หรือศาสตร์การสอนมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นและเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้นอีกด้วย | ||
+ | |||
+ | การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในบริบททางการศึกษาในสถานศึกษาหรือในชั้นเรียนครู ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารการศึกษาที่มีบทบาททั้งการปฏิบัติการวิจัยทางการศึกษาและส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยของครู จะต้องนำผลวิจัยไปใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน พัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูหรือการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ให้ทันต่อเหตุการณ์หรือสภาพปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น | ||
+ | |||
+ | 4. การรายงานผลการวิจัย | ||
+ | |||
+ | การรายงานผลการวิจัยมีความยืดหยุ่นในรูปแบบของรายงานการวิจัย อาจนำเสนอรายงานการวิจัยได้ 3 ลักษณะ ซึ่งขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและการนำผลการวิจัยไปใช้คือ | ||
+ | |||
+ | *รูปแบบที่ 1 รายงานการวิจัยที่ไม่เป็นทางการ เป็นรายงานการวิจัยที่ไม่เน้นวิชาการ นำเสนอสาระโดยสรุปสั้นๆ เพียง 1-2 หน้า ใช้ถ้อยคำในระดับเดียวกันกับครูผู้ปฏิบัติงาน หลีกเลี่ยงคำศัพท์เฉพาะสาขาวิชาการ | ||
+ | |||
+ | *รูปแบบที่ 2 รายงานการวิจัยกึ่งวิชาการ เป็นรายงานการวิจัยที่เป็นเชิงวิชาการมากขึ้นกว่ารูปแบบที่ 1 โดยมีรูปแบบโครงสร้างการรายงานมากขึ้น นำเสนอสาระเนื้อหา 7-8 ประเด็นมีจำนวนประมาณ 8-10 หน้า | ||
+ | |||
+ | *รูปแบบที่ 3 รายงานการวิจัยเชิงวิชาการ เป็นการนำเสนอรายงานผลการวิจัยที่เป็นทางการมากที่สุด ในลักษณะของรายงานเชิงวิชาการ (academic report) ซึ่งมีรูปแบบหรือโครงสร้างของรายงานการวิจัยที่มีลักษณะเป็นแบบสากลที่ใช้กันโดยทั่วไป | ||
== จุดเริ่มต้นของการวิจัย == | == จุดเริ่มต้นของการวิจัย == | ||
− | การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เกิดขึ้นเนื่องจากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือการจัดการเรียนรู้ของครู และครูมีความคิด จิตใจ มีความห่วงใย และมีความปรารถนาดีต่อผู้เรียนหรือลูกศิษย์ จึงหาทางช่วยเหลือ แก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า จุดเริ่มต้นที่แท้จริงของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้อยู่ที่ครูเป็นสำคัญ คือครูที่มีความคิดและจิตใจ เห็นว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เพราะปัญหาการเรียนรู้จะเกิดขึ้นในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลา หากครูไม่สนใจต่อปัญหาการเรียนรู้เหล่านั้นก็จะไม่เกิดการคิดแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ก็จะไม่มีวันเกิดขึ้นอย่างแน่นอน | + | การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เกิดขึ้นเนื่องจากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือการจัดการเรียนรู้ของครู และครูมีความคิด จิตใจ มีความห่วงใย และมีความปรารถนาดีต่อผู้เรียนหรือลูกศิษย์ จึงหาทางช่วยเหลือ แก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า ''จุดเริ่มต้นที่แท้จริงของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้อยู่ที่ครูเป็นสำคัญ คือครูที่มีความคิดและจิตใจ เห็นว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เพราะปัญหาการเรียนรู้จะเกิดขึ้นในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลา'' หากครูไม่สนใจต่อปัญหาการเรียนรู้เหล่านั้นก็จะไม่เกิดการคิดแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ก็จะไม่มีวันเกิดขึ้นอย่างแน่นอน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้มักจะมีคำถามต่อไปนี้ กล่าวคือ |
− | + | ||
− | + | *ทำไมผู้เรียนจึงไม่มีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา | |
− | + | *ผู้เรียนขาดทักษะ Self awareness การรู้จักตนเอง เพราะเหตุใด | |
− | จะทำอย่างไร | + | *ผู้เรียนเขียนภาษาไทยผิดพลาดมากในลักษณะคำใดบ้าง |
− | จะทำอย่างไร จะจัดการเรียนรู้อย่างไร หรือจะใช้นวัตกรรมการเรียนรู้อะไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ | + | *จะทำอย่างไร จะใช้วิธีการสอนแบบใดหรือจะใช้นวัตกรรมอะไรจึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น |
− | คำถามข้อ (1)-(3) | + | *จะทำอย่างไร จะจัดการเรียนรู้อย่างไร หรือจะใช้นวัตกรรมการเรียนรู้อะไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะชีวิต ตามเป้าหมายของมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ |
− | + | ||
+ | คำถามข้อ (1)-(3) เป็นคำถามเพื่อต้องการค้นหาคำตอบที่เป็นสาเหตุหรือสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับผู้เรียน | ||
+ | |||
+ | คำถาม (4)-(5) เป็นคำถามที่มุ่งไปสู่การปฏิบัติเพื่อการแก้ไขการพัฒนาหรือช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพ | ||
+ | |||
+ | คำถามทั้งข้อ (1)-(5) เรียกว่าเป็นคำถามวิจัย (research question) เพื่อนำไปสู่การค้นหาคำตอบ การปฏิบัติการแก้ไขหรือพัฒนาผู้เรียน ดังนั้น หากครูผู้สอนพบปัญหาการเรียนรู้ในชั้นเรียนแล้วตั้งคำถามในลักษณะดังกล่าวและเริ่มแสวงหาคำตอบ หาวิธีการแก้ไขหรือพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างเป็นระบบแล้ว ก็ถือได้ว่าครูได้ทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แล้ว | ||
+ | |||
+ | |||
+ | เรียบเรียงเนื้อหาโดย ดร.เบ็ญจวรรณ ลี้เจริญ | ||
+ | |||
+ | == เอกสารอ้างอิง == | ||
+ | |||
+ | ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย: แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์. | ||
− | + | พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มาวิทยาลัย. |
Latest revision as of 10:26, 19 October 2018
Contents
ความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้
ความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน และครูผู้สอนไว้มีดังนี้
ช่วยลดปัญหาในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะผู้เรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้หรือทักษะที่ผู้เรียนควรจะได้รับจากการเรียนรู้เป็นแผนที่ครูกำหนดขึ้นไว้ก่อนจัดการสอน แต่เมื่อครูได้จัดการเรียนรู้แล้วอาจพบว่าผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งแสดงว่าได้เกิดปัญหาการเรียนรู้แล้ว หากครูยังไม่ได้คิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ดังกล่าวนี้จะยังคงมีอยู่ต่อไปและส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน แต่ถ้าครูมีความปรารถนาดีต่อผู้เรียนในฐานะลูกศิษย์ และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อคุณภาพของผู้เรียน แล้วคิดหาวิธีการหรือใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนก็จะช่วยให้ปัญหาลดลงหรือหมดไป ผู้เรียนก็จะมีคุณภาพ การดำเนินงานของครูในลักษณะดังกล่าวถือว่าครูได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แล้ว ซึ่งช่วยการพัฒนาระบบการเรียนการสอนเพื่อเติมเต็มศักยภาพให้นักเรียนมีทักษะชีวิต (Life Skills) , ทักษะในศตวรรษที่21 และ เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้
ได้สื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
ในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียน เป็นโอกาสที่ครูจะได้คิดหาวิธีการหรือใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประเภทต่างๆ สำหรับแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ถ้าวิธีการหรือนวัตกรรมดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาการเรียนรู้ให้มีคุณภาพได้ถือว่าวิธีการหรือนวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อครูที่จะได้เรียนรู้ ดูเป็นแบบอย่าง และนำไปปรับใช้หรือเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้ การวิจัยนี้จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ได้สื่อ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบวิชาชีพครู
มีฐานข้อมูลสาระสนเทศเพื่อการวางแผนพัฒนาโรงเรียน
ในการวางแผนพัฒนาโรงเรียนต้องอาศัยข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้วางแผนพัฒนาโรงเรียนได้อย่างถูกทิศทาง ข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้องทำให้การวางแผนถูกต้อง ข้อมูลสารสนเทศที่ได้มาอย่างรวดเร็วทำให้โรงเรียนตัดสินใจได้เร็วไม่ล้าสมัย โรงเรียนจึงต้องมีฐานข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยระบบฐานข้อมูลสำคัญ 3 ฐาน ข้อมูลหลักคือ ฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการสอน และฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ (สุวิมล ว่องวานิช,2550) ฐานข้อมูลทั้ง 3 ส่วนได้มาจากครูนักวิจัยในโรงเรียนซึ่งครูส่วนหนึ่งเมื่อทำวิจัยแล้วอาจทำให้ได้ข้อมูลที่นำไปสู่ฐานข้อมูลการเรียนรู้ ในขณะที่งานวิจัยของครูอีกส่วนหนึ่งอาจนำไปสู่ฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และครูบางคาทำวิจัยแล้วช่วยให้ได้ฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนครูที่ทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จึงมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ได้ฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาโรงเรียนช่วยเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาชีพของครู ครูที่ได้วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จะทำให้ครูมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยครูได้เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาชีพของครูมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2559) ได้อ้างว่า การวิจัยปฏิบัติการหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ช่วยให้ครูเห็นผลของการได้เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาชีพ 3 ประการ คือ
- การวิจัยที่ครูทำช่วยตรวจสอบการปฏิบัติงานวิชาชีพของครูว่าปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนมีความก้าวหน้าและเป็นไปตามความคาดหวังที่ครูตั้งไว้หรือไม่
- การแลกเปลี่ยนความรู้จากงานวิจัยที่ได้ทำระหว่างครูนักวิจัย เพื่อนร่วมวิชาชีพ และบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ครูเกิดการเรียนรู้และเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาชีพที่สามารถประเมินการปฏิบัติงานของครู และปรับปรุง พัฒนาการปฏิบัติงานทางวิชาชีพของครูให้มีมาตรฐานสูงขึ้น
- จากการที่ครูนักวิจัยได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ด้านงานวิจัย ครูสามารถกำหนดมาตรฐานหรือ เกณฑ์การตัดสินคุณภาพงานของครูได้เอง โดยใช้มาตรฐานหรือเกณฑ์เดียวกับผู้อื่นใช้ตัดสินคุณภาพงานของครู และปรับให้เข้ากับวิธีการของผู้อื่นที่ได้จัดว่าเป็นการพัฒนาทางวิชาชีพครูและครูควรจะได้เรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้มีการเพิ่มพูนความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาชีพครู ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัยเพื่อการเรียนรู้สำหรับเป็นฐานของการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างยั่งยืนต่อไป
ลักษณะสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้
1.ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้พิจารณาจากประเด็นสำคัญต่อไปนี้
- คำถามวิจัย (research question) คือข้อสงสัยที่ครูกำหนดขึ้นเพื่อต้องการหาคำตอบปฏิบัติการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่เป็นระบบและเชื่อถือได้ ปัญหาวิจัยในชั้นเรียนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนรู้หรือพฤติกรรมผู้เรียนที่ครูต้องหาคำตอบหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะการเรียนการสอนในชั้นเรียนหนึ่งๆ เรื่องที่ทำวิจัยเป็นประเด็นที่เล็ก มีลักษณะเฉพาะเจาะจงไม่จำเป็นที่ต้องเป็นประเด็นที่กว้างเหมือนการวิจัยทางวิชาการ แต่เป็นที่มีความสำคัญ มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือการจัดการเรียนรู้ของครู
- ประชากรหรือกลุ่มเป้าหมาย หมายถึงผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดที่มีปัญหาการเรียนรู้ซึ่งครูต้องการจะศึกษา แก้ปัญหา หรือพัฒนาให้มีคุณภาพ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จะมุ้งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนบริบทของชั้นเรียน (classroom context) โดยที่เป้าหมายสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ก็เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีปัญหาหรือกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา
ดังนั้น ประชาการหรือกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยอาจเป็นผู้เรียนหนึ่งคน หนึ่งกลุ่ม หนึ่งห้องเรียน หรือหลายห้องเรียน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้นเพราะรายบุคคล รายกลุ่ม ทั้งห้องเรียน หรือหลายห้องเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของครู ในบางกรณีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จึงไม่จำเป็นต้องสุ่มเลือกผู้เรียนมาเพื่อศึกษา แก้ปัญหา หรือพัฒนาเฉพาะบางส่วนแต่ควรที่จะศึกษา แก้ปัญหา
ขอบข่ายลักษณะของการวิจัย การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ
- การวิจัยที่มุ่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพหรือปัญหาการเรียนรู้ในชั้นเรียน
เป็นการวิจัยเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เรียน สภาพการณ์และปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ประกอบด้วยการสำรวจชั้นเรียน (classroom survey) การวิเคราะห์พฤติกรรมในชั้นเรียน (behavior analysis) และการศึกษาเฉพาะกรณี (case study) การวิจัยลักษณะนี้เป็นการวิจัยเพื่อการอธิบาย (explanatory research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research)
- การวิจัยที่มุ่งปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน
เป็นการวิจัยที่มุ่งคิดค้นหาวิธีการ นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพหรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น การวิจัยในลักษณะนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (semi-experimental research ) เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research)
2. วิธีดำเนินการวิจัย
ลักษณะที่สำคัญของวิธีการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มีดังนี้
- ส่วนใหญ่จะเป็นวิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยคุณภาพ (Mix Method)
- เป็นการวิจัยที่ไม่เคร่งครัดต่อแบบแผนการวิจัยมากนัก มีความยืดหยุ่น ปรับให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ต่างๆ ของผู้เรียน ชั้นเรียน และสถานศึกษาใช้
- เป็นในลักษณะการวิจัยปฏิบัติการด้วยวงจร PAOR (Plan Act Observe Reflect) โดยมีการวางแผนแก้ปัญหา ปฏิบัติการแก้ปัญหา สังเกตผลหรือตรวจสอบผลการแก้ปัญหา และสะท้อนผลกลับต่อการปฏิบัติการแก้ปัญหา
- ใช้กระบวนการวิจัยหรือกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมและการร่วมคิดร่วมทำ(participation & collaboration) ซึ่งอาจดำเนินงานด้วยตนเองหรือร่วมกับคณะครูที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนร่วมกันโดยอาจมีผู้เชี่ยวชาญร่วมให้คำปรึกษาแนะนำช่วยเหลือในการดำเนินการวิจัย เป็นการเรียนรู้คู่วิจัยทำให้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนรู้และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อกัน
3. การนำผลวิจัยไปใช้
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะนำผลการวิจัยไปอ้างอิงถึงประชากรในวงกว้างหรือในชั้นเรียนอื่นๆ โดยทั่วไปเหมือนกับการวิจัยเชิงวิชาการ แต่มีจุดมุ่งเน้นที่จะนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนรายเฉพาะกลุ่มหรือทั้งห้องเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้และอยู่ในความรับผิดชอบของครู เมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วควรนำเสนอผลการวิจัยเผยแพร่ไปสู่เพื่อนครู สู่วงวิชาชีพครูและวงวิชาการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันที่จะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการขยายองค์ความรู้ทำให้ศาสตร์การจัดการเรียนรู้หรือศาสตร์การสอนมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นและเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้นอีกด้วย
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในบริบททางการศึกษาในสถานศึกษาหรือในชั้นเรียนครู ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารการศึกษาที่มีบทบาททั้งการปฏิบัติการวิจัยทางการศึกษาและส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยของครู จะต้องนำผลวิจัยไปใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน พัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูหรือการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ให้ทันต่อเหตุการณ์หรือสภาพปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
4. การรายงานผลการวิจัย
การรายงานผลการวิจัยมีความยืดหยุ่นในรูปแบบของรายงานการวิจัย อาจนำเสนอรายงานการวิจัยได้ 3 ลักษณะ ซึ่งขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและการนำผลการวิจัยไปใช้คือ
- รูปแบบที่ 1 รายงานการวิจัยที่ไม่เป็นทางการ เป็นรายงานการวิจัยที่ไม่เน้นวิชาการ นำเสนอสาระโดยสรุปสั้นๆ เพียง 1-2 หน้า ใช้ถ้อยคำในระดับเดียวกันกับครูผู้ปฏิบัติงาน หลีกเลี่ยงคำศัพท์เฉพาะสาขาวิชาการ
- รูปแบบที่ 2 รายงานการวิจัยกึ่งวิชาการ เป็นรายงานการวิจัยที่เป็นเชิงวิชาการมากขึ้นกว่ารูปแบบที่ 1 โดยมีรูปแบบโครงสร้างการรายงานมากขึ้น นำเสนอสาระเนื้อหา 7-8 ประเด็นมีจำนวนประมาณ 8-10 หน้า
- รูปแบบที่ 3 รายงานการวิจัยเชิงวิชาการ เป็นการนำเสนอรายงานผลการวิจัยที่เป็นทางการมากที่สุด ในลักษณะของรายงานเชิงวิชาการ (academic report) ซึ่งมีรูปแบบหรือโครงสร้างของรายงานการวิจัยที่มีลักษณะเป็นแบบสากลที่ใช้กันโดยทั่วไป
จุดเริ่มต้นของการวิจัย
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เกิดขึ้นเนื่องจากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือการจัดการเรียนรู้ของครู และครูมีความคิด จิตใจ มีความห่วงใย และมีความปรารถนาดีต่อผู้เรียนหรือลูกศิษย์ จึงหาทางช่วยเหลือ แก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า จุดเริ่มต้นที่แท้จริงของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้อยู่ที่ครูเป็นสำคัญ คือครูที่มีความคิดและจิตใจ เห็นว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เพราะปัญหาการเรียนรู้จะเกิดขึ้นในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลา หากครูไม่สนใจต่อปัญหาการเรียนรู้เหล่านั้นก็จะไม่เกิดการคิดแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ก็จะไม่มีวันเกิดขึ้นอย่างแน่นอน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้มักจะมีคำถามต่อไปนี้ กล่าวคือ
- ทำไมผู้เรียนจึงไม่มีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
- ผู้เรียนขาดทักษะ Self awareness การรู้จักตนเอง เพราะเหตุใด
- ผู้เรียนเขียนภาษาไทยผิดพลาดมากในลักษณะคำใดบ้าง
- จะทำอย่างไร จะใช้วิธีการสอนแบบใดหรือจะใช้นวัตกรรมอะไรจึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น
- จะทำอย่างไร จะจัดการเรียนรู้อย่างไร หรือจะใช้นวัตกรรมการเรียนรู้อะไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะชีวิต ตามเป้าหมายของมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้
คำถามข้อ (1)-(3) เป็นคำถามเพื่อต้องการค้นหาคำตอบที่เป็นสาเหตุหรือสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับผู้เรียน
คำถาม (4)-(5) เป็นคำถามที่มุ่งไปสู่การปฏิบัติเพื่อการแก้ไขการพัฒนาหรือช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพ
คำถามทั้งข้อ (1)-(5) เรียกว่าเป็นคำถามวิจัย (research question) เพื่อนำไปสู่การค้นหาคำตอบ การปฏิบัติการแก้ไขหรือพัฒนาผู้เรียน ดังนั้น หากครูผู้สอนพบปัญหาการเรียนรู้ในชั้นเรียนแล้วตั้งคำถามในลักษณะดังกล่าวและเริ่มแสวงหาคำตอบ หาวิธีการแก้ไขหรือพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างเป็นระบบแล้ว ก็ถือได้ว่าครูได้ทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แล้ว
เรียบเรียงเนื้อหาโดย ดร.เบ็ญจวรรณ ลี้เจริญ
เอกสารอ้างอิง
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย: แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มาวิทยาลัย.