ทักษะในศตวรรษที่21

From Knowledge sharing space
Jump to: navigation, search

กรอบแนวคิดทักษะในศตวรรษที่ 21

ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง (www.moe.go.th, 2557) โดยภาวะความเป็นจริงในยุคการทำงานนั้น มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง โจทย์สำคัญของการศึกษาปัจจุบัน จึงอยู่ที่ว่า “จะสร้างการเรียนรู้อย่างไรให้สอดรับกับทักษะที่ตลาดโลกต้องการ” ซึ่ง ทักษะแรงงานที่ตลาดโลกต้องการ ทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้ระบุว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21         หน่วยงานเหล่านี้ได้เสนอกรอบแนวคิดทักษะในศตวรรษที่21 ของผุ้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ควรมีในการดำรงชีวิต ได้แก่ (Partnerships for 21 Century Skills, 2009)

  • 1.สาระวิชาหลัก (Core Subjects) เรื่องที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ในการเรียนรู้และดำรงชีวิต (Century Themes) เน้นทักษะ 3 Rs คือ Reading (การอ่าน) การเขียน (Writing) คณิตศาสตร์ หรือการคิดเลข (Aritmathics) ประกอบด้วยวิชาต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียน ได้แก่ ภาษาแม่ ภาษาอังกฤษ การอ่านและการเขียนภาษาที่สำคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์ การปกครอง และหน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ซึ่งวิชาแกนหลักนี้ยังใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ เนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ที่สอดแทรกเรื่องที่จำเป็นในการเรียนรู้และการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (Century Themes) เข้าไปในวิชาหลัก ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy) ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
  • 2.ทักษะในการดำรงชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills ) โลกในปัจจุบันเต็มไปด้วยความซับซ้อนและการแข่งขันในการใช้ชีวิตและการทำงาน เด็กในศตวรรษที่ 21 จึงต้องพัฒนาทักษะทางความคิด ความรู้ และเพิ่มทักษะทางสังคมในการดำรงชีวิต ได้แก่ ความยืดหยุ่นและรู้จักปรับตัว ความริเริ่มและการนำพาตนเอง ทักษะทางสังคมและความเข้าใจวัฒนธรรมอื่น สร้างผลผลิตและรู้จักการพึ่งพา ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ
  • 3.ทักษะด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) คือ การสื่อสารทางข้อมูลด้วยการอ่านเขียน โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
  • 4.ทักษะการเรียนรู้และใช้นวัตกรรมใหม่ ( Learning and Information skills) เป็นการเรียนรู้ในการใช้ 3 Cs หรือเรียกว่าความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ (Creativity and Innovation) การคิดวิพากษ์วิจารณ์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Probiem Solving) การสื่อสารและการร่วมมือ (Communication and Collaboration) (Partnerships for 21 Century Skills, 2009) โดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่ตอบสนองให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ท่ีจําเป็นในยุคปัจจุบันและอนาคตก็คือ STEM Education

ความหมาย

คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ราชบัณฑิตยสถานได้จัดทำคำอธิบายไว้ดังนี้ ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ หมายถึง กลุ่มความรู้ ทักษะ และนิสัยการทำงาน ที่เชื่อว่ามีความสำคัญ ยิ่งต่อความสาเร็จในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทักษะดังกล่าวนี้เป็นผลจากการพัฒนากรอบความคิดการเรียนรู้ศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Learning Framework) โดยภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เบอร์นีทริลลิง และชาลส์แฟเดล (Bernie Trilling & Charles Fadel) ได้เสนอในหนังสือ 21st Century Skills : Learning for Life in Our Times (2009) เป็นสมการดังนี้

3Rs x 7Cs = ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
โดย 3Rs ประกอบด้วย ทักษะการรู้หนังสือ ได้แก่ Reading (ทักษะการอ่าน) Writing (ทักษะการเขียน) และ Arithmetic (ทักษะเลขคณิต)
ส่วน 7Cs ประกอบด้วย ทักษะ 7 ด้าน คือ
  • (1) ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (critical thinking and problem solving)
  • (2) ด้านการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ (communications, information, media literacy)
  • (3) ด้านความร่วมมือ การทางานเป็นทีมและภาวะผู้นา (collaboration, teamwork and leadership)
  • (4) ด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (creativity and innovation)
  • (5) ด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (computing and ICT literacy)
  • (6) ด้านการทางาน การเรียนรู้ และการพึ่งตนเอง (career and learning self–reliance)
  • (7) ด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (cross–cultural understanding)

นอกจากนี้ บรรจง (2556) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการจัด การศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนเรียนเกิด “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21” ( 21st Century Skills) โดยเสนอแนะว่า ครูต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวก ในการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ จากการเรียนแบบลงมือทาแล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเองการเรียนรู้แบบนี้เรียกว่าPBL (Project-Based Learning)สาระวิชาก็มีความสาคัญแต่ไม่เพียงพอสาหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุค ศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชาควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์โดยครูช่วยแนะนา และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง ได้สอดคล้องกับสุปรียา(2555) ได้กล่าวว่าเมื่อมีการเรียนรู้ในศตวรรษใหม่มีคำที่สำคัญที่น่าสนใจคือคำว่า “Teach Less”และ“Learn More” โดยความหมายแล้วหมายความว่าการเปลี่ยนวิธีการศึกษาด้วยการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายจาก“ความรู้ (knowledge)” ไปสู่“ทักษะ(skill or practices)”คำว่า“Teacher”ที่แปลว่า“ครู”นั้น ถือว่าเป็นคำเก่าไปแล้วนั้นจะถูกให้ความหมายใหม่ด้วยการเปลี่ยนมาเป็นเพียง Facilitator ผู้อำนวยการเรียนรู้ หรือ Coach ผู้ชี้แนะ ซึ่งเป็น การเปลี่ยนแปลงจากการศึกษาหรือการเรียนรู้ที่มี ครู เป็นหลักไปเป็น นักเรียน เป็นหลักดังนั้นการเรียนรู้จึง จะต้องเรียนให้เลยจากเนื้อหาหลายส่วนก็ไม่จาเป็นต้องสอนผู้เรียนซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เอง แต่ต้องสร้าง ทักษะและเจตคติ กับตัวของผู้เรียนขึ้นมาให้ได้การเรียนรู้ในศตวรรษที่21จึงเป็นการเรียนรู้ร่วมกันมากกว่า การเรียนรู้แบบตัวใครตัวมัน (Individual Learning) ทักษะทั้งหมดนี้ ไม่ใช่แค่การเรียนในรั้วสถาบันการศึกษา แต่ต้องสร้างให้เป็นวัฒนธรรม “เรียนรู้ตลอดชีวิต” ที่สังคมไทยทุกภาคส่วนควรปรับตัว

แนวทางการจัดการเรียนรู้

การเรียนรู้ปัจจุบันก้าวไปสู่ “ยุคความรู้” ซึ่งจุดท้าทายในการจัดการศึกษาควรไปในทิศนาทางของความสุขในการทำงานอย่าง มีเป้าหมายเพื่อชีวิตที่ดีลูกศิษย์ในยุคความรู้กระตุ้นให้ศิษย์เรียนรู้ตลอดชีวิต ครูจึงต้องยึดหลัก “สอนน้อยเรียน มาก” ด้วยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็กครูต้องตอบได้ว่าศิษย์ได้เรียนอะไรและเพื่อให้ศิษย์ได้การประสบผลสำเร็จได้นั้นครูต้องไม่ทำหน้าที่ครูผิดทางคือทำให้ศิษย์เรียนไม่สนุกหรือ เรียนแบบขาดทักษะสำคัญ “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21” ( 21st Century Skills) จะเกิดขึ้นได้ จาก “ครูต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวก” ในการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ จากการเรียนแบบลงมือทาแล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเองการเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Learning)สาระวิชาก็มีความสำคัญแต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุค ศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชาควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง

แนวคิดนี้ได้สอดคล้องกับสุปรียา ศิริพัฒนกุลขจร (2012, หน้า 12) ได้ให้ความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงวิธีคิดให้สอดคล้องและสมดุลกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่นับวันจะมีการเปลี่ยนอย่างรุนแรง มากขึ้นแต่การเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอยู่คู่ กันต้อง เกื้อกูลกันจะแยกออกจากกันไม่ได้เมื่อมีการเรียนรู้ในศตวรรษใหม่มีคาที่สาคัญที่น่าสนใจคือคาว่า “Teach Less”และ“Learn More” โดยความหมายแล้วหมายความว่าการเปลี่ยนวิธีการศึกษาด้วยการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายจาก“ความรู้ (knowledge)” ไปสู่“ทักษะ(skill or practices)”คาว่า“Teacher”ที่แปลว่า“ครู”นั้น ถือว่าเป็นคาเก่าไปแล้วนั้นจะถูกให้ความหมายหรือคาจากัดความเสียใหม่ด้วยการเปลี่ยนมาเป็นเพียง “Facilitator” โดยระบุหน้าที่หรือคาจากัดความว่าเป็น “ผู้อำนวยการเรียนรู้ (Coach) หรือผู้ชี้แนะ” ซึ่งเป็น การเปลี่ยนแปลงจากการศึกษาหรือการเรียนรู้ที่มี“ครู”เป็นหลักไปเป็น“นักเรียน”เป็นหลัก


เรียบเรียงโดย ดร.เบ็ญจวรรณ ลี้เจริญ

เอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

การศึกษาในศตวรรษที่21
ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. การเรียนรู้ในศตวรรษที่21. สืบค้นจากhttp://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=38880&Key=news_research

สุปรียา ศิริพัฒนกุลขจร. (2555). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The 21st Century Learning). The NAS Magazine มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี. 2, (18-20).

http://arit.mcru.ac.th/images/KM/2557/57KM_1innovation.pdf

Robinson, Ken, & Lou Aronica . (2559). โรงเรียนบันดาลใจ Creative Schools: The Grassroots Revolution That's Transforming Education. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮ้าส์.