Difference between revisions of "การใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ (Problem-Based Learning: PBL)"

From Knowledge sharing space
Jump to: navigation, search
 
(One intermediate revision by the same user not shown)
Line 1: Line 1:
 +
 +
== แนวคิดและกระบวนการสอน ==
 +
 
กระบวนการสอนที่ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียน ประกอบด้วยการเลือกปัญหาที่ผู้เรียนต้องการแก้ปัญหาในเรื่องที่เรียน แก้ปัญหาด้วยวิธีของตนเอง และเรียนรู้ในการมีทักษะ การมีส่วนร่วมในการทำงานกับผุ้อื่น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ท้าทายและเป็นการเรียนรู้อย่างกะตือรือร้น ในระยะแรกการเรียนรู้ด้วยรูปแบบนี้ใช้กับเด็กโตในระดับมัธยทศึกษา หรือสอนนักศึกษาด้านการแพทย์ เพราะเป็นการเรียนที่ศึกษาเพื่อตอบปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งต่อมาการสอนนี้ได้แพร่หลายในการสอนตั้งแต่เด็กอนุบาลถึงมัธยมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา Samford (2014) และ Barell (2007) ถูกอ้างถึงใน วศิณีส์ (2560) ได้ให้ความหมายว่า PBL เป็นกระบวนการสืบค้นเพื่อแก้ปัญหาสิ่งที่อยากรู้ สงสัย ไม่แน่ใจในเรื่องที่ซับซ้อนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ใช้กลยุทธ์ในการสอนการแก้ปัญหาเป็นฐาน คือ KWHLAQ คือ
 
กระบวนการสอนที่ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียน ประกอบด้วยการเลือกปัญหาที่ผู้เรียนต้องการแก้ปัญหาในเรื่องที่เรียน แก้ปัญหาด้วยวิธีของตนเอง และเรียนรู้ในการมีทักษะ การมีส่วนร่วมในการทำงานกับผุ้อื่น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ท้าทายและเป็นการเรียนรู้อย่างกะตือรือร้น ในระยะแรกการเรียนรู้ด้วยรูปแบบนี้ใช้กับเด็กโตในระดับมัธยทศึกษา หรือสอนนักศึกษาด้านการแพทย์ เพราะเป็นการเรียนที่ศึกษาเพื่อตอบปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งต่อมาการสอนนี้ได้แพร่หลายในการสอนตั้งแต่เด็กอนุบาลถึงมัธยมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา Samford (2014) และ Barell (2007) ถูกอ้างถึงใน วศิณีส์ (2560) ได้ให้ความหมายว่า PBL เป็นกระบวนการสืบค้นเพื่อแก้ปัญหาสิ่งที่อยากรู้ สงสัย ไม่แน่ใจในเรื่องที่ซับซ้อนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ใช้กลยุทธ์ในการสอนการแก้ปัญหาเป็นฐาน คือ KWHLAQ คือ
  
Line 27: Line 30:
  
 
== เอกสารอ้างอิง ==
 
== เอกสารอ้างอิง ==
 +
 +
วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education(สะเต็มศึกษา). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Latest revision as of 13:06, 30 May 2018

แนวคิดและกระบวนการสอน

กระบวนการสอนที่ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียน ประกอบด้วยการเลือกปัญหาที่ผู้เรียนต้องการแก้ปัญหาในเรื่องที่เรียน แก้ปัญหาด้วยวิธีของตนเอง และเรียนรู้ในการมีทักษะ การมีส่วนร่วมในการทำงานกับผุ้อื่น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ท้าทายและเป็นการเรียนรู้อย่างกะตือรือร้น ในระยะแรกการเรียนรู้ด้วยรูปแบบนี้ใช้กับเด็กโตในระดับมัธยทศึกษา หรือสอนนักศึกษาด้านการแพทย์ เพราะเป็นการเรียนที่ศึกษาเพื่อตอบปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งต่อมาการสอนนี้ได้แพร่หลายในการสอนตั้งแต่เด็กอนุบาลถึงมัธยมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา Samford (2014) และ Barell (2007) ถูกอ้างถึงใน วศิณีส์ (2560) ได้ให้ความหมายว่า PBL เป็นกระบวนการสืบค้นเพื่อแก้ปัญหาสิ่งที่อยากรู้ สงสัย ไม่แน่ใจในเรื่องที่ซับซ้อนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ใช้กลยุทธ์ในการสอนการแก้ปัญหาเป็นฐาน คือ KWHLAQ คือ

K = Knowledge หมายถึง เรารู้อะไรในหัวข้อนี้ W= Want หมายถึง เราต้องการหาอะไร H = How หมายถึง เราจะหาคำตอบได้อย่างไร จากที่ไหน จะสืบค้นอย่างไร L = Learn หมายถึง เราคาดหวังจะเรียนรู้อะไร เราได้เรียนรู้อะไร A = Apply หมายถึง เราจะนำสิ่งที่เราเรียนรู้ไปใช้ได้อย่างไร ใช้ในชีวิตจริงอย่างไร มีโครงการต่อไปคืออะไร Q = Question หมายถึง คำถามใหม่ที่เราได้จากการสืบค้นคืออะไร

ต่อมา Wood (2003) ได้กล่าวถึงกระบวนการสอนด้วย PBL ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 ระบุและชี้แจงคำที่ใช้ในสถานการณ์ที่นำเสนอ

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดปัญหาหรือใช้ปัญหาที่มีอยู่เดิม เด็กแต่ละคนอาจมีมุมมองที่แตกต่าวกัน แต่ทุกคนควรได้รับการพิจารณา เขียนบันทึกรายการปัญหาที่ตกลงกันไว้

ขั้นตอนที่ 3 การระดมสมอง เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหา อธิบายสิ่งที่เป็นไปได้จากพื้นฐานความรู้เดิมใช้ภาพความรู้ของแต่ละคน และหาสิ่งที่ขาด เขียนบันทึกความคิดเห็นทั้งหมด

ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบขั้นตอนที่ 2 และ 3 และจัดเรียงคำอธิบายในการแก้ปัญหาเบื้องต้น เขียนคำอธิบายและปรับโครงสร้างเมื่อจำเป็น

ขั้นตอนที่ 5 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 6 ศึกษาเป็นรายบุคคล

ขั้นตอนที่ 7 การนำเสนอจากที่ได้ทำการศึกษา

การใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานการสอนเป็นกระบวนการหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนแบบ STEM Education เพราะเด็กเรียนรู้จากปัญหา ครูสามารถนำปัญหามาให้เด็กช่วยกันคิดและแก้ไข หรือนักเรียนอาจมีข้อสงสัยในปัญหาต่างๆ และครูนำให้เป็นโจทย์ให้นักเรียนคิด และหาทางแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี

เอกสารอ้างอิง

วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education(สะเต็มศึกษา). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.