Difference between revisions of "การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry-Based Learning)"
(→บทบาทของนักเรียน) |
(→ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้) |
||
(3 intermediate revisions by the same user not shown) | |||
Line 4: | Line 4: | ||
== ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ == | == ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ == | ||
− | + | การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้นั้นได้มีนักวิชาการและนักการศึกษาระบุถึงความหมายและแนวคิดหลากหลาย ดังนี้ (อ้างถึงใน วศิณีส์ (2560)) | |
วศินีส์ (2560) กล่าวถึงคือ กิจกรรมหรือสิ่งที่มนุษย์ทำหรือกระบวนการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ การทดลองหรือทดสอบในภาวะต่างๆ เพื่อสาธิตในสิ่งที่รู้หรือการค้นหาสิ่งที่ไม่รู้การสืบค้นหรือการศึกษาจากการใช้คำถามทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นขั้นตอน | วศินีส์ (2560) กล่าวถึงคือ กิจกรรมหรือสิ่งที่มนุษย์ทำหรือกระบวนการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ การทดลองหรือทดสอบในภาวะต่างๆ เพื่อสาธิตในสิ่งที่รู้หรือการค้นหาสิ่งที่ไม่รู้การสืบค้นหรือการศึกษาจากการใช้คำถามทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นขั้นตอน | ||
− | |||
− | |||
มนมนัส สุดสิ้น (2543) สรุปความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการหนึ่งที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ คิดและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างมีระบบของการคิด ใช้กระบวนการของการค้นคว้าหาความรู้ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ครูมีหน้าที่จัดบรรยากาศ การสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ คิดแก้ปัญหาโดยใช้การทดลอง และอภิปรายซักถามเป็นกิจกรรมหลักในการสอน | มนมนัส สุดสิ้น (2543) สรุปความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการหนึ่งที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ คิดและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างมีระบบของการคิด ใช้กระบวนการของการค้นคว้าหาความรู้ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ครูมีหน้าที่จัดบรรยากาศ การสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ คิดแก้ปัญหาโดยใช้การทดลอง และอภิปรายซักถามเป็นกิจกรรมหลักในการสอน | ||
ชลสีต์ จันทาสี (2543) สรุปความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ซึ่งครูมีหน้าที่เพียงเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือ จัดเตรียมสภาพการณ์และกิจกรรมให้เอื้อต่อกระบวนการที่ฝึกให้คิดหาเหตุผล สืบเสาะหาความรู้ รวมทั้งการแก้ปัญหาให้ได้โดยใช้คำถามและสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เช่น ของจริง สถานการณ์ ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการสำรวจ ค้นหาด้วยตนเอง บรรยากาศการเรียนการสอนให้นักเรียนมีอิสระในการซักถาม การอภิปรายและมีแรงเสริม อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสอนให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้นั่นเอง | ชลสีต์ จันทาสี (2543) สรุปความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ซึ่งครูมีหน้าที่เพียงเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือ จัดเตรียมสภาพการณ์และกิจกรรมให้เอื้อต่อกระบวนการที่ฝึกให้คิดหาเหตุผล สืบเสาะหาความรู้ รวมทั้งการแก้ปัญหาให้ได้โดยใช้คำถามและสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เช่น ของจริง สถานการณ์ ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการสำรวจ ค้นหาด้วยตนเอง บรรยากาศการเรียนการสอนให้นักเรียนมีอิสระในการซักถาม การอภิปรายและมีแรงเสริม อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสอนให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้นั่นเอง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | สมจิต สวธนไพบูลย์ (2541) กล่าวว่า หลักการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ จะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ส่วนครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกแนะนำและให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ ได้แก่ การสำรวจ และการสร้างองค์ความรู้ | ||
กู๊ด (Good. 1973) ได้ให้ความหมายของการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็นเทคนิคหรือกลวิธีอย่างหนึ่งในการจัดให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างของวิชาวิทยาศาสตร์ โดยกระตุ้นให้นักเรียนมีความอยากรู้อยากเห็น เสาะแสวงหาความรู้โดยการถามคำถาม และพยายามค้นหาคำตอบให้พบด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังให้ความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นวิธีการเรียนโดยการแก้ปัญหาจากกิจกรรมที่จัดขึ้น และใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทำกิจกรรม ซึ่งปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ที่นักเรียนเผชิญแต่ละครั้ง จะเป็นตัวกระตุ้นการคิดกับการสังเกตกับสิ่งที่สรุปพาดพิงอย่างชัดเจน ประดิษฐ์ คิดค้น ตีความหมายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด การใช้วิธีการอย่างชาญฉลาดสามารถทดสอบได้ และสรุปอย่างมีเหตุผล | กู๊ด (Good. 1973) ได้ให้ความหมายของการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็นเทคนิคหรือกลวิธีอย่างหนึ่งในการจัดให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างของวิชาวิทยาศาสตร์ โดยกระตุ้นให้นักเรียนมีความอยากรู้อยากเห็น เสาะแสวงหาความรู้โดยการถามคำถาม และพยายามค้นหาคำตอบให้พบด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังให้ความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นวิธีการเรียนโดยการแก้ปัญหาจากกิจกรรมที่จัดขึ้น และใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทำกิจกรรม ซึ่งปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ที่นักเรียนเผชิญแต่ละครั้ง จะเป็นตัวกระตุ้นการคิดกับการสังเกตกับสิ่งที่สรุปพาดพิงอย่างชัดเจน ประดิษฐ์ คิดค้น ตีความหมายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด การใช้วิธีการอย่างชาญฉลาดสามารถทดสอบได้ และสรุปอย่างมีเหตุผล | ||
Line 24: | Line 25: | ||
AAAS (American Association for the Advancement of Science) ได้ให้ความหมายการสืบเสาะหาความรู้ว่า เริ่มต้นด้วยคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติพร้อมทั้งกระตุ้นนักเรียนให้ตื่นเต้นสงสัยใคร่รู้ให้นักเรียนตั้งใจรวบรวมข้อมูลและหลักฐาน ครูเตรียมข้อมูลเอกสารความรู้ต่างๆ ที่มีคนศึกษาค้นคว้ามาแล้ว เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ หรือเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนลึกซึ้งขึ้นให้นักเรียนอธิบายให้ชัดเจน ไม่เน้นความจำเกี่ยวกับศัพท์ทางวิชาการ และใช้กระบวนการกลุ่ม | AAAS (American Association for the Advancement of Science) ได้ให้ความหมายการสืบเสาะหาความรู้ว่า เริ่มต้นด้วยคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติพร้อมทั้งกระตุ้นนักเรียนให้ตื่นเต้นสงสัยใคร่รู้ให้นักเรียนตั้งใจรวบรวมข้อมูลและหลักฐาน ครูเตรียมข้อมูลเอกสารความรู้ต่างๆ ที่มีคนศึกษาค้นคว้ามาแล้ว เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ หรือเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนลึกซึ้งขึ้นให้นักเรียนอธิบายให้ชัดเจน ไม่เน้นความจำเกี่ยวกับศัพท์ทางวิชาการ และใช้กระบวนการกลุ่ม | ||
− | == 5 | + | == 5 ขั้นตอนสำคัญของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ == |
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ | กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ | ||
Line 45: | Line 46: | ||
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการเรียนการสอนแบบหนึ่งที่สามารถนำมาประกอบในการจัดการเรียนการสอนแบบ [[STEM Education]] ได้ เป็นการสอนที่เหมาะกับการหาข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ต้องการคำตอบที่ลึกลงไปเหมาะกับเด็กระดับประถมศึกษาตอนปลายขึ้นไปและมัธยมศึกษาแต่ก็สามารถปรับให้เข้ากับเด็กเล็กได้ แต่ครูจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการบูรณาการวิธีการสอนให้เหมาะสม ครูจะต้องเป็นผู้กำหนดการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับความสามารถ วัย และความสนใจของผู้เรียน เนื้อหาและแผนการสอน ตัวชี้วัดและจุดประสงค์สอนโดยสรุปความคิดรวบยอดที่เด็กเข้าใจได้ง่าย เพราะเด็กเล็กๆยังมีประสบการณ์และองค์ความรู้น้อย ต้องการ เรียนรู้ในสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย การจัดการเรียนรู้แบบนี้ ไม่ได้เน้นในผลของชิ้นงานแต่เน้นคำตอบเป็นเชิงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อหาคำตอบอย่างลึกซึ้ง จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นกระบวนการที่ต่อยอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอน [[STEM Education]] | การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการเรียนการสอนแบบหนึ่งที่สามารถนำมาประกอบในการจัดการเรียนการสอนแบบ [[STEM Education]] ได้ เป็นการสอนที่เหมาะกับการหาข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ต้องการคำตอบที่ลึกลงไปเหมาะกับเด็กระดับประถมศึกษาตอนปลายขึ้นไปและมัธยมศึกษาแต่ก็สามารถปรับให้เข้ากับเด็กเล็กได้ แต่ครูจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการบูรณาการวิธีการสอนให้เหมาะสม ครูจะต้องเป็นผู้กำหนดการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับความสามารถ วัย และความสนใจของผู้เรียน เนื้อหาและแผนการสอน ตัวชี้วัดและจุดประสงค์สอนโดยสรุปความคิดรวบยอดที่เด็กเข้าใจได้ง่าย เพราะเด็กเล็กๆยังมีประสบการณ์และองค์ความรู้น้อย ต้องการ เรียนรู้ในสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย การจัดการเรียนรู้แบบนี้ ไม่ได้เน้นในผลของชิ้นงานแต่เน้นคำตอบเป็นเชิงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อหาคำตอบอย่างลึกซึ้ง จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นกระบวนการที่ต่อยอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอน [[STEM Education]] | ||
− | |||
− | |||
− | |||
== บทบาทของครู == | == บทบาทของครู == | ||
Line 58: | Line 56: | ||
*ตั้งคำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด | *ตั้งคำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด | ||
+ | |||
+ | [[File:Maker12.jpg|500px|right]] | ||
ขั้นการสำรวจและค้นหา (Explore) | ขั้นการสำรวจและค้นหา (Explore) |
Latest revision as of 20:38, 18 October 2018
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนได้พัฒนาการวิจัยการคิดเชิงวิพากษ์และทักษะการแก้ปัญหาแทนการท่องจำคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ล่วงหน้าผ่านการท้าทายด้วยปัญหา การตั้งคำถาม หรือ สถานการณ์จำลอง
Contents
ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้นั้นได้มีนักวิชาการและนักการศึกษาระบุถึงความหมายและแนวคิดหลากหลาย ดังนี้ (อ้างถึงใน วศิณีส์ (2560))
วศินีส์ (2560) กล่าวถึงคือ กิจกรรมหรือสิ่งที่มนุษย์ทำหรือกระบวนการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ การทดลองหรือทดสอบในภาวะต่างๆ เพื่อสาธิตในสิ่งที่รู้หรือการค้นหาสิ่งที่ไม่รู้การสืบค้นหรือการศึกษาจากการใช้คำถามทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นขั้นตอน
มนมนัส สุดสิ้น (2543) สรุปความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการหนึ่งที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ คิดและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างมีระบบของการคิด ใช้กระบวนการของการค้นคว้าหาความรู้ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ครูมีหน้าที่จัดบรรยากาศ การสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ คิดแก้ปัญหาโดยใช้การทดลอง และอภิปรายซักถามเป็นกิจกรรมหลักในการสอน
ชลสีต์ จันทาสี (2543) สรุปความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ซึ่งครูมีหน้าที่เพียงเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือ จัดเตรียมสภาพการณ์และกิจกรรมให้เอื้อต่อกระบวนการที่ฝึกให้คิดหาเหตุผล สืบเสาะหาความรู้ รวมทั้งการแก้ปัญหาให้ได้โดยใช้คำถามและสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เช่น ของจริง สถานการณ์ ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการสำรวจ ค้นหาด้วยตนเอง บรรยากาศการเรียนการสอนให้นักเรียนมีอิสระในการซักถาม การอภิปรายและมีแรงเสริม อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสอนให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้นั่นเอง
สมจิต สวธนไพบูลย์ (2541) กล่าวว่า หลักการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ จะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ส่วนครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกแนะนำและให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ ได้แก่ การสำรวจ และการสร้างองค์ความรู้
กู๊ด (Good. 1973) ได้ให้ความหมายของการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็นเทคนิคหรือกลวิธีอย่างหนึ่งในการจัดให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างของวิชาวิทยาศาสตร์ โดยกระตุ้นให้นักเรียนมีความอยากรู้อยากเห็น เสาะแสวงหาความรู้โดยการถามคำถาม และพยายามค้นหาคำตอบให้พบด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังให้ความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นวิธีการเรียนโดยการแก้ปัญหาจากกิจกรรมที่จัดขึ้น และใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทำกิจกรรม ซึ่งปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ที่นักเรียนเผชิญแต่ละครั้ง จะเป็นตัวกระตุ้นการคิดกับการสังเกตกับสิ่งที่สรุปพาดพิงอย่างชัดเจน ประดิษฐ์ คิดค้น ตีความหมายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด การใช้วิธีการอย่างชาญฉลาดสามารถทดสอบได้ และสรุปอย่างมีเหตุผล
ซันด์และโทรวบริดจ์ (Sun and Trowbridge. 1973) สรุปลักษณะของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ว่า เป็นการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างมโนทัศน์ด้วยตนเอง และเป็นการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ของนักเรียน เช่น ความสามารถทางวิธีการ ทักษะทางสังคม ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องให้อิสระและให้ผู้เรียนมีโอกาสคิด และเป็นการเรียนที่เน้นการทดลอง เพื่อให้ผู้เรียน ค้นพบด้วยตนเอง และการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้จะกำหนดเวลาสำหรับการเรียนรู้
ซานดรา เค เอเบล (Sandra K. Abell. 2002) ได้กล่าวถึงความหมายของการสืบเสาะหาความรู้ตามที่ NSES และ AAAS นิยามไว้ ดังนี้
NSES (National Science Education Standards) ได้ให้ความหมายของการสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็นกิจกรรมที่หลากหลายเกี่ยวกับการสังเกต การถามคำถาม การสำรวจตรวจสอบจากเอกสารและแหล่งความรู้อื่น ๆ การวางแผนการสำรวจตรวจสอบ การทดสอบตรวจสอบหลักฐานเพื่อเป็นการยืนยันความรู้ที่ได้ค้นพบมาแล้ว การใช้เครื่องมือในการรวบรวม การวิเคราะห์ และการแปลความหมายข้อมูล การนำเสนอผลงาน การอธิบายและการคาดคะเน และการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับผลงานที่ได้
AAAS (American Association for the Advancement of Science) ได้ให้ความหมายการสืบเสาะหาความรู้ว่า เริ่มต้นด้วยคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติพร้อมทั้งกระตุ้นนักเรียนให้ตื่นเต้นสงสัยใคร่รู้ให้นักเรียนตั้งใจรวบรวมข้อมูลและหลักฐาน ครูเตรียมข้อมูลเอกสารความรู้ต่างๆ ที่มีคนศึกษาค้นคว้ามาแล้ว เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ หรือเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนลึกซึ้งขึ้นให้นักเรียนอธิบายให้ชัดเจน ไม่เน้นความจำเกี่ยวกับศัพท์ทางวิชาการ และใช้กระบวนการกลุ่ม
5 ขั้นตอนสำคัญของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ มีพื้นฐานจากทฤษฎี Constructivist โดยเจอร์รูม บรูนเนอร์ ไวก็อตสกี และเพียเจต์ เป็นกระบวนการที่นิยมใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งเป็นขั้นๆ ได้แก่
- การสร้างความสนใจ (Engage) ก่อนที่นักเรียนจะเรียน ครูจะนำเข้าสู่บทเรียนในเรื่องที่เรียนหรือเรื่องที่นักเรียนให้ความสนใจ โดยใช้คำถาม ให้ดูรูปภาพ ภาพยนตร์สั้นๆ การสาธิตทดลอง การเล่าเรื่องจริง การใช้เพลงประกอบ หรือการทำผังความคิดรวบยอดโดยให้นักเรียนช่วยกันคิด
- การสำรวจค้นหา (Explore) ครูให้เด็กเรียนรู้จากการทำกิจกรรมที่ลงมือทำ หรือการแก้ไขปัญหา อาจใช้การทดลองออกแบบในการค้นหา โดยเชื่อมโยงกับความคิดรวบยอด ส่วนใหญ่เด็กมักทำงานเป็นกลุ่ม เด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างการทดลอง มีการวางแผนงาน ลงมือทำกิจกรรม และรวบรวมข้อมูลโดยครูเป็นผู้อำนวยงามสะดวกจัดหาอุปกรณ์ที่เด็กต้องการและให้คำแนะนำเด็ก
- การอธิบายผล (Explain) ในขั้นการอธิบายผล เช่นการเรียนรู้เรื่องคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ ครูจะเป็นผู้นำในการสอนมากกว่าเด็ก ครูสอนโดยการให้เด็กอ่านหนังสือ ฟังและดูหนังสั้นๆ สนทนา อภิปรายผล ครูใช้หนังสือ ภาพยนตร์ หรือ Website เป็นแหล่งหาข้อมูลให้กับเด็ก โดยครูจะช่วยนักเรียนในการสังเกตวิเคราะห์ ให้คำจำกัดความคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ อธิบายขยายความคิดรวบยอดและทักษะให้กับนักเรียน นักเรียนเป็นผู้สาธิตอภิปรายว่ามีความเข้าใจในความคิดรวบยอดกระบวนการทักษะอย่างไร จากการเขียน การสะท้อนความคิดในการเขียนและอภิปรายผลในห้องเรียน
- การขยายความรู้ (Elaborate of Extend) ในขั้นนี้เด็กต้องให้คำจำกัดความจากความคิดรวบยอดและตามแนวความคิดของเด็กตามความเป็นจริงที่เด็กได้ค้นพบ โดยครูจะเพิ่มกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องและจำเป็นสำหรับเด็ก ครูอาจเพิ่มความรู้ให้กับเด็กโดยให้เด็กทำกิจกรรมทั้งชั้นเรียน เพื่อให้เด็กเข้าใจความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียนทั่วๆไป โดยการใช้เทคโนโลยีประกอบการสอน เช่น Website วิดีโอ ภาพ บทความ Online เพื่อให้เด็กเข้าใจมากขึ้น ขยายการนำไปใช้โดยให้นักเรียนอ่านหนังสือหรือให้นักเรียนสาธิตเพื่อจะได้รู้ว่านักเรียนเข้าใจแค่ไหน หรือการลงมือทำกิจกรรมโดยการใช้วัสดุอุปกรณ์ ขยายความรู้กลุ่มย่อย ครูจะใช้การเรียนรู้จากปัญหา (Problem-based learning) ให้เด็กแก้ไขปัญหาเป็นกลุ่มเล็กๆ ใช้การออกแบบสร้างสรรค์และแก้ปัญหาครูอาจให้เด็กทำการทดลองในห้องทดลองให้เข้าใจในหัวข้อที่เรียนอย่างลึกซึ้ง เพิ่มกิจกรรมโดยให้นักเรียนทำกิจกรรมเป็นรายบุคคล ทำโครงงานรายบุคคล ครูให้นักเรียนเลือกหัวข้อที่สนใจ จัดหาแหล่งข้อมูลให้ กำหนดแผนเวลาการทำงาน สนับสนุนการเรียนรู้ ตั้งเป้าหมาย และกำหนดเวลา
- การประเมิน เด็กมีการประเมินความเข้าใจในเนื้อหาของตนเอง ครูประเมินความก้าวหน้าในการทำงานของนักเรียนจากจุดมุ่งหมายในการเรียน โดยการประเมินผลแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ การประเมินในชั้นนี้ ได้แก่ การประเมินจากการระบวนการทำงานของเด็ก โดยการสังเกตของครู ประเมินผลจากการแก้ปัญหาของเด็กแต่ละคน ประเมินผลจากการทำโครงงาน และการให้เด็กประเมินตนเอง โดยครูควรตั้งเกณฑ์การให้คะแนนของเด็ก ครูสังเกตนักเรียนว่ามีความคิดหรือแนวคิดอย่างไร มีการประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการเรียนการสอนแบบหนึ่งที่สามารถนำมาประกอบในการจัดการเรียนการสอนแบบ STEM Education ได้ เป็นการสอนที่เหมาะกับการหาข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ต้องการคำตอบที่ลึกลงไปเหมาะกับเด็กระดับประถมศึกษาตอนปลายขึ้นไปและมัธยมศึกษาแต่ก็สามารถปรับให้เข้ากับเด็กเล็กได้ แต่ครูจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการบูรณาการวิธีการสอนให้เหมาะสม ครูจะต้องเป็นผู้กำหนดการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับความสามารถ วัย และความสนใจของผู้เรียน เนื้อหาและแผนการสอน ตัวชี้วัดและจุดประสงค์สอนโดยสรุปความคิดรวบยอดที่เด็กเข้าใจได้ง่าย เพราะเด็กเล็กๆยังมีประสบการณ์และองค์ความรู้น้อย ต้องการ เรียนรู้ในสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย การจัดการเรียนรู้แบบนี้ ไม่ได้เน้นในผลของชิ้นงานแต่เน้นคำตอบเป็นเชิงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อหาคำตอบอย่างลึกซึ้ง จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นกระบวนการที่ต่อยอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอน STEM Education
บทบาทของครู
ขั้นสร้างความสนใจ (Engage)
- สร้างความอยากรู้อยากเห็น
- หาจุดที่สามารถสร้างความน่าสนใจในเนื้อหา และกิจกรรมที่จัดขึ้น
- ตั้งคำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด
ขั้นการสำรวจและค้นหา (Explore)
- ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกันในการสำรวจตรวจสอบ
- สังเกตและฟังการโต้ตอบกันระหว่างนักเรียนกับนักเรียน
- ซักถามเพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบของนักเรียน
- ให้เวลานักเรียนในการคิดข้อสงสัยตลอดจนปัญหาต่างๆ
- ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน
ขั้นการอธิบาย (Explain)
- ส่งเสริมให้นักเรียนอธิบายความคิดรวบยอดหรือแนวคิด หรือให้คำจำกัดความด้วยคำพูดของนักเรียนเอง
- ให้นักเรียนแสดงหลักฐาน ให้เหตุผลและอธิบายให้กระจ่าง
- ให้นักเรียนอธิบาย ให้คำจำกัดความและชี้บอกส่วนประกอบต่างๆ ในแผนภาพ
- ให้นักเรียนใช้ประสบการณ์เดิมของตนเป็นพื้นฐานในการอธิบายความคิดรวบยอดหรือแนวคิด
การขยายความรู้ (Elaborate)
- คาดหวังให้นักเรียนได้ใช้ประโยชน์จากการชี้บอกส่วน ประกอบต่างๆ ในแผนภาพคำจำกัดความและการอธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว
- ส่งเสริมให้นักเรียนนำสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้หรือขยายความรู้และทักษะในสถานการณ์ใหม่
- ให้นักเรียนอธิบายสิ่งที่เรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย
- ให้นักเรียนอ้างอิงข้อมูลที่มีอยู่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานและถามคำถามนักเรียนว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง หรือได้แนวคิดอะไร
ขั้นการประเมิน (Evaluate)
- สังเกตนักเรียนในการนำความ คิดรวบยอดและทักษะใหม่ไปประยุกต์ใช้
- ประเมินความรู้และทักษะของนักเรียน
- หาหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้เปลี่ยนความคิด หรือพฤติกรรม
- ให้นักเรียนประเมินตนเองเกี่ยว กับการเรียนรู้และทักษะกระบวน การกลุ่ม
- ถามคำถามปลายเปิด เช่น ทำไมนักเรียนจึงคิดเช่นนั้น มีหลักฐานอะไรนักเรียนเรียนรู้อะไรเกี่ยว กับสิ่งนั้น และจะอธิบายสิ่งนั้นอย่างไร
เอกสารอ้างอิง
วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education(สะเต็มศึกษา). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.