Difference between revisions of "Creative Thinking ความคิดเชิงสร้างสรรค์"
(→ความหมาย การคิดเชิงสร้างสรรค์ (CREATIVE THINKING)) |
(→ลักษณะการทำงานของสมองซีกซ้าย) |
||
Line 19: | Line 19: | ||
การใช้ความคิดสร้างสรรค์นั้น เพ็ญนิดา(2556) ระบุว่าต้องใช้การทำงานของสมองทั้งสองด้านร่วมกันจะช่วยให้ความคิดสมบูรณ์ขึ้น ลักษณะการทำงานของสมองทั้งสองด้านมีดังนี้ | การใช้ความคิดสร้างสรรค์นั้น เพ็ญนิดา(2556) ระบุว่าต้องใช้การทำงานของสมองทั้งสองด้านร่วมกันจะช่วยให้ความคิดสมบูรณ์ขึ้น ลักษณะการทำงานของสมองทั้งสองด้านมีดังนี้ | ||
− | + | '''ลักษณะการทำงานของสมองซีกซ้าย''' | |
เป็นการใช้สติปัญญาอย่างมีเหตุมีผล | เป็นการใช้สติปัญญาอย่างมีเหตุมีผล | ||
Line 38: | Line 38: | ||
ไม่เกี่ยวกับคำพูด เห็นเป็นภาพ | ไม่เกี่ยวกับคำพูด เห็นเป็นภาพ | ||
− | |||
== ลักษณะการทำงานของสมองซีกขวา == | == ลักษณะการทำงานของสมองซีกขวา == |
Revision as of 14:52, 11 May 2018
ความหมาย การคิดเชิงสร้างสรรค์ (CREATIVE THINKING)
คือ ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่ง ต่างๆ การขยายขอบเขตความคิดออกไปจาก กรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อ ค้นหาคําตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เป็นความคิดที่ หลากหลาย คิดได้กว้างไกล หลายแง่หลายมุม เน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ องค์ประกอบของความคิด สร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยมีมาก่อน (NEW ORIGINAL) ใช้การได้(WORKABLE) และมี ความเหมาะสม (APPROPRIATE) การคิดเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่ง ใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไปโดยสิ้นเชิงหรือที่เรียกว่า “นวัตกรรม” (INNOVATION)
ความคิดสร้างสรรค์ มีความหมายแยกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ
*เป็นความคิดแง่บวก หรือ POSITIVE THINKING
*เป็นการกระทําที่ไม่ทําร้ายใคร หรือ CONSTRUCTIVE THINKING
*เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือ CREATIVE THINKING
ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ 2 ทาง คือ เริ่มจากจินตนาการแล้วย้อนสู่ความจริง เกิดจากการที่เรานํา ความฝันและจินตนาการ ซึ่งเป็น เพียงความคิด ความใฝ่ฝันที่ยังไม่เป็นจริง แต่เกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทําให้ความฝันนั้นเป็นจริง
เริ่มจากความรู้ที่มีแล้วคิดต่อยอดสู่สิ่งใหม่ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) เกิดจากการนํา ข้อมูลหรือความรู้ที่มีอยู่มาคิดต่อยอด หรือคิดเพิ่มฐานข้อมูลที่มีอยู่ จะเป็นเหมือนตัวกระตุ้นความคิดให้เราคิดใน เรื่องใหม่ๆ
การใช้ความคิดสร้างสรรค์นั้น เพ็ญนิดา(2556) ระบุว่าต้องใช้การทำงานของสมองทั้งสองด้านร่วมกันจะช่วยให้ความคิดสมบูรณ์ขึ้น ลักษณะการทำงานของสมองทั้งสองด้านมีดังนี้
ลักษณะการทำงานของสมองซีกซ้าย
เป็นการใช้สติปัญญาอย่างมีเหตุมีผล
เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเลข
เป็นการคิดแบบนามธรรม
เป็นการคิดเป็นเส้นตรง
เป็นเรื่องของการวิเคราะห์
ไม่เกี่ยวกับจินตนาการ
คิดแบบต่อเนื่องตามลำดับ
เป็นเรื่องของวัตถุวิสัย
ไม่เกี่ยวกับคำพูด เห็นเป็นภาพ
ลักษณะการทำงานของสมองซีกขวา
เป็นเรื่องของสหัชญาณ(ไม่เกี่ยวกับเหตุผล)(สหัช=ที่มีมาแต่กำเนิด)
เป็นเรื่องของการอุปมาอุปมัย
เป็นการคิดแบบเป็นรูปธรรม
คิดอิสระไม่เป็นเส้นตรง เห็นภาพทั้งหมด
เป็นเรื่องของการสังเคราะห์
ใช้จินตนาการ
ไม่เป็นไปตามลำดับ
เป็นเรื่องของอัตวิสัย
ไม่เกี่ยวกับคำพูด เห็นภาพ
เอกสารอ้างอิง
เพ็ญนิดา ไชยสายัณห์. Creative Thinking ความคิดสร้างสรรค์ฝึกฝนได้. สืบค้นจาก http://imdesign-studio.com/creative-thinking-ความคิดสร้างสรรค์ฝึก/